คัด 18 หุ้นเด่น รับอานิสงส์บาทอ่อนในรอบ 13 เดือน! เน้นส่งออกอาหาร-ชิ้นส่วนอิเล็กฯ

คัด 18 หุ้นเด่น รับอานิสงส์บาทอ่อนในรอบ 13 เดือน! เน้นส่งออกอาหาร-ชิ้นส่วนอิเล็กฯ อาทิ TU,CPF,GFPT,TFG ,ASIAN,NER,XO,SAPPE,SVI,HANA,KCE,AMATA,EPG,SAT,AH,STGT,SAPPE,IVL,PTTGC


นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวานนี้(24 มิ.ย.2564) อยู่ที่ 31.87 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.83 – 31.98 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า และมีปัจจัยหนุนให้บาทอ่อนค่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประทศ โดยระดับ 31.98 บาท/ดอลลาร์ยังเป็นช่วงอ่อนค่าสุดในรอบ 13 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.63

โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.80 – 32.00 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ, การประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ไตรมาส 1/2564 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ

ดังนั้นเพื่อให้เข้าช่วงนี้ทีมข่าว “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการรวบรวมข้อมูลกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามานำเสนอ อาทิ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์,เกษตรอาหาร,นิคมอุตฯ,วัสดุ อาทิ TU, CPF, GFPT, TFG , ASIAN, NER, XO, SAPPE, SVI,HANA, KCE, AMATA, EPG,SAT, AH,STGT, IVL, PTTGC โดยมีข้อมูลประกอบจากบทวิเคราะห์ดังนี้

บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ทุกๆ 1 บาท บวกต่อกลุ่มเกษตรอาหาร กำไรสุทธิเพิ่ม 3-1%  ได้แก่ TU, CPF, ASIAN, NER, XO, SAPPE กลุ่มชื้นส่วนฯ กำไรสุทธิเพิ่ม 3-2% ได้แก่ SVI, HANA, KCE กลุ่มนิคม AMATA กลุ่มวัสดุ EPG +3% ลบต่อ Airline โรงไฟฟ้า

 

บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า จับตาตัวเลขส่งออกเดือน พ.ค. ตลาดคาดโต 33% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากฐานที่ต่ำปีก่อนเนื่องจากการ Lockdown ช่วง COVID-19 ระบาดระลอกแรก คาดว่าสินค้าที่ยังเติบโตแข็งแกร่ง ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ถุงมือยาง อาหารสัตว์ เครื่องดื่ม โดยคาดได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหุ้นทีได้ประโยชน์ ได้แก่ HANA, KCE, SAT, AH, TU, STGT, SAPPE, IVL, PTTGC, XO

(+) กลุ่มส่งออกค่าเงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 1 ปี มาอยู่ที่ 31.83 บาท/ดอลลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.8% เทียบสัปดาห์ก่อนหน้าเป็นบวกต่อผู้ส่งออกอย่างอิเล็กทรอนิกส์และอาหาร

โดยพบว่าค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเป็นบวกต่อกำไรของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ราว 3-4% เนื่องจากสัดส่วนรายได้ส่งออกมาก ส่วนกลุ่มอาหารเป็นบวกราว 1% เนื่องจากสัดส่วนส่งออกน้อยกว่าและบางรายขายเป็นเงินบาทสมมติฐานค่าเงินบาทของยังอยู่ที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์ (2564 เทียบจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 30.77บาท/ดอลลาร์ แนะนำ “ซื้อ” TU, GFPT, TFG, SAPPE ส่วน KCE และ HANA แนะนำ“เก็งกำไร”

ล่าสุดวานนี้ (24 มิ.ย.64) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือน พ.ค.2564 โดยการส่งออกมีมูลค่า 23,057 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 41.59% ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี

อย่างไรก็ตาม เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัยแล้ว การส่งออกขยายตัว 45.87% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการเติบโตที่ฟื้นตัวจากภาคเศรษฐกิจจริง

ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 22,261 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 63.54% ส่งผลให้เดือนพ.ค. เกินดุลการค้า 795 ล้านดอลลาร์

สำหรับภาพรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค. – พ.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 108,635 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.78% การนำเข้า มีมูลค่า 107,141 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 21.52% ส่งผลให้ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ไทยเกินดุลการค้า 1,494 ล้านดอลลาร์

 

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลยุทธ์การลงทุ: Selective buy กลุ่มพลังงาน PTT PTTEP BANPU ราคาน้ำมันดิบทรงตัวระดับสูง ส่วน HANA, KCE, TU, CPF, EPG อานิสงส์เงินบาทที่อ่อนค่าลง และธีมเปิดเมือง BCH, CHG, BDMS, MINT, CENTEL, ERW, AOT, CPALL, HMPRO, CPN, CRC, AAV, AMATA, WHA, BEM และ BTS

โดย KCE ( ซื้อ/เป้าสูงสุด IAA Consensus 84) ได้ Sentiment บวกเงิน บาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 1 ปี และยังได้แรงหนุนจากข่าวรัฐบาลจีนเร่งระบาย สินค้าโลหะที่ไม่ใช่เหล็กออกจากคลังสินค้าแห่งชาติเป็นบวกต่อกลุ่มอิเล็กฯ จาก ราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบลดลง

*อนึ่งข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button