“นวัตกรรมแบตเตอรี่” ตอบโจทย์พลังงานหมุนเวียน

บนเส้นทางที่มุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” เมื่อทั้งโลกเริ่มหันมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบของ “แบตเตอรี่” สร้างเสถียรภาพ การบริหารจัดการไฟฟ้าดีขึ้น ลดความผันผวนในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ


ที่โรงงานใหม่ของ “บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)” หรือ GPSC เป็นโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดเด่นของ “แบตเตอรี่” เทคโนโลยี SemiSolid  คือ มีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้ยาวนาน รองรับแอปพลิเคชันที่หลากหลาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แบ่งการผลิตแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • G-Cell เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐานในรูปแบบ Battery Pouch Cell
  • G-Pack นำ Battery Pouch Cell มาเชื่อมต่อกันในรูปแบบ Battery Module และ Pack สำหรับการใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า
  • G-Box เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งานสำหรับระบบสำรองไฟฟ้า หรือ UPS และระบบกักเก็บพลังงาน Energy Storage System หรือ ESS ที่มีขนาดตั้งแต่ 10-1,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป

โดยที่ผ่านมา หน่วยกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ ได้ถูกนำไปใช้ในโครงการต้นแบบร่วมกับการผลิตพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ อาทิ

โครงการเมืองอัจฉริยะ ให้กับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ภายใต้พื้นที่กว่า 3,500 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยองมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “EECi” เป็นการนำไฟฟ้ามาใช้จ่ายในแต่ละอาคารของ VISTEC นับเป็นการใช้พลังงานสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานแล้ว ยังสร้างความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านชุมชนอีกด้วย

โครงการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยการติดตั้งโซลาร์บนหลังคาและโซลาร์ลอยน้ำ ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ด้วยขนาดพื้นที่ 7,200 ไร่ แบ่งการติดตั้งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ของอาคารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 8 อาคาร ติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณหลังคาทางเดิน อาคารบริหาร และติดตั้งโซลาร์ชนิดลอยน้ำ (Solar Floating) ในอ่างเก็บน้ำสุระ 1 เพื่อประหยัดพลังงาน ลดภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้ถึง 100 ล้านบาทต่อปี เพิ่มศักยภาพด้านไฟฟ้า พร้อมยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นโมเดล เมืองพลังงาน Microgrid อัจฉริยะ

“แบตเตอรี่” ถือเป็นนวัตกรรมพลังงานบนเส้นทางสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิที่เป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ปลอดภัย มีเสถียรภาพ พร้อมเคียงข้างไปกับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย

รับชมวีดิโอ

Back to top button