“ฟินันเซีย” ชู MEGA-HL ท็อปพิก รับอานิสงส์ “เทรนด์สุขภาพ” มาแรง หนุนกำไรทะยานต่อเนื่อง

"ฟินันเซีย" ชู MEGA-HL ท็อปพิกกลุ่ม รับอานิสงส์ "เทรนด์สุขภาพ" มาแรงตามสถานการณ์โควิด-19 หนุนกำไรทะยานต่อเนื่อง พร้อมให้เป้า MEGA ที่ 63 บาท และ HL ที่ 15 บาท


บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ เกี่ยวกับประเด็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงหลัง COVID-19 โดยหนึ่งในเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงหลังยุค COVID-19 คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ แม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายแต่คนทั่วโลกยังคงหันมาใส่ใจในสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติเก่า

นอกจากนี้ ทิศทางของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเปิดโอกาสให้แก่พืชพันธุ์ของไทย ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรแล้วกว่า 1,800 ชนิด แม้ว่าผู้ประกอบการในตลาดจะมีเป็นจำนวนมากมีการแข่งขันสูง แต่อุป สงค์ที่เติบโตแข็งแกร่ง เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ใส่ใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมและคุณธรรมจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยฝ่ายวิจัยให้น้ำหนัก Overweight กลุ่มยาเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเลือกหุ้น บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MEGA และบริษัท เฮลท์ลีด จำกัด (มหาชน) หรือ HL เป็น Top picks

ทั้งนี้ แม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแทบจะทุกภาคส่วนทั่วโลก แต่อุตสาหกรรมยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมไม่กี่ประเภทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้เกิดเทรนด์รักสุขภาพซึ่งเป็น New normal ผู้บริโภคหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพในเชิงป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายมากขึ้น

โดยในช่วงก่อนที่จะเกิดการอุบัติของโรคระบาด ความต้องการวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมักเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของวัย Euromonitor International คาดว่าตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมจะเติบโต เฉลี่ย 5.7% CAGR ในช่วงปี 2564-68 สูงกว่าในช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่โตเฉลี่ย 3.4% CAGR

สำหรับตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพในไทย Euromonitor International คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.2% CAGR ใน 5 ปีข้างหน้า ตลาดที่คาดว่าจะเติบโตเร็วที่สุดคือตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (มีส่วนแบ่งตลาด 29.3%) โดยคาดโตเฉลี่ย 8.4% CAGR

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากสุด 42.5% คาดว่าจะขยายตัวช้าๆ เฉลี่ย 2.6% CAGR อย่างไรก็ดี กระแสความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมีมากขึ้น จะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่มีพืชพันธุ์ไม่ต่ำกว่า 20,000 ชนิดที่สามารถนำมาใช้ ประโยชน์เป็นสมุนไพร และอาจช่วยให้ตลาดโดยรวมเติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์

อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในอุตสาหกรรมมีจำนวนมากทั้งที่เป็นผู้ประกอบการของคนไทยและต่างชาติ รวมถึงยาราคาถูกที่นำเข้าจากจีนและอินเดีย การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่เพิ่มถึง 44.0% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ยิ่งทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรง แต่เชื่อว่าความต้องการมีมากพอที่จะรองรับผู้ประกอบการจำนวนมากได้

โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากจำนวนผู้สูงอายุและความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงช่องทางการรักษาที่ดีขึ้น การขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ และพฤติกรรมที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เทรนด์ที่มาแรง

ทั้งนี้ หนึ่งในเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงหลังยุค COVID-19 คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ แม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายแต่คนทั่วโลกยังคงหันมาใส่ใจในสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติเก่า ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุน Overweight และเลือก MEGA และ HL เป็น Top picks จากแบรนด์ที่แข็งแกร่งของ MEGA และ Valuations ถูก ขณะที่ HL มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากความพร้อมในหลายๆ ด้าน

โดยในบรรดาโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร MEGA มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีทั้งในและต่างประเทศ มีตลาดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาต และมีโรงงานผลิตยาในหลายประเทศ ถือเป็นการ กระจายความเสี่ยงที่ดี ทำให้กำไรของ MEGA ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ไม่ค่อยสร้างเซอร์ไพรส์ในทางลบให้กับตลาด แม้ว่า MEGA จะมีอัตราการเติบโตของกำไรปี 2565-66 ต่ำกว่า บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) หรือ IP และ บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JP

ทั้งนี้ คาดกำไรของ MEGA เติบโต 13.9% และ 14.1% ในปี 2565-66 ตามลำดับ ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม แต่การเติบโตของ IP และ JP เป็นการเติบโตจากฐานต่ำในปี 2563

นอกจากนี้ MEGA ยังบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดี มีอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิที่ดีกว่า IP และ JP และมี Valuations ถูกกว่ามาก โดยมี PE ปี 2565 ที่ 21.8 เท่า และ EV/EBITDA 16.1 เท่า ถูกกว่า IP และ JP ราวครึ่งหนึ่ง พร้อมกันนี้ประเมินราคาเป้าหมายปี 2565 ของ MEGA ที่ 63 บาท (DCF, WACC 8.6%, TG 3.0%) คิดเป็น Implied PE 26.5 เท่าและ PEG 1.3 เท่า ยังต่ำกว่ากลุ่มค้าปลีกที่มี PE เฉลี่ย 32.5 เท่า

ส่วน HL เป็นร้านขายหนึ่งเดียวในกลุ่ม และเป็นเชนร้านขายยาบริษัทแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีโครงสร้างธุรกิจคล้ายกลุ่มค้าปลีก ปัจจุบันยังมีสาขาไม่มากเพียง 25 สาขา จึงมีช่องว่างให้โตได้อีกมาก ขณะที่อุปสรรคของ ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใหม่มีค่อนข้างสูง เพราะเป็นธุรกิจที่มีกฎระเบียบเข้มงวดทั้งสถานประกอบการ คุณภาพ การจัดเก็บยา ต้องมีเภสัชกรให้คำแนะนำประจำร้าน และยังต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ซึ่งล้วนแต่เป็นจุดแข็งของบริษัทที่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทแข็งแกร่ง มีเสถียรภาพ มีความผันผวนต่ำ

โดยคาดกำไรสุทธิปี 2564-66 จะเติบโตดีต่อเนื่องคิดเป็นอัตราการโต 35.8% CAGR และประเมินราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 15 บาท (DCF, WACC 8.3%, TG 3.0%) คิดเป็น Implied PE และ PEG ที่ 35 เท่า และ 0.97 เท่า ตามลำดับ

Back to top button