AIS สายเลือดใหม่.!

การเดินหมากรุกธุรกิจทุกตัวของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ในฐานะเบอร์หนึ่งธุรกิจโทรคมนาคมไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ธุรกิจ “Digital Life Service Provider : ผู้ให้บริการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตดิจิทัล” กลายเป็นสิ่งที่ต้องจับตามากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ 3 ด้าน ปี 2017 ที่ตอกย้ำการเป็น  Digital Life Service Provider ได้แก่...


พลวัตปี 2017 : วิษณุโชลิตกุล

การเดินหมากรุกธุรกิจทุกตัวของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ในฐานะเบอร์หนึ่งธุรกิจโทรคมนาคมไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ธุรกิจ “Digital Life Service Provider : ผู้ให้บริการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตดิจิทัล” กลายเป็นสิ่งที่ต้องจับตามากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ 3 ด้าน ปี 2017 ที่ตอกย้ำการเป็น  Digital Life Service Provider ได้แก่…

1)ยกระดับเครือข่ายไปอีกขั้นสู่ Next G Network (Next Generation) นั่นคือ พัฒนาเครือข่ายทั้ง Mobile, Super Wifi และ Fix Broadband จากเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ก้าวสู่ “เครือข่าย Digital ที่รองรับการใช้งานระดับกิกะบิท” (Gigabit Network) พร้อมรองรับการก้าวสู่ 5G เป็นรายแรก และเครือข่ายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัฒนาสู่ Narrowband IoT มาตรฐานระดับโลก รองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ที่ทยอยเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย

2)จัดเต็ม Digital Service สุด Exclusive จากความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก นั่นคือ สุดยอด Digital Content ที่จัดมาเพื่อลูกค้าเอไอเอสแบบ Exclusive อาทิ FOX, HBO, NBA พร้อม Chromecast มอบสาวกคอบันเทิงชาวไทย และจับมือไมโครซอฟท์ นำ Business Cloud เต็มรูปแบบยกระดับธุรกิจไทยด้วยมาตรฐานระดับโลก

3.ประกาศแนวคิด AIS Digital For Thais นั่นคือ นำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสนับสนุนความแข็งแกร่ง สร้างโอกาสใหม่ๆ แก่กลุ่มรากฐานหลักของประเทศ อาทิ เกษตรกรรม, ผู้ประกอบการ OTOP, สาธารณสุข, การศึกษา และ Digital Start Up

เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ข้างต้น AIS หนึ่งในกลยุทธ์ที่ต้องทำ คือ การปรับโครงสร้างภายในองค์กร ให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ยึดติดกับ “กับดักความสำเร็จ” ของผู้บริหารในอดีต ที่ถือเป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่งกับองค์การที่ต้องการรักษาความเป็นที่หนึ่งไว้

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรที่สำคัญของ AIS ครั้งนี้ คือ การลดระบบ Hierarchy หรือการลดระบบ “ลำดับขั้น” นั่นเอง..

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไป มีคนรุ่นใหม่ Gen Y เข้ามาร่วมงานมากขึ้น จน Gen Y กลายเป็นกลุ่มใหญ่สุดของ AIS ไปแล้ว และ Gen Z ที่เพิ่งจบการศึกษากำลังเข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น ปัจจุบันบุคลากร AIS กว่า 70% เป็น Gen Y ส่วน Gen X มี 28% และอีก 2% เป็น Baby Boomers

ทั้งกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มีความรู้ความสามารถครบเครื่องจากการเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถค้นหาและเรียนรู้ได้ทันที หากแต่กลุ่มนี้มีทางเลือกมากมาย ทำให้ไม่มีความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งมากนัก

“คนรุ่นใหม่” เหล่านี้มีความเชื่อว่าควรได้รับการดูแลที่เท่าเทียมกัน ฉะนั้นเรื่อง Hierarchy อาจไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่เชื่ออีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่นจากเดิมการสื่อสารภายในต้องคุยตามระบบ Hierarchy ตั้งแต่ซีอีโอลงมาเป็นลำดับขั้น แต่นับจากนี้สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับ AIS คือระบบ Hierarchy ในองค์กรจะลดลง

อีกสิ่งหนึ่งที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของ AIS คือ การเลื่อนลำดับชั้น จะไม่ได้ใช้อายุงานเข้ามาเป็นปัจจัยหลัก แต่ความสำคัญกับประสิทธิภาพ (Performance) ดังนั้นไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก มีโอกาสเท่ากัน แต่หากสุดท้ายมี 2 คน 1 ตำแหน่ง ทั้ง 2 คน โอกาสถึงจะเป็นของคนที่มาก่อน

อย่างไรก็ดี Hierarchy อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กร ช่วงรอยต่อของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

Back to top button