IRPC ค่าการกลั่นฟื้น-ใช้จ่ายลด ดันอีบิทด้าโต 5.8 พันล้าน

IRPC รายงานงบปี 66 มีผลขาดทุนสุทธิ 2,923.17 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 33.01% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 4,363.62 ล้านบาท ดันอีบิทด้าโต 5.8 พันล้านบาท รับปริมาณขายเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าการกลั่นฟื้นและค่าใช้จ่ายลดลง


บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566 ดังนี้

สำหรับ IRPC รายงานผลประกอบการปี 66 มีผลขาดทุนสุทธิ 2,923.17 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 33.01% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 4,363.62 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายสุทธิ 299,075 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 โดยมีสาเหตุจากราคาขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 22 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง

ขณะที่ปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 สำหรับธุรกิจปิโตรเลียมมีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นตามราคาตลาด (Market Gross Refining Margin: Market GRM) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลที่อ่อนตัวลงจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งมีผลกระทบต่ออุปทานของน้ำมันดีเซลอย่างมาก

นอกจากนี้ธุรกิจปิโตรเคมี มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี (Market Product to Feed: Market PTF) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับราคาแนฟทาปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์กลุ่มปิโตรเคมียังคงซบเซาต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ขณะที่กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างคงที่จากการขายไฟฟ้าและไอน้ำ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 19,344 ล้านบาท (7.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ลดลงร้อยละ 19

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีของปี 2566 ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดยมีปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว จากการควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศ  จากเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวตามตลาดคาดการณ์อันเป็นผลจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีน

ประกอบกับจากการล้มละลายของหลายธนาคารในสหรัฐฯ ยุโรปและจีน ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลก ถึงแม้จะมีปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบผันผวนเป็นระยะๆ จากการปรับลดกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร และความขัดแย้งทางการเมืองในหลายประเทศ ได้แก่ อิสราเอล-ฮามาส  รัสเซีย-ยูเครน  ซึ่งการลดลงของราคาน้ำมันดิบส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 2,488 ล้านบาท หรือ 1.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ขณะที่มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) 1,026 ล้านบาท หรือ 0.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ บันทึกกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นจริง (Realized Oil Hedging) 339 ล้านบาท หรือ 0.14 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากรายการดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ (Net Inventory Loss) รวม 1,123 ล้านบาท หรือ 0.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) จำนวน 18,221 ล้านบาท หรือ 7.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อน

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 5,754 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,767 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 โดยในปี 2566 มีกำไรจากการด้อยค่าและตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 825 ล้านบาท จากการกลับรายการด้อยค่าพัสดุคงคลัง ซึ่งในปี 2566

Back to top button