THANI-AMANAH กลยุทธ์ ‘กักตุนเสบียง’

ทิศทาง “ดอกเบี้ยขาขึ้น” ทำให้ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อหรือเช่าซื้อ..ต้องบริหารจัดการต้นทุนและสะสมเสบียงเงินสด เพื่อบริการลูกค้าอย่างเพียงพอ..เพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่องการระดมทุนใหม่ ในต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น จนนำไปสู่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) แคบลง..!!


สำนักข่าวรัชดา

ทิศทาง “ดอกเบี้ยขาขึ้น” ทำให้ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อหรือเช่าซื้อ..ต้องบริหารจัดการต้นทุนและสะสมเสบียงเงินสด เพื่อบริการลูกค้าอย่างเพียงพอ..เพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่องการระดมทุนใหม่ ในต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น จนนำไปสู่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) แคบลง..!!

แต่ด้วยเงื่อนไข “หุ้นดีต้องมีปันผล” จึงทำให้การ “เก็บเงินสดไว้” กับ “จ่ายเงินปันผล” เป็นเรื่องที่ต้องขบคิดหนัก..!

ล่าสุด “บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI” และ “บริษัท บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMANAH” แลกใช้กลยุทธ์ “กักตุนเสบียงเงินสด” ด้วยการจ่ายปันผลเป็นหุ้น..แทนการจ่ายปันผลเป็นเงินสดอย่างที่เคยเป็นมา..

โดย THANI จ่ายปันผลเป็นหุ้นอัตราส่วน 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล (ขึ้น XD 7 มี.ค. 2562) ส่วน AMANAH จ่ายปันผลเป็นหุ้นอัตราส่วน 15 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล (ขึ้น XD 5 มี.ค. 2562)

ในแง่ข้อดี ทั้ง 2 บริษัท สามารถเก็บเงินสดไว้เพื่อรองรับการปล่อยกู้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกู้เงินจำนวนมากหรือออกหุ้นมากจนเกินไป เพื่อนำมาปล่อยกู้ในอนาคต เพราะนั่นหมายถึงภาระต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ส่วนต่างกำไรน้อยลง

แม้ว่าทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงินก็ตาม..!!

แต่ข้อเสีย..เมื่อปันผลเป็นหุ้น สิ่งที่มาพร้อมกันคือ “การเพิ่มทุน” และเมื่อมีการเพิ่มทุนทุกครั้ง “ไดลูชั่น” จะเกิดขึ้นทันที..เพราะนั่นหมายถึงตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) จะลดลงตามสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มขึ้น..! ราคาหุ้นในกระดานก็จะได้รับผลกระทบเชิงลบเช่นกัน..!!

คำถามจึงอยู่ที่ว่า..รับปันผลเป็นหุ้น..จะคุ้มกับ “ไดลูชั่น” ที่เกิดขึ้นหรือไม่..!?

จึงต้องขึ้นอยู่กับว่า..ทั้ง 2 จะเบ่งกำไรเพิ่มขึ้น..เพียงพอต่อการ “หักล้างไดลูชั่น” ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่

กรณี THANI ว่ากันตามทฤษฎีจะเกิดไดลูชั่นประมาณ 25% นั่นเท่ากับว่า THANI ต้องทำกำไรเพิ่มขึ้น 25% เพื่อชดเชยไดลูชั่น..ที่เกิดขึ้น

แต่..ดูจากการเติบโตของกำไรสุทธิ 1-2 ปีที่ผ่านมา THANI เติบโตเฉลี่ย 30-40% เท่ากับว่าการรับหุ้นปันผลครั้งนี้ถือว่าคุ้มค่าเลยทีเดียว

กรณี AMANAH ตามทฤษฎีจะเกิดไดลูชั่นไม่ถึง 10% เทียบกับตัวเลขกำไรที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา..การรับหุ้นปันผลครั้งนี้ถือว่าคุ้มค่าเช่นเดียวกัน

การจ่ายปันผลเป็นหุ้น 2 บริษัทที่ว่า..ถือเป็นกลยุทธ์ “กักตุนเสบียง” เพื่อรับศึกธุรกิจ “สินเชื่อหรือเช่าซื้อ” ปีนี้อย่างน่าสนใจ..!!

งานนี้..ใคร “คุมต้นทุนได้ดี” นั่นหมายถึง “มาร์จิ้นที่ดี” ตามมาด้วยเช่นกัน

เชื่อว่าผู้ถือหุ้นเอง..น่าจะเข้าใจได้ดี..!?

…อิ อิ อิ…

Back to top button