“ทวิช” จ่อยื่นอุทธรณ์สู้คดี! หลังศาลฯ ล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์ IFEC

บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์เอ็น เนอร์ยี่คอร์ปอเรชั่น จำกั …


บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์เอ็น เนอร์ยี่คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ระบุว่า ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งในคดีฟื้นฟูกิจการคดีหมายเลขดำ ที่ ฟ. 14/2561 และคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 25/2561 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ว่าศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกคำร้อง และบริษัทไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ นั้น

ทั้งนี้ บริษัทระบุว่า บริษัทได้ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขดำที่ ล. 3237/2562 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ล.5350/2562 ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้จำหน่ายคดีเป็นการชั่วคราว ปรากฏว่า ในคดีดงักล่าวได้มีเจ้าหนี้รายหนึ่ง ซึ่งมีภาระหนี้เงินต้น 3,000,000 บาท กับดอกเบี้ยต่างหาก ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีล้มละลายดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นโจทก์ร่วม ได้ยื่นคำร้องฉุกเฉินขอให้ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และศาลได้นัดไต่สวนวันที่ 8 มีนาคม 2564

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 บริษัท IFEC ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้กับโจทก์ร่วมในคดีนี้เรียบร้อยแล้ว และศาลแพ่งมีคำสั่งว่าโจทก์สิ้นสิทธิการบังคับคดี เนื่องจากหนี้ระงับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว แต่ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกคำร้อง โดยอ้างเหตุว่า บริษัทไม่ได้วางทรัพย์ชำระหนี้ต่อสำนักงานวางทรัพย์และศาลได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวต่อไปแล้ว มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17และมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมนำเงินประกันความเสียหายของบริษัทมาวางศาลจำนวน 3,000,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2564 หากโจทก์ร่วมไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลภายในกำหนด ศาลจะพิจารณาสั่งตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อไป

โดยผลของคำสั่งตามมาตรา 17 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังกล่าว ได้กำหนดไว้ในมาตรา 24 พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งทำให้บริษัทไม่อาจดำเนินการต่างๆ ได้ดังนี้

1.ห้ามมิให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

2.บริษัทไม่มีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ฟ้องร้องต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่ว่าในชั้นพิจารณา หรือ ชั้นบังคับคดีก็ตาม

3.บริษัทไม่ถูกห้ามไปจัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือกระทำการแทนผู้อื่น

4.บริษัทไม่ถูกจำกัดสิทธิในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี หรือใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย เนื่องจากไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และรวมท้งัมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายได้ด้วยเช่นกัน

5.เมื่อบริษัทไดร้ับทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว บริษัทต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอัน เกี่ยวกับทรัพย์สิน และกิจการของตน ซึ่งอยู่ในความครอบครองง ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทั้งสิ้น

ทั้งนี้บริษัทไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ซึ่งบริษัทจะดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้บริษัทมีสถานะปกติต่อไป และเนื่องจากบริษัทประกอบธุรกิจถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ดังนั้น บริษัทย่อยและบริษัทย่อยทางอ้อมของ บริษัทยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

 

 

Back to top button