
LIT พุ่งชนซิลลิ่ง! หลัง Q1 พลิกมีกำไร 3 ล้าน รับพอร์ตสินเชื่อโต-รายได้พุ่ง
LIT บวกแรง 29% ชนซิลลิ่ง! รับข่าวดีไตรมาส 1/68 พลิกมีกำไรสุทธิ 3.22 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนกว่า 26 ล้านบาท หลังพอร์ตสินเชื่อโต 6.5% ดันรายได้รวมพุ่งแรงถึง 76% หนุนดีมานด์สินเชื่อกลุ่มลูกค้า SMEs คู่ค้าภาครัฐฟื้นตัวชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ ( 14 พ.ค.68) ราคาหุ้น บริษัท ลีซ อิท จำกัด (มหาชน) หรือ LIT ณ เวลา 15:23 น. อยู่ที่ระดับ 0.72 บาท บวก 0.16 บาท หรือ 28.57% สูงสุดที่ระดับ 0.72 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 0.56 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 2.22 ล้านบาท
โดยบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2568 พบว่าพลิกมีกำไรสุทธิ ดังนี้
บริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/68 พลิกมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.22 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 26.91 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากพอร์ตสินเชื่อรวมของบริษัทฯ อยู่ที่ 1,446 ล้านบาท เติบโต 6.50% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 67 ส่งผลทำให้รายได้รวมเติบโดที่ 76% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากความต้องการใช้สินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นคู่ค้าภาครัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากภาครัฐมีการทยอยเบิกจ่ายงบประมาณปี 68 เพื่อเร่งส่งเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังคงเน้นการสร้างการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อควบคู่กับการค้าคัดกรองคุณภาพภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมโดยมีสัดส่วนของ NPL Rato สำหรับสินเชื่อโหมในปี 68 อยู่ภายได้กรอบที่ไม่เกิน 3% ซึ่งเป็นผลจากการรักษาคุณภาพลูกหนี้ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ หากจำแนกการเติบโตจะพบว่า บริษัทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 18.20 ล้านบาท หรือ 76% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งเกิดจากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้คำธรรมเนียมและบริการเพิ่มสงขึ้นเนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อจาก SME ที่เป็นคู่ค้ากับภาครัฐปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนรายได้ดอกเบี้ยไตรมาส 1/68 เพิ่มขึ้น 11.80 ล้านบาท หรือคิดเป็น 76.20% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากสินเชื่อระยะสั้นเป็นหลัก สำหรับรายได้ดอกเบี้ยจากการขายผ่อนชำระ เพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาทจากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากจำนวนลูกค้าและคู่ค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ มีปริมาณการปล่อยสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากลูกค้าที่เป็นคู่ค้าภาครัฐมีรายการค้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พอร์ตสินเชื่อใน Stage 1 ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการรับซื้อสิทธิเรียกร้อง (Factoring) และสัญญาเงินกู้ยืม (Project Backup Financing)