โล่ง เจ้าหน้าที่ยันไม่พบสารเคมีรั่วไหล ซ.พหลโยธิน 24

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีการพบสารเคมีอันตรายบริเวณ ซ.พหลโยธิน 24 ล่าสุด ตรวจสอบแล้วไม่มีการรั่วไหล และไม่ใช่กัมมันตรังสี โคบอลต์ 60 แต่เป็นสารซีเซียม-137


ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีการพบสารเคมีอันตรายบริเวณ ซ.พหลโยธิน 24 ล่าสุดตรวจสอบแล้วไม่มีการรั่วไหล และไม่ใช่กัมมันตรังสี โคบอลต์ 60 แต่เป็นสารซีเซียม-137

ทวิตเตอร์ศูนย์อัมรินทร์ แจ้งความคืบหน้าเวลา 16.22 น. ว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ใช้เครื่องวัดค่ากัมมันตภาพรังสีแล้วไม่พบการรั่วไหล ส่วนสารที่พบนั้นไม่ใช่สารโคบอลต์ 60 แต่เป็นสารซีเซียม-137

 

ด้านเว็บไซต์สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียมซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรงแบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาทีซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)

โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งมีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนักเนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีเกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยากจึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่านอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้วยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่าการนำมาใช้งาน เราจะพบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้นเครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน

ทั้งนี้มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ไม่มากนัก ถ้าปริมาณน้อยๆ จะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็งรวมทั้งใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุเครื่องวัดการไหลของของเหลว

 

photo2

ข้อมูลและรูปประกอบข่าวจาก: www.kapook.com

X
Back to top button