โบรกฯแนะถือ HANA อัพกำไร-เป้าใหม่ 84 บ. มองบวกรุกลงทุน SiC

โบรกฯแนะถือ HANA อัพกำไร-เป้าใหม่ 84 บ. มองบวกรุกลงทุน SiC ฟากโรงงานเฟส 1 คืบหน้า คาดแล้วเสร็จ-เริ่มรับรู้รายได้ในครึ่งหลังปี 65


บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(25 ต.ค.64) ว่า  บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA จากประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา บริษัทได้อัพเดทถึงผลตอบรับของลูกค้าที่มีต่อสินค้าใหม่ Silicon Carbide (SiC) ที่ได้ผลิตผ่านบริษัท Power Master Semiconductor จัดตั้งขึ้นในเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2561และมีส่งสินค้าให้ลูกค้ากว่า 100 รายทดลองราว 6 เดือน

ล่าสุดได้รับผลตอบรับที่ดีมากได้ผลลัพธ์เป็นบวก 100% และได้เริ่มเซ็นสัญญากับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ในเกาหลีใต้ และยังมีอีกหลาย รายที่เตรียมเซ็นสัญญาเพิ่มเติม ทำให้บริษัทตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรสำหรับ SiC ซึ่งได้มีการลงทุนไปแล้ว US$ 100 ล้าน หรือประมาณ 3.31 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างลงทุนอีก 2 เฟส

โดยเฟสแรกมีแผนใช้เงินลงทุนราว US$80-US$65 ล้าน  หรือประมาณ 2.15-2.64 พันล้านบาท ส่วนเฟส 2 จะพิจารณาตาม Demand ในระยะถัดไปคาดจะแล้วเสร็จและเริ่มรับรู้รายได้ในครึ่งหลังปี 2565

สำหรับ SiC คือ Semiconductor (สารกึ่งตัวนำ) เทคโนโลยีใหม่ในกลุ่ม Power Management สามารถนำและทนความร้อนได้สูง และที่สำคัญสามารถลดความต้านทานไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อ EV Car ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และช่วยประหยัดพลังงาน จากแบตเตอรี่ได้มากขึ้น มูลค่าตลาดของ Silicon Carbide Power ของโลกในปี 2563 อยู่ที่ US$ 628.7 ล้าน  หรือประมาณ  2.07 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นเพียง 0.14% ของมูลค่า Semiconductor ทั่วโลก และ มีการคาดการณ์กันว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น US$ 4.71 พันล้าน หรือประมาณ 1.32 แสนล้านบาท ภายในปี 2569 หรือคิดเป็น อัตราการเติบโตสูงถึง 4241% CAGR ขณะที่การแข่งขันยังอยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ผลิต SIC un STMicroelectronics, ROHM. Infineon, On Semiconductor

โดยมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า และมีโอกาสที่ Sic จะเป็น New S Curve ของบริษัท นอกจากสร้างการเติบโตของรายได้แล้ว ยังช่วย ปลดล็อกอัตรากำไรขั้นต้นให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น จากเดิมที่เป็นผู้ประกอบการกลางน้ำ ทำการ Assembly และ Testing เป็นหลัก ซึ่งการขยายสู่ SiC ครั้งนี้ มองเป็นขยายเข้าสู่ต้นน้ำมากขึ้น และเป็นสินค้าที่มี R&D คาดมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงราว 25% 40% สูงกว่าอัตรากำไรขั้นต้นปัจจุบันของบริษัทที่ 14-15% และยังสามารถสร้าง Value Added ให้กับกลุ่ม Assembly เดิมของตนเอง นำมาประกอบที่โรงงานในไทย รวมถึงการทำ Packaging Solution for SiC น่าจะได้เห็น Synergy ในระยะถัดไป

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย โดยรวม SiC ไว้ในประมาณการของ โดยอิงตามเป้าหมายของบริษัทที่ตั้งเป้าเริ่ม รับรู้รายได้ปี 2565-2566 ราว US$19 ล้าน หรือประมาณ 269.05 ล้านบาท  และ US$ 50 ล้าน หรือประมาณ 1.65 พันล้านบาท และจะโตต่อเนื่องเป็น US$132 ล้าน หรือประมาณ 4.37 พันล้านบาท ในปี 2568 นำไปสู่การปรับเพิ่มประมาณการกำไรปกติปี 2565-2566 ขึ้น 4.4% และ 11.9% เป็นการเติบโต12.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 16.9% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

อีกทั้งปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2565 เป็น 84 บาท จากเดิม 30 บาท ทั้งนี้มองจะส่งผลบวกอย่างชัดเจนในปี 2566 ราคาเป้าหมายจะขยับเป็น 98 บาท โดยยังอิง PE เดิม 25 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของคู่แข่งที่เข้าสู่ธุรกิจ SIC และเริ่มรับรู้รายได้แล้ว

Back to top button