ลุ้น CHAYO ไตรมาส 2 ทำกำไรนิวไฮ! โบรกฯ เชียร์ “ซื้อ” ชี้ผลงานโตไม่หยุด รับหนี้เสียพุ่ง

ลุ้น CHAYO ไตรมาส 2 ทำกำไรนิวไฮ! โบรกฯ เชียร์ "ซื้อ" ชี้ผลงานโตไม่หยุด รับหนี้เสียพุ่ง


นักวิเคราะห์ บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” CHAYO ราคาเป้าหมาย 10 บาท/หุ้น โดย 3 เหตุผลหลักที่ชอบคือ 1) เป็นหุ้นที่กำไรจะเติบโตดีในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว จากหนี้เสียในระบบที่เพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะตั้งแต่ไตรมาส 2/63 ที่จะมีหนี้เสียจาก COVID-19) ทำให้เป็นโอกาสให้บริษัทสามารถซื้อมูลหนี้เสียมาบริหารเพิ่มขึ้น โดยประเมินว่าจะเติบโตที่ 2561-2563 เติบโตเฉลี่ย +86% CAGR,

รวมทั้งสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง IBD/E ที่ต่ำ คาดปี 2563-2564 ที่ 0.8-1.1 เท่า ทำให้มีความสามารถในการซื้อมูลหนี้เสียมาบริหารเพิ่มขึ้น และ 3) กำไรเข้าสู่ช่วงเติบโตสูงที่ 2563 – 2565 มี EPS CAGR ที่เพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบจากปีก่อน โดยคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2/63 ที่ 49 ล้านบาท เติบโต 47% เมื่อเทียบจากปีก่อน และเติบโต 33% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ทำสถิติสูงสุดใหม่ จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และ outperform SET +26%/+38% ในช่วง 1 และ 3 เดือน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามคาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะขยายตัวสูงตามขนาดกองหนี้ที่บริษัทซื้อมาบริหารอย่างต่อเนื่อง และประเมินว่าบริษัทมีโอกาสในการซื้อหนี้เสียมาบริหารในอนาคตที่สูง เนื่องจากในช่วงนี้สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะขายสินเชื่อที่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นหนี้เสียหลักที่บริษัทได้ซื้อเข้ามาบริหารในช่วงที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 62% ของมูลหนี้รวมที่ซื้อสะสมตั้งแต่ปี 2561

ส่วน นักวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ ประเมินราคาเป้าหมาย CHAYO อยู่ที่ 9.40 บาท โดยคาดว่ารายได้เติบโตขึ้นทั้งเมื่อเทียบจากปีก่อน และเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน จากธุรกิจซื้อหนี้สินที่เติบโตขึ้นตามการใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 นอกจากนี้ยังประเมินว่า CHAYO เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่คาดกำไรทำระดับสูงสุด

ด้าน นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ ยืนยันคำแนะนำ “ซื้อ” CHAYO ราคาเป้าหมาย 9 บาท และยังมี Upside จากกำไรจากการ NPA มากกว่าคาด ซึ่งจะทำให้ราคาเป้าหมายปรับขึ้นได้ถึง 10 บาท  ทั้งนี้คาดว่ากำไรไตรมาส 2/63 จะอยู่ที่ 45 ล้านบาท เติบโต 35% เมื่อเทียบจากปีก่อน  และเติบโต 22% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ทั้งนี้บริษัทยังได้ขาย NPA ออกไป 1 ชิ้น (ขนาดกลางๆ) ดังนั้นจึงคาดกำไรจากการขาย NPA ในไตรมาสนี้ที่ 15 ล้านบาท

ส่วนในไตรมาส 3/63 คาดว่าบริษัทจะรักษา Growth momentum ได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยหนุนจากยอดจัดเก็บเงินสด cash collection ที่กลับเป็นปกติทั้งไตรมาส และยังมีการประมูลขาย NPA ผ่านกรมบังคับคดีออกไปอีก 4 ชิ้น ซึ่งจะหนุนให้กำไรจากการขาย NPA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ทั้งนี้การรับรู้รายได้จะทำได้ต่อเมื่อผู้ซื้อเข้ามาว่าเงินมัดจำ 100%) ถ้าวางมัดจำไม่ทันไตรมาส 3 กำไรจากการขายก็จะถูกนำไปรับรู้ในไตรมาส 4 แทน ซึ่งยังคงคาดกำไรปี 2563- 2565 ที่ 152 – 220 และ 279 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 36%/ปี (CAGR ปี 2563- 2565)

ทั้งนี้หลังจากที่กลุ่มธนาคารประกาศงบในไตรมาส 2/63 พบว่า NPL ใน ภาพรวมปรับตัว 13% นับแต่ต้นปี ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย 7 ปีที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10%/ปี ผู้บริหารให้แนวทางว่าบริษัทพร้อมที่จะลงทุนซื้อหนี้เพิ่มอีก 1.2-1.5 พันล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิเรียกร้องอีก 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท (จากเป้าหมายเดิมเมื่อต้นปีที่จะซื้อราว 1.0 พันล้านบาท) ซึ่งจะหนุนให้พอร์ทของบริษัทโตได้เกิน 100%

ทั้งนี้ด้านเงินทุนผู้บริหารเตรียมแผนเงินทุนรองรับไว้แล้วโดยที่หุ้นกู้ 300 ล้านบาท พึ่งจะขายหมด และเตรียมขอผู้ถือหุ้นเพื่อออกหุ้นกู้เพิ่มจาก 1,250 ล้านบาท เป็น 2,500 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ภายใต้ covenant ปัจจุบันบริษัทมีฐานทุน (equity) ขนาด 1 พันล้านบาท โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) เพียง 0.6 เท่า

Back to top button