DTAC รูด 5% วิตกคลื่น 900 MHz/1800 MHz จ่อหมดสัญญา หวั่นวืดประมูลรอบใหม่

DTAC รูด 5% วิตกคลื่น 900 MHz/1800 MHz จ่อหมดสัญญา หวั่นวืดประมูลรอบใหม่ โดย เวลา 10.44 น. อยู่ที่ระดับ 48.50 บาทลบ 2.50 บาท หรือ 4.90% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 607.93 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC  ณ เวลา 10.44 น. อยู่ที่ระดับ 48.50 บาทลบ 2.50 บาท หรือ 4.90% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 607.93 ล้านบาท คาดนักลงทุนกังวลประเด็นคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในวันที่ 15 ก.ย. 2561 และจะมีการนำมาประมูลใหม่ในปีหน้า ตรงนี้อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการถือครองคลื่นความถี่ดังกล่าวหลังหมดสัญญาสัมปทานจึงเป้นปัจจัยให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาในวันนี้

บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (2 พ.ย.) ว่า ICT-MOBILE  Neutral ต่อข่าว กสทช. เปิดเผยร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz โดยเลขาธิการ กสทช. (ฐากร ตัณฑสิทธิ์) ระบุ กสทช ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHZ และ 1800 MHz แล้ว เพื่อให้การดำเนินการประมูล การโอนย้ายคลื่นความถี่เสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.2018 ในเบื้องต้นจะจัดประมูลฯ ช่วงเดือน พ.ค.18 และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลในเดือน มิ.ย.18

โดยมีมุมมอง Neutral ต่อข่าวดังกล่าว เนื่องจากสาระสำคัญของร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากเดิม ยกเว้นค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 5% ของราคาเริ่มต้น เป็น 15% ของราคาเริ่มต้น

ทั้งนี้เชื่อว่า Mobile operator ทั้ง 3 ราย (ADVANC, DTAC, TRUE) มีโอกาสเข้าร่วมประมูลคลื่นครั้งนี้ โดยเฉพาะ DTAC คาดว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นทั้ง 900 MHz และ 1800 MHz ขณะที่ ADVANC และ TRUE มีทางเลือกสำหรับเข้าประมูลมากกว่า กรณี JAS หากมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด และสามารถหาพันธมิตรร่วมลงทุนได้ทัน มองว่า JAS มีโอกาสเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz มากกว่า 900 MHz เพื่อต่อยอดการให้บริการ Fixed broadband

คงน้ำหนักลงทุน Neutral ต่อกลุ่มสื่อสาร และเลือก ADVANC (TP 215) เป็น Top pick กลุ่ม Mobile โดยระยะสั้นคงมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H17F คาดกำไรกลับมาเติบโตทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ h-h มีปัจจัยบวกมาจาก  i) base effect ที่นับตั้งแต่ 2H16 จะเป็นช่วงที่ ADVANC และ TRUE มีการบันทึกต้นทุนใบอนุญาต 900 MHz  และค่าเช่า TOT  เหมือนกับปัจจุบันแล้ว , ii) รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นตามการใช้บริการข้อมูล (data) และประสิทธิภาพโครงข่ายการให้บริการ 4G ที่สูงขึ้น และ iii) ยังมีอานิสงส์จากการใช้ USO ใหม่ที่ลดลง -125 bps เหลือ 2.5% ของรายได้ให้บริการเต็มงวด

อนึ่งก่อนหน้านี้นายชวิต แสงอุดมเลิศ ผู้อำนวยการสายงานนักลงทุนสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เปิดเผยว่า  ปัจจุบัน DTAC ไม่ได้เสียเปรียบคู่แข่ง ตอนนี้ยังมีสัญญาใช้ได้ถึงเดือน ก.ย.61 แต่หลังจากนั้น ยังมีความไม่แน่นอนในการถือครองคลื่นความถี่ หลังหมดสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ ปัจจุบัน DTAC  มีสัญญาสัมปทานกับ บมจ.กสท.โทรคมนาคม (CAT) ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 45 MHz โดยสิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.61

ผู้อำนวยการสายงานนักลงทุนสัมพันธ์  DTAC กล่าวว่า ปัจจุบัน DTAC มีเงินสดในมือแล้วราว 2.5 หมื่นล้านบาทเพื่อเตรียมพร้อมเข้าประมูลคลื่นความถี่ในปีหน้า ซึ่งเบื้องต้น นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่าจะเปิดประมูลได้ราวเดือน มิ.ย.61

Back to top button