หุ้นผีบอก “ขวัญใจสายขุด” ZIGA-ECF-UPA-AJA ทะยานไม่หยุด!

หุ้นผีบอก "ขวัญใจสายขุด” ZIGA-ECF-UPA-AJA ทะยานไม่หยุด กลต.เตือนก่อนซื้อขายตัดสินใจให้รอบคอบ เหตราคาพุ่งเกินพื้นฐาน


“ข่าวหุ้นธุรกิจ” รวบรวมกลุ่มหุ้นผีบอก “ขวัญใจสายขุด” มานำเสนอผ่านรายการ “ข่าวหุ้น” ออกอากาศทางช่อง MCOT HD30 ในวันที่ 14 ก.พ.2565 หลังวานนี้มีประเด็นสำคัญทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ออกมาเตือนให้นักลงทุนระวังการซื้อขาย 5 หลักทรัพย์ได้ออกมาเตือนให้นักลงทุนระวังการซื้อขาย 5 หลักทรัพย์ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลท.พบหลักทรัพย์ที่มีสารสนเทศเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจขุดเหมืองเงินดิจิทัล (Cryptocurrency Mining) มีสภาพการซื้อขายในลักษณะเก็งกำไรสูง กล่าวคือ ราคา มูลค่าการซื้อขาย และอัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือ (% Turnover ratio) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่อง

โดย 5 หุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์จับตาประกอบไปด้วยอันดับ 1. บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ JTS ,อันดับ 2. บริษัท ซิก้า อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ZIGA ,อันดับ 3. บริษัท ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ UPA ,อันดับ 4. บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF และ อันดับ 5 บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AJA

โดยความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นขอเน้นไปที่ 4 หุ้นน้องๆขุดบิดคอยน์ ได้แก่  ZIGA-ECF-UPA-AJA เป็นหลัก เริ่มต้นกันที่หุ้น ZIGA ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม มกราคมที่ผ่านมา โดยบริษัทได้แจ้งข้อมูลผ่านตลาดฯรเตรียมเข้าลงทุนในธุรกิจคริปโตเคอเรนครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 ส่งผลให้ราคาหุ้นเริมปรับตัวตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 ราคาปิดที่ระดับ 4.40 บาท โดยราคามันปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องก่อนจะมีข่าวแจ้งตลาดและไม่ทราบสาเหตุการซื้อขายซึ่งผิดปกติไปจากสภาพเดิมโดยทั่ว ๆ ไป

ล่าสุด(14 ก.พ.65) ราคาปิดอยู่ที่ 11.90 บาท นั่นหมายถึงว่านับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 ก่อนการแจ้งข้อมูลตลาดฯ 5 วันทำการ มาจนถึงปัจจุบันราคาปรับตัวขึ้น 170.45% หรือเกือบ 2 เท่าตัว ขณะที่เดียวกันตลาดฯเปิดเผยว่าหุ้นมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยสูงถึง 1,970 ล้านบาทต่อวัน ตลอดช่วงตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์-วันที่ 10 ก.พ. 2565 เอาพีเรียดตรงนี้บวกไปแล้วเกือบ 90% Turnover Ratio เฉลี่ยอยู่ที่ 44% ต่อวัน ตรงนี้ก็ถือว่าสูงมากๆ

ต่อเนื่องไปดูความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น UPA มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยบริษัทแจ้งตลาดเกี่ยวกับธุรกิจคริปโตเคอเรนซี่วานนี้(14 ก.พ.2565) แต่เมื่อสำรวจดูราคาหุ้นนับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ปิดตลาดที่ระดับ 0.35 บาท ราคาขยับขึ้นมาถึงล่าสุด(14 ก.พ.65) ปิดที่ระดับ 0.59 บาท ราคาขยับขึ้นมาถึง 68.57% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 363 ล้านบาท ถ้าไปเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่ในแง่ของมูลค่าการซื้อขายอาจไม่หนาแน่น แต่หากเทียบกับตัวของ UPA ในช่วงที่ผ่านมามูลค่าซื้อขายดังกล่าวถือว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดในแง่ของแวลู่การซื้อขาย

จากนั้นไปดูราคาหุ้น AJA ราคาหุ้นปรับตัวเพียง 2 วัน โดยราคาปิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 อยู่ที่ 0.61 บาท ก่อนที่จะขยับขึ้นมาล่าสุด(14 กุมภาพันธ์ 2565) ปิดที่ระดับ  0.72 บาท เปลี่ยนแปลง 18.03% มูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 2 วัน อยู่ที่ 1.02 พันล้านบาท

ส่วนราคาหุ้น ECF  ราคาปิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 1.78 บาท เทียบราคาปิดล่าสุด (14 กุมภาพันธ์ 2565) อยู่ที่ 2.46 บาท คิดเป็นการเปลี่ยนแปลง 38.20% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 707 ล้านบาท

ทั้งหมดคือภาพภาพความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทั้ง 4 หุ้น ซึ่งมีสตอรี่เรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมไปขุดบิดคอยน์ ส่วน JTS จะขอนำเสนอในครั้งต่อไป แต่ครั้งนี้จะของนำเสนอเรื่องราวของ 4 หุ้นดังกล่าว โดยเฉพาะกรณีราคาหุ้น ZIGA และ ECF ปิดซิลลิ่ง(ราคาสูงสุดของวัน) และ UPA และ AJA ราคาปิดวานนี้ครึ่งซิลลิ่ง จากแนวโน้มราคาหุ้นทั้ง 4 ตัวมาดูความเคลื่อนไหวในเชิงผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา โดยแบ่ง 4 หุ้นดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ

กลุ่มที่ 1 เรียกว่า “หุ้นผีบอกมีคลาส” ในเชิงของผลประกอบการคือ ZIGA และ ECF โดยผลประกอบการ ZIGA รายได้ปี 2561 อยู่ 871 ล้านบาท ปี 2560 อยู่ที่ 795 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 996 ล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 929.82 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 43 ล้านบาท ปี 2562 อยู่ที่ 35.26 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 117.71 ล้านบาท  9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 153.94 ล้านบาท

ส่วนอัตราส่วนที่สำคัญทางการเงิน P/E  หรือ อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น จากงวดสิ้นปี 31 ธันวาคมปี 2564 อยู่ที่ 13.71 เท่า มาจนถึงขณะนี้อยู่ที่ 29.34 เท่า ชัดเจนตัวเทียบคือกำไรสุทธิต่อหุ้น 4 ไตรมาสย้อนหลังยังคงเท่าเดิม แต่ในแง่ของราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ P/E Ratio มีการขยายตัวออกอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน

ด้าน P/BV จากงวดสิ้นปี 31 ธันวาคม ปี 2564 อยู่ที่ 2.79 เท่า มาเป็น 5.97 เท่า มาจนถึงขณะนี้  และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เมื่อสำรวจตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 1.42% แต่เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 พบว่ามีการปันผลสูงถึง 7.84% อย่างไรก็ตามช่วงปี 2562 ราคาหุ้นราคาหุ้นอาจไม่ร้อนแรงและผลประกอบไม่สูงเหมือนปัจจุบัน แต่ช่วงนั้นอาจมีกระแสเงินสดหรือกำไรที่เป็นเงินสดเข้ามามากกว่าจึงทำให้มีการจ่ายปันผลระดับประมาณ 7-8% ก็เป็นไปได้

ด้านผลประกอบการ ECF เป็นหุ้นผีบอกแต่จัดอยู่ในชั้นที่มีคลาสโดยปี 2561 รายได้อยู่ที่ 1,50.053 ล้านบาท ปี 2562 อยู่ที่  1,290.56 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 1,408.90 ล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 1,147.21 ล้านบาท ในส่วนของกำไรสุทธิถือว่าเป็นลักษณะปรับขึ้นปรับลงตามสถานการณ์ โดยปี 2561 อยู่ที่ 33.76 ล้านบาท ปี 2562 อยู่ที่ 40.29 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 41.16 ล้านบาท งวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 35.54 ล้านบาท โดยส่วนอัตราส่วนที่สำคัญทางการเงิน P/E จากงวดสิ้นปี 31 ธันวาคมปี 2564 จนถึงล่าสุดอยู่ที่  46.15 เท่า ด้าน P/BV จากงวดสิ้นปี 31 ธันวาคม ปี 2564 อยู่ที่ 2.79 เท่า จนถึงล่าสุด 5.97 เท่า ส่วนอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ที่ 0.66% และเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 สูงสุด 2.48%

กลุ่มที่ 2 “หุ้นผีบอกแบบ (โนคลาส) ประเภทผลประกอบการลุ่มๆดอนๆ ขาดทุนบ้าง หรือขาดทุนต่อเนื่อง คือ UPA และ AJA โดยประกอบการ UPA รายได้ปี 2561 อยู่ที่ 174 ล้านบาท ปี 62  อยู่ที่ 76.87 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 53.05 ล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 235.89 ล้านบาท ในส่วนกำไรสุทธิปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 173.55 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 63.69 ล้านบาท  ปี 2563 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 84.76 ล้านบาท งวด 9 เดือนปี 2564 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 6.67 ล้านบาท ในแง่ของ P/E  N/A  คือ Not Available เนื่องจากผลประกอบการ 4 ไตรมาสย้อนหลังตัวเลขติดลบ ส่วน P/BV จากงวดสิ้นปี 31 ธันวาคม ปี 2564 อยู่ที่1.59 เท่า ปัจจุบันมาอยู่ที่1.97 เท่า ส่วนอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ที่  N/A ยังไม่มีกำไรเพียงพอจะมาจ่ายเงินปันผลได้

ส่วน AJA ผลประกอบการคล้ายคลึงกันแต่วอลุ่มแน่นกว่า โดยรายได้ปี 2561 อยู่ที่ 638.74 ล้านบาท ปี 2562  อยู่ที่ 399.78 ล้านบาท ปี 2563 อยู่ที่ 361.72 ล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่ 246.10 ล้านบาท ในส่วนกำไรสุทธิปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 186.91 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 370.24 ล้านบาท  ปี 2563 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 132.08 ล้านบาท งวด 9 เดือนปี 2564 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 63.13 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มการขาดทุนลดลงนับแต่ปี 2562 ในแง่ของ P/E  และอัตราเงินปันผลตอบแทน คือ Not Available ยังไม่มีกำไรเพียงพอจะมาจ่ายเงินปันผล

ทั้งนี้เมื่อดูแนวโน้มผลประกอบการหุ้นทั้ง 4 ตัวมีทั้งกลุ่มหุ้นผีบอก ”มีคลาส” และ “โนคลาส” คำถามคือทำไมจะต้องมีข้อมูลดังกล่าวนั้นเพราะราคาหุ้นที่ผ่านมามีทั้งปรับตัวขึ้นร้อนแรง และราคาไปค้างอยู่ครึ่งซิลลิ่ง คำถามแล้วแบบนี้ราคาหุ้นในวันพรุ่งนี้จะต่อไปหรือไม่จึงได้ทำข้อมูลเชิงสรุปออกมา

โดยในบรรดา 4 หุ้นช่วงนี้สตอรี่เด่นๆนั่นคือการเตรียมเข้าไปขุด”คริปโทเคอร์เรนซี”หลักๆเน้นไปที่ บิดคอยน์ ไปดูข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบในเรื่องของจำนวนชุด โดย ZIGA แจ้งตลาดฯจะเริ่มต้นการขุดคริปโตฯด้วยจำนวนชุดขุด 200 เครื่อง ส่วน UPA จำนวน 2000 เครื่องร่วมกับกับพันธมิตรจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่สิงคโปร์โดยถือหุ้นสัดส่วน 25% จากนั้นนำบริษัทร่วมทุนไปขุด บิดคอยน์ ในสปป.ลาว

ด้าน AJ มีจำนวนชุดขดอยู่ 200 กรณีของ ECF เขียนไว้ 80 ล้านบาท เนื่องจากไม่ได้แจ้งเป็นจำนวนเครื่องแต่คิดจากเครื่องขุดประมาณ 5 แสนบาทต่อเครื่อง น่าจะมีอยู่ประมาณ 160 เครื่อง

ทั้งนี้หากมองในแง่ของราคาหุ้นมีความความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตรงนี้น่าสนใจครับถ้าดูราคา ECF และ AJA บวกขึ้นมาได้ 2 วัน แต่จะเอาในแง่ของการบวกแบบจริงจังเริ่มปรับตัวแรงวานนี้ โดยในส่วนของ ECF ราคาบ 2 วัน บวกแล้ว 38.20% ส่วนหุ้น AJA ราคาหุ้น 2 วันบวกไปแล้ว 18.03% เทียบกับกรณีของ ZIGA บวกมาน 6 วัน พุ่งขึ้น 143.85% ส่วนหุ้น UPA  7 วันบวกมาแล้ว 68.57%

ในด้านผลประกอบการ ZIGA ต้องยอมรับเขาเป็นหุ้นกลุ่มผีบอกแบบมีคลาส ธุรกิจเติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วน ECF จัดอยู่ในกลุ่ม มีคลาสเช่นเดียวกันผลประกอบการทรงตัว ขณะที่ UPA ผลประกอบการในช่วงหลายปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าเป็นกลุ่มโนคลาสและหากยังจำได้เดิมหุ้นรายนี้คือ CYBER และแม้ว่าผลประกอบการงวด 9 เดือนปี  2564 จะมีสัญญาณ “เทิร์นอะราวด์” แต่ยังคงต้องเฝ้าจับตาว่าจะยั่งยืนหรือไม่ ขณะเดียวกัน AJ แนวโน้มผลประกอบการคือขาดทุนต่อเนื่องได้แต่โชคดีเป็นการขาดทุนต่อเนื่องที่ลดลง

นอกจากนี้หากไปดูตัวชี้วัดในเบื้องต้นถึงแนวโน้มทิศทางราคาหุ้นเหล่านี้จะเป็นอย่างไรต่อไปนั่นคือระดับการสร้างบาดแผลทางจิตใจต่อนักลงทุน สำหรับระยะในการสร้างบาดแผลทางจิตใจตรงนี้คืออะไรคงต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ว่าหุ้นเหล่านี้เคยฝากผลงานชิ้นโบว์ดำอะไรเอาไว้บ้าง

ไปดู ZIGA ยังถือว่าจัดอยู่ในระดับต่ำในเรื่องการสร้างบาดแผลทางจิตใจไปดู ECF  ระดับปานกลางราคาปรับลงมาต่อเนื่องแต่ก็ไม่ได้แรงหากจับรอบถูกจังหวะถูกก็ยังมีโอกาสทำกำไรได้ ในกรณีของ UPA กับ AJA ต้องบอกประวัติศาสตร์มันยาวนาน ผลงานชิ้นโบว์ดำมันเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกมหุ้น

นอกจากนี้มูลค่าการซื้อขายล่าสุด(14 ก.พ.65)คงจะเป็นตัวชี้วัดสุดท้ายที่จะเป็นตัวชี้วัดสุดท้ายว่าหุ้นมันแห้งหรือมันยังชุ่มชื้นหรือสดในราย AJA มูลค่าซื้อขาย 1.98 พันล้านบาท ส่วน ECF วานนี้มูลค่าซื้อขาย 1.07 พันล้านบาท ด้าน ZIGAบวกมาหลายวันแต่มูลค่าซื้อขายวานนี้ 1.86 พันล้านบาท เช่นเดียวกับ UPA ซื้อขายวานนี้ 1.44 พันล้านบาท

ถามว่าหุ้นไหนจะไปต่อหรือมันจะไปต่อทั้งหมดหรือไม่คำตอบคือไม่ทราบแต่ด้วยข้อมูลตรงนี้นักลงทุนก็ลองนำไปพิจารณาประกอบการลงทุนการตัดสินใจในวันนี้หรือวันต่อๆไปกันให้ดีทั้งหมดนี้นี้เป็นข้อมูล “หุ้นผีบอกขวัญใจสายขุด” ได้แก่ ZIGA, ECF, UPA ,AJA

Back to top button