TU เปิดงบ Q1 กำไร 1.7 พันลบ. ดีกว่าโบรกคาด! ยอดขายโต “นิวไฮ” 3.6 พันล้าน

TU ค่าใช้จ่ายเพิ่ม-ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน กดงบไตรมาส 1/65 กำไรเหลือ 1.7 พันลบ. แต่ดีกว่าโบรกคาดการณ์ไว้ว่าจะมีกำไรเพียง 1.5 พันลบ. ขณะที่ยอดขายยังคงทำนิวไฮ 3.6 พันลบ. ด้วยกลุ่มอาหารทะเลแปรรูบ ยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นยังฟื้นตัวต่อเนื่อง และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น


บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีกำไรสุทธิดังนี้

บริษัทฯ มีกำไรไตรมาส 1/2565 ลดลงเนื่องจากอัตรากำไรได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster รวมทั้งจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น 28.9% หรือคิดเป็น 1,051 ล้านบาท มีสาเหตุหลักจากค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น

พร้อมกับช่วงไตรมาส 1/2565 ไม่มีการบุ๊กกำไรพิเศษเข้ามา ดังช่วงในไตรมาส 1/2564 ที่มีรายการพิเศษจากการที่บริษัทฯ ได้รับเงินชดเชยจาก UK Marine Management Organization (MMO) จากกระบวนการการเรียกร้องทางแพ่งของ John West หลังจากศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดใดๆ และได้รับค่าชดเชยจำนวน 77 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามแม้ว่ากำไรไตรมาส 1/2565 จะออกมาต่ำกว่าไตรมาส 1/2564 แต่ถือว่าเล็กน้อย แต่กลับเติบโตเกินกว่าที่ทางฝ่ายวิจัยและตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า อาทิเช่น บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาดการณ์กำไรสุทธิงวดไตรมาส 1/2565 ว่า TU กำไรสุทธิอยู่ที่ 1,501 ล้านบาท ลดลง 22% เทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 17% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดการณ์กำไรสุทธิของ TU อยู่ที่ 1,452 ล้านบาท ลดลง 24.8% เทียบกับไตรมาสก่อนและลงลด 19.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

รวมทั้ง บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดการณ์กำไรไตรมาส 1/65 ของ TU อยู่ที่ 1,500 ล้านบาท ลดลง 24% เทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 18% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ จุดแข็ง TU ในช่วงไตรมาส 1/2565 ยอดขายยังคงสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สำหรับไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 3,627 ล้านบาท เติบโต 16.5% เทียบกับไตรมาส 1/2564  โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

1.ยอดขายกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปที่เพิ่มขึ้น 14.3% โดยเติบโตจากยอดขายผลิตภัณฑ์ทูน่าที่เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคหลังจากยอดขายปีที่แล้วที่ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับปรกติ เนื่องจากช่วงไตรมาส 1/2563 มีการกักตุนสินค้าในระยะแรกของการระบาดของโรค COVID-19 รวมทั้งราคาขายที่ปรับเพิ่มขึ้นช่วยให้ยอดขายเติบโตในปีนี้

2.ยอดขายกลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นเพิ่มขึ้น 14.2% โดยปรับตัวขึ้นจากความต้องการซื้อของธุรกิจร้านอาหารที่ฟื้นตัวหลังจากได้รับผลกระทบจากการปิดร้านชั่วคราวจากสถานการณ์ของโรค COVID-19 ตั้งแต่ไตรมาส 1/2563 รวมทั้งราคาขายที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

3.ยอดขายกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 27.2% โดยเติบโตจากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงทั้งในสินค้าเดิมและสินค้าใหม่ รวมทั้งการขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ด้วย ขณะที่ยอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและรายได้จากกำรประกอบธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีการเติบโตเช่นกัน

4.ในไตรมาส 1/2565 ค่าเงินบาทโดยรวมแล้วอ่อนค่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก คือ เงินเหรียญสหรัฐ (บาทอ่อนค่า 9.2%), ยูโร (บาทอ่อนค่ำ 1.7%)และปอนด์สเตอร์ลิง (บาทอ่อนค่า 6.4%) ซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตของยอดขาย

Back to top button