CCET บวก 10% นำทีมหุ้นอิเล็ก หวังเจรจาการค้าสหรัฐ-ไทยราบรื่น หลังเวียดนามภาษีลดเหลือ 20%

CCET บวก 10% นำทีม DELTA, HANA, KCE วิ่งตาม หวังเจรจาภาษีการค้าสหรัฐ-ไทยราบรื่น หลังเวียดนามลดภาษีเหลือ 20%


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (3 ก.ค. 68) ราคาหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวจขึ้นยกแผงช่วง เวลา 10:33 น. นำโดยบริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CCET ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 5.90 บาท บวก 0.55 บาท หรือ 10.28% สูงสุดที่ระดับ 5.90 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 5.40 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 328.67 ล้านบาท

บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 20.60 บาท บวก 0.20 บาท หรือ 0.98% สูงสุดที่ระดับ 20.80 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 20.50 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 144.35 ล้านบาท

บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 20.70 บาท บวก 0.50 บาท หรือ 2.48% สูงสุดที่ระดับ 20.70 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 20.20 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 207.42 ล้านบาท

บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 108.00 บาท บวก 0 3  บาท หรือ 2.86% สูงสุดที่ระดับ 110.00 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 105.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,014.88 ล้านบาท

บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI ระบุว่า ประเมิน Sentiment บวกต่อ CCET จากการการเจรจาการค้าไทย – สหรัฐฯ  ซึ่งประเมินความคืบหน้าเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างไทย – สหรัฐฯ วันนี้คาดเป็นบวกต่อผู้ผลิตเพื่อส่งออกอย่าง CCET โดยตรง

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า หุ้นชิ้นส่วนบวกต่อเนื่อง 2 วันติด ทั้ง 4 ตัว ไม่ว่าจะเป็น DELTA, HANA, KCE และ CCET โดยนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มดังกล่าว จากความคาดหวังว่า ไทยจะมีการเจรจาการค้ากันในวันนี้ ที่เดิมทีอยู่ที่ 36% และคาดว่า อาจจะมีสามารถต่อรองให้ลดลงมาเหลือประมาณ 10-15% จากกรอบเดิมที่ตลาดเคยมองไว้ 10-18% หลังจากเวียดนามเคยถูกเรียกเก็บภาษี 45% และสามารถต่อรองลดลงมาเหลือ 20%

นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ (3 ก.ค.68) วันนี้ต้องติดตามการเข้าเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ ซึ่งมองว่าน่าจะทันกำหนดก่อนวันที่ 9 ก.ค.นี้ โดยที่ผ่านมา หลายประเทศได้ยื่นข้อเสนอไปยังสหรัฐฯ มากกว่า 60 ประเทศ และกลุ่มประเทศที่เริ่มมีความชัดเจน คือ อังกฤษ จีน และเวียดนาม ภาพรวมแล้วหลายประเทศยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายหรือยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลง แต่เริ่มมีโอกาสในการเจรจามากขึ้น สำหรับประเทศไทย มีแนวโน้มว่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐต้องการรับฟังข้อเสนอ หรืออาจเป็นข้อตกลงที่มีข้อจำกัดมากกว่า

อย่างไรก็ตาม มีมุมมองว่าต้องพยายามเจรจาให้ได้ใกล้เคียงเวียดนาม หรือ น้อยกว่านั้นเพื่อเพิ่มการแข่นขันสำหรับเศรษฐกิจในเชิงนัยยะเชิงยุทธศาสตร์ ประเมินว่า ไทยยังคงมีความได้เปรียบบางประการเหนือเวียดนาม อาทิ 1.) ความเสี่ยงจากการสวมสิทธิ์แหล่งที่มาของสินค้า ซึ่งยังน้อยกว่าเวียดนาม จึงอาจกลายเป็นจุดแข็ง 2.) บทบาทด้านยุทธศาสตร์ ความมั่นคง ซึ่งไทยมีความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐ และ 3.) บทบาทเชิงเศรษฐกิจที่สามารถใช้ต่อรองได้ โดยเฉพาะในภาคบริการ เช่น เทคโนโลยีและดิจิทัลเซอร์วิส ซึ่งเป็นจุดที่สหรัฐให้ความสำคัญและมีผลประโยชน์ร่วมกัน

อีกทั้ง รายสินค้าและอุตสาหกรรมไทยถือเป็น 1 ชาติที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามูลค่าประมาณ 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝั่งของรายอุตสาหกรรมไทยการส่งออก สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไปสหรัฐฯค่อนข้างมากและสินค้าไม่ได้มีการสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้า (origin misdeclaration) สิ่งที่ต้องจับตา คือ ภาษีที่จะถูกนำมาใช้โดยสหรัฐฯ จะอยู่ในลักษณะใด

โดยเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2568 “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เปิดเผยผ่านทรูธ โซเชียล ว่า ทำข้อตกลงการค้ากับเวียดนามได้สำเร็จ หลังพูดคุยกับ “โต เลิม” เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าเวียดนามจะจ่ายภาษีศุลกากร 20% ให้กับสหรัฐฯ สำหรับสินค้าทั้งหมดที่ส่งมายังสหรัฐฯ ส่วนสินค้าเวียดนามใดๆ ที่ถูกขนส่งผ่านประเทศที่ 3 จะเผชิญกำแพงภาษี 40%

แต่ภายใต้ข้อตกลงนี้ เวียดนามจะเปิดตลาดอย่างเสรีให้แก่สินค้าจากสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ จะสามารถส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามโดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรแต่อย่างใด

แม้อัตราการเรียกเก็บภาษี 20% จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่ถือว่าลดลงจากภาษีนำเข้าจากคู่ค้าทั่วโลก 46% ที่ทรัมป์ประกาศเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาว่าจะเก็บจากสินค้านำเข้าจากเวียดนามมาก

Back to top button