“ชัย วัชรงค์”แฉเอกสารลับ“กระทรวงการคลัง”ระบุ GDP ปี 66 โตต่ำ 1.8% สวนทาง ธปท.คาดโต 3.6%

“ชัย วัชรงค์” เผยเอกสารลับกระทรวงการคลัง ระบุประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 ชี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โตเพียง 1.8% สวนทางคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินไว้จะโต 3.6% เหตุการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์


ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (23 ม.ค.67) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเอกสารการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 66 และ ปี 67 ที่ระบุว่าเป็นความลับของ กระทรวงการคลัง จัดทำโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ซึ่งจะแถลงวันที่ 24 ม.ค. 67 ออกมาเผยแพร่ก่อนพร้อมสรุปว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ GDP ปี 66 เติบโตเพียง 1.8% เทียบกับที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดการณ์เอาไว้เมื่อต้นปี 66 ว่าจะเติบโตถึง 3.6% ถือเป็นการเติบโตที่ถดถอยลงกว่าปี 65 ที่เติบโต 2.6%

โดยในเอกสารข่าวที่มีการปั้มตราลับระบุผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 ว่าจะขยายตัวที่ 1.8% ชะลอลงจากปี 65 ที่ขยายตัว 2.6% ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

อีกทั้งมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 66 คาดการณ์ว่าจะหดตัวที่ 1.5% ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะหดตัวที่ 1.9% อย่างไรดีตามปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 66 มาจากภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูงและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ

ขณะที่ในปี 67 กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 2.8% ต่อปี ซึ่งขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปี 66 และเป็นการขยายตัวที่มาจากทุกเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง

นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวคาดการณ์ว่าในปี 67 จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 33.5 ล้านคน ขยายตัว 19.5% ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซียเป็นสำคัญ รวมถึงมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างขาติ 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6% ต่อปี

อีกทั้งคาดการณ์ว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าในตลาดโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้าจะโต 4.2% ต่อปี สำหรับปัจจัยภายในประเทศคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกซนโต 3.3% ต่อปี

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวที่ 3.2% ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.0% ต่อปี เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี  ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัด ในปี 67 มีแนวโน้มกลับมาเกินดุล 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตามการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้นควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น อาทิ 1.การพัฒนาโดรงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน, การลงทุนในต้านดิจิทัล และการพัฒนาต้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคไห้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระตับภูมิภาคได้ 2.การพัฒนาทักษะ รวมถึงการเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญ และ 3.การรักษาเสถียรภาพทางการคลังรวมไปถึงบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่างในอนาคตไต้

นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ 1.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่างๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป อาทิ จีนและสหรัฐฯ รวมไปถึงสถานการณ์สู้รบอิสราเอสและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน 2.สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิ สหรัฐฯ รัสเซีย และอินเดีย รวมถึง 3.ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และ 4.สถานการณ์เศรษฐกิจของจีนที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย

X
Back to top button