BANPU เพิ่มทุน “คุ้มค่า” แปลงวอร์แรนต์ถูก รุดหน้าสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

BANPU เพิ่มทุน “คุ้มค่า” แปลงวอร์แรนต์ถูก รุดหน้าสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เปลี่ยนผ่านองค์กรสู่อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน


จากกรณี บริษัท  จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ประกาศแผนเพิ่มทุนอีกเท่าตัว โดยออกหุ้นใหม่จำนวน 5,074 ล้านหุ้น แบ่งเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 1,691.53 ล้านหุ้น ในอัตรา 3 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุน ราคาขายหุ้นละ 5 บาท เพื่อใช้รองรับการแปลงวอร์แรนต์ 2 รุ่น ได้แก่ BANPU-W4 และ BANPU-W5 ชนิดระบุชื่อผู้ถือและโอนเปลี่ยนมือได้ในอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิของแต่ละรุ่น โดยมีราคาใช้สิทธิในแต่ละรุ่นที่ 5 บาทต่อหุ้น และ 7.5 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ

วัตถุประสงค์การเพิ่มทุนของ BANPU ในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทในการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนผ่าน (Banpu Transformation) สู่อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน รวมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ และการสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นเดินหน้าตามกลยุทธ์ Greener & Smarter สอดรับกับเทรนด์พลังงานโลก รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งระบบนิเวศทางธุรกิจภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้า 6,100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 อีกทั้งสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนได้อย่างแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา BANPU ดำเนินการเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ในสร้างความเติบโตตามแผนธุรกิจ 5 ปีภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุน และพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มพอร์ตพลังงานสะอาด ด้วยความมุ่งมั่นในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ (International Versatile Energy Provider) โดยมีแนวทางการดำเนินการในกลุ่มธุรกิจหลักทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ

กลุ่มแรก คือ กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน แบ่งออกเป็น ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ที่ทางบริษัทมุ่งสร้างประสิทธิภาพสูงสุดโดยประสานความร่วมมือระหว่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้ง 2 แหล่ง คือ แหล่งก๊าซมาร์เซลลัส (Marcellus) มลรัฐเพนซิลเวเนียและแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ (Barnett) มลรัฐเทกซัส เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจต้นน้ำ

รวมทั้งมองหาโอกาสต่อยอดการลงทุนจากแหล่งก๊าซไปยังธุรกิจกลางน้ำ เช่น ท่อส่งและระบบโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของธุรกิจและตอบรับการเติบโตของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในสหรัฐฯ

ส่วน ธุรกิจเหมือง ได้ดำเนินการจัดซื้อถ่านหินจากผู้ผลิตรายอื่นร่วมด้วย (Coal Trading) เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละราย รวมถึงขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดใหม่ๆ ที่ยังมีการเติบโตและมีความสามารถในการทำกำไรสูงด้วยต้นทุนต่ำ

ขณะเดียวกันสามารถหาโอกาสใช้พื้นที่เหมืองที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำก๊าซที่ได้จากกระบวนการทำเหมืองมาใช้เป็นพลังงานในเหมืองต่างๆ หรือติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในเหมือง เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง พร้อมทั้งมองหาโอกาสลงทุนในเหมืองแร่ชนิดอื่นๆ ที่ตอบโจทย์เทรนด์พลังงานแห่งอนาคตในประเทศออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน ซึ่งมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยี HELE (High Efficiency, Low Emissions) รวมถึงมุ่งเน้นการลงทุนเพิ่มเติมในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และการขยายการลงทุนไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพการเติบโตสูงเช่นในสหรัฐฯ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Scale Up) โดยขยายระบบนิเวศของธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน เพื่อคว้าโอกาสของธุรกิจจากเทรนด์ด้านพลังงานใหม่ๆ รวมทั้งชูจุดเด่นการเป็นผู้ให้บริการสมาร์ทโซลูชันด้านพลังงานสะอาดที่ฉลาดขึ้น ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรในธุรกิจระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ (Renewable Energy Power Plant) ธุรกิจระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System หรือ ESS) ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) ธุรกิจเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และธุรกิจแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า (Energy Trading)

นอกจากนี้ยังมีการขยายพอร์ตฟอลิโอธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน และพัฒนาศักยภาพธุรกิจใหม่ๆ ที่เหมาะกับระบบนิเวศทางธุรกิจของบ้านปู รวมทั้งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลในการสร้างพลังร่วมระหว่างธุรกิจเดิมกับธุรกิจใหม่ เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานในอนาคต

นอกจากนำเงินเพิ่มทุนไปต่อยอดธุรกิจหลักทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจแล้ว BANPU ยังมุ่งมั่นในการลงทุนในธุรกิจ Greener ด้วยเป้าหมายการมี EBITDA จากธุรกิจพลังงานสะอาดมากกว่า 50% ในปี 2568 โดยการขยาย Scale ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติให้ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นฐานในการสร้างกระแสเงินสดให้กับกลุ่ม BANPU ด้วยการขยายการลงทุนในอนาคตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ Midstream (Energy Supply Chain หรือในธุรกิจท่อส่งก๊าซ)  Downstream (โรงไฟฟ้าก๊าซ) รวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมใน ธุรกิจพลังงานสะอาด และธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน

นอกจากนี้ ยังเน้นการลงทุนที่สร้างกระแสเงินสดได้ทันที ซึ่งทำให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้และผลกำไรได้เร็ว และในปี 2564 นี้ BANPU มีการลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ อย่างโซลาร์ฟาร์มที่ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย รวมถึงการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่นาโกโซะ ซึ่งเป็นพลังงาน Greener ทั้งหมด

สรุปได้ว่า จากแผนการลงทุนและแผนกลยุทธ์ของ BANPU ในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจสู่อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ถือว่าหุ้น BANPU เป็นหุ้นอีกตัวที่มีความน่าสนใจและคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่แล้ว ก่อนเครื่องหมาย XR สมควรใช้สิทธิ์จองซื้อและใส่เงินเพิ่มทุน อีกทั้งยังได้ วอแรนต์ฟรี 2 รุ่น คือ BANPU-W4 และ BANPU-W5 โดยมีราคาใช้สิทธิในแต่ละรุ่นที่ 5 บาทต่อหุ้น และ 7.5 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ

สำหรับรายละเอียดการเพิ่มทุนของ BANPU คือ การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ จำนวน 5,074,581,513 บาท จากเดิม 5,074,581,515 บาท เป็นจำนวน 10,149,163,028 บาท ในมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,691,527,171 หุ้น ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท ในอัตราส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุนโดยผู้ที่จองหุ้นเพิ่มทุนจะได้รับ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ (warrant) ฟรี 2 รุ่นคือ BANPU-W4 และ BANPU-W5 ชนิดระบุชื่อผู้ถือและโอนเปลี่ยนมือได้ในอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อ 1 หน่วย (สามารถเทรดขายได้ทันทีเมื่อหุ้น warrant เข้าตลาด หรือถือจนครบอายุของ warrant)

ทั้งนี้จะมีการจัดสรร BANPU-W4 (อายุ 1 ปี) จำนวน 1,691,527,171 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุน ต่อ 1 warrant ราคาใช้แปลงเป็นหุ้นแม่ 5 บาทต่อหุ้น (ครบปี 2565) ส่วน BANPU-W5 (อายุ 2 ปี) จำนวน 1,691,527,171 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุน ต่อ 1 warrant ราคาใช้แปลงเป็นหุ้นแม่ 7.5 บาทต่อหุ้น (ครบปี 2566)

สำหรับผู้ถือหุ้น BANPU ที่จะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะต้องถือครองหุ้น BANPU ให้เสร็จสิ้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 หรือภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 โดยมีระยะการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนระหว่างวันที่ 6-17 กันยายน2564

อย่างไรก็ตาม คงตอกย้ำจุดแข็งของธุรกิจซึ่งเป็นหนึ่งหุ้นบลูชิพที่มีความน่าสนใจ ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจทั้งในระดับประเทศและนานาชาติตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ในวันนี้ บ้านปูในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ (International Versatile Energy Provider) ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter โดยสร้างการเติบโตจาก 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุม 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

พร้อมยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG โดย BANPU ได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในผู้นำด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การรักษาสถานะสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 อีกทั้งได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ  A (ตามเกณฑ์วัดAAA ถึง CCC) ในการประเมินความยั่งยืน ESG Rating จาก MSCI ปี 2562 และได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) หรือ THSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทั้งประสบการณ์และความมุ่นมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เติบโต ประกอบกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล  จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้เป็นอย่างดี

สรุปจากภาพรวมแล้วการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบ้านปู ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว

Back to top button