TRUE–DTAC ความเหมือนที่แตกต่าง..!?

ชัดแล้ว !! 3 ค่ายสื่อสาร นำโดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC พร้อมใจเข้ารับจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ที่มีต้นทุนชุดละ 17,584 ล้านบาท ใบอนุญาตอายุ 15 ปี แบ่งงวดชำระเงินเป็น 10 งวด 10 ปี


สำนักข่าวรัชดา

ชัดแล้ว !! 3 ค่ายสื่อสาร นำโดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC พร้อมใจเข้ารับจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ที่มีต้นทุนชุดละ 17,584 ล้านบาท ใบอนุญาตอายุ 15 ปี แบ่งงวดชำระเงินเป็น 10 งวด 10 ปี

เพื่อแลกกับการยืดชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz จากเดิม 5 ปี 4 งวด เป็น 10 ปี 10 งวด…

งานนี้ทำเอา กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)  ได้หน้าไปเต็ม ๆ เพราะได้เงินกว่า 56,000 ล้านบาท นำไปชดเชยทีวีดิจิทัล 36,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือกว่า 20,000 ล้านบาท นำส่งเข้ารัฐ

ในบรรดา 3 ค่ายสื่อสาร TRUE (ในฐานะคนต้นคิดเสนอให้ใช้ ม.44 ยืดค่าไลเซนส์) ได้ประโยชน์มากสุด ปลดล็อกต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญ

จากเดิมปี 2563 TRUE จะต้องชำระค่าคลื่น 900 MHz สูงถึง 64,000 ล้านบาท เหลือแค่ 23,000 ล้านบาท และในปีถัด ๆ ไป จะจ่ายแค่ 8,000 ล้านบาท ทำให้ภาระลดลง

หาก TRUE ต้องจ่ายหนี้ 64,000 ล้านบาท อาจมีข้อจำกัดในการก่อหนี้เพิ่ม แต่ถ้าจ่ายแค่ 23,000 ล้านบาท จะทำให้ผ่อนปรนมากขึ้น สามารถไปก่อหนี้เพิ่มเพื่อนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นได้

รวมทั้งแรงกดดันต้นทุนดอกเบี้ยก็จะน้อยลง…

ส่วน ADVANC เดิมปี 2563 ต้องชำระค่าคลื่น 900 MHz ถึง 63,000 ล้านบาท จะเหลือแค่ 23,000 ล้านบาทเช่นกัน

ซึ่งในปีหน้าเป็นอีกหนึ่งปีที่ ADVANC จะรุกตลาดไฟเบอร์ออฟติกผ่าน AIS Fiber จึงต้องใช้เงินลงทุนสูง

ดังนั้น การที่ ADVANC มีภาระจ่ายหนี้ค่าไลเซนส์น้อยลง ทำให้สามารถผันเงินส่วนต่าง 40,000 ล้านบาท ไปลงทุน AIS Fiber และอย่างอื่นแทน

ที่สำคัญ ช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายในช่วงปี 2563-2566 ได้ประมาณ 400-1,800 ล้านบาทต่อปีเลยนะ

ในขณะที่ TRUE และ ADVANC ยิ้มรับกับภาระที่เบาตัวลง ฟาก DTAC อาจนอนน้ำตาตกใน…

เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น จากเดิมปี 2563 ต้องชำระค่าคลื่น 900 MHz แค่ 2,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,000 ล้านบาท

มีเงินส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นถึง 4,000 ล้านบาท…

นั่นอาจทำให้ตึงตัวด้านสภาพคล่องหรือไม่ ??

นี่ไม่นับรวมกับที่ DTAC อยู่ในช่วงการลงทุนโครงข่ายคลื่น 900 MHz ที่เพิ่งประมูลได้มาเมื่อปี 2561 รวมทั้งต้องไปลงทุนในคลื่น 2300 MHz ร่วมกับ ทีโอทีด้วย

อาจทำให้ DTAC เจอแรงกดดันเรื่องการเงิน !!

นักวิเคราะห์คาดว่า จากกรณีนี้จะเกิด downside ต่อประมาณการกำไรปี 2563-2564 ประมาณ 5-6% ต่อปี

ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนจึงพากันขายหุ้นทิ้ง…

ส่งผลให้ราคาหุ้น DTAC วันพุธที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา รูดหนัก 2.88% โดยปิดตลาดที่ระดับ 50.50 ปรับลดลง 1.50 บาท

ก่อนที่ราคาจะฟื้นตัวในวันถัดมา

แต่…ถ้า DTAC ไม่เข้ารับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ก็อาจตกขบวน…เสียโอกาสทางธุรกิจในการให้บริการ 5G

DTAC จึงต้องรับภาวะจำยอม…เข้ารับจัดสรรคลื่น 700 MHz อย่างเสียมิได้

ช่างน่าสงสารซะจริง..!!

…อิ อิ อิ…

Back to top button