สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค. 2566

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค. 2566


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นมากกว่า 2% ในวันศุกร์ (6 ม.ค.) ขานรับรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร รวมทั้งดัชนีภาคบริการของสหรัฐ ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,630.61 จุด เพิ่มขึ้น 700.53 จุด หรือ +2.13%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,895.08 จุด เพิ่มขึ้น 86.98 จุด หรือ +2.28% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,569.29 จุด เพิ่มขึ้น 264.05 จุด หรือ +2.56%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (6 ม.ค.) ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มน้ำมัน หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐที่ขยายตัวปานกลางได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 444.42 จุด เพิ่มขึ้น 5.09 จุด หรือ +1.16% และปรับตัวขึ้น 4.6% ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 9 เดือน

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,860.95 จุด เพิ่มขึ้น 99.45 จุด หรือ +1.47% , ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,610.02 จุด เพิ่มขึ้น 173.71 จุด หรือ +1.20% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,699.49 จุด เพิ่มขึ้น 66.04 จุด หรือ +0.87%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันศุกร์ (6 ม.ค.) แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มพลังงาน ขณะที่การขยายตัวของการจ้างงานที่ชะลอตัวเกินคาดได้กระตุ้นความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,699.49 จุด เพิ่มขึ้น 66.04 จุด หรือ +0.87%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (6 ม.ค.) แต่ปิดลบในสัปดาห์แรกของการซื้อขายในปีนี้ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและความต้องการใช้น้ำมัน

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.14% ปิดที่ 73.77 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 8.1% ในรอบสัปดาห์นี้

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 12 เซนต์ หรือ 0.15% ปิดที่ 78.57 ดอลลาร์/บาร์เรล และลดลง 8.5% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (6 ม.ค.) แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน โดยได้แรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐได้ตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 29.1 ดอลลาร์ หรือ 1.58% ปิดที่ 1,869.7 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้น 2.4% ในรอบสัปดาห์นี้ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 ธ.ค.

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 55.8 เซนต์ หรือ 2.38% ปิดที่ 23.982 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 34.7 ดอลลาร์ หรือ 3.24% ปิดที่ 1,104.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 74 ดอลลาร์ หรือ 4.3% ปิดที่ 1,806.70 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร รวมทั้งดัชนีภาคบริการของสหรัฐ บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 1.11% แตะที่ระดับ 103.8790

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 132.05 เยน จากระดับ 133.22 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9276 ฟรังก์ จากระดับ 0.9360 ฟรังก์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3434 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3569 ดอลลาร์แคนาดา และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดนที่ระดับ 10.5199 โครนา จากระดับ 10.6791 โครนา

ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0647 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0530 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ 1.2098 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1918 ดอลลาร์

Back to top button