สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 ส.ค. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 ส.ค. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (31 ส.ค.) โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดในแดนลบติดต่อกัน 4 วันทำการ และทำสถิติเดือนส.ค.ที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,510.43 จุด ร่วงลง 280.44 จุด หรือ -0.88%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,955.00 จุด ลดลง 31.16 จุด หรือ -0.78% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,816.20 จุด ลดลง 66.93 จุด หรือ -0.56%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพุธ (31 ส.ค.) และปิดตลาดเดือนส.ค.ในแดนลบ โดยถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนส.ค.แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง โดยความวิตกเกี่ยวกับหุ้นกลุ่มพลังงานทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากรัสเซียเริ่มยุติการส่งก๊าซให้กับเยอรมนีผ่านท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 415.12 จุด ลดลง 4.69 จุด หรือ -1.12%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,125.10 จุด ลดลง 85.12 จุด หรือ -1.37%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,834.96 จุด ลดลง 126.18 จุด หรือ -0.97% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,284.15 จุด ลดลง 77.48 จุด หรือ -1.05%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันพุธ (31 ส.ค.) โดยปรับตัวลงรายวันรุนแรงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากการเตือนเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าได้ตอกย้ำความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงในอังกฤษ

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,284.15 จุด ลดลง 77.48 จุด หรือ -1.05%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 90 ดอลลาร์ในวันพุธ (31 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังมีรายงานว่าเมืองใหญ่หลายแห่งของจีนเพิ่มความเข้มงวดในการใช้มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 รวมทั้งรายงานที่ว่าภาคการผลิตจีนหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 2.09 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 89.55 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. ดิ่งลง 2.82 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 96.49 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ในวันพุธ (31 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 10.1 ดอลลาร์ หรือ 0.58% ปิดที่ 1,726.2 ดอลลาร์/ออนซ์ และตลอดเดือนส.ค. สัญญาทองคำร่วงลงทั้งสิ้น 3.1%

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 40.5 เซนต์ หรือ 2.21% ปิดที่ 17.882 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 5.1 ดอลลาร์ หรือ 0.61% ปิดที่ 827 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 8.90 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 2,078.90 ดอลลาร์/ออนซ์

เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (31 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอังกฤษ

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.07% แตะที่ระดับ 108.6980

เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.1617 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1658 ดอลลาร์ ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.0046 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0024 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6849 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6857 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 138.74 เยน จากระดับ 138.67 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9762 ฟรังก์ จากระดับ 0.9736 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3122 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3101 ดอลลาร์แคนาดา

ตลาดหุ้นอินเดียปิดทำการวานนี้ (31 ส.ค.) เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศ

ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการวานนี้ (31 ส.ค.) เนื่องในวันชาติ

Back to top button