CPALL ต่อลมเติบโต.!

ช่วงที่ผ่านมาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ถูกมองว่าการขยายสาขาจะถดถอยลง เนื่องจากเปิดครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว จึงทำให้การเติบโตของสาขาน้อยลง...ซึ่งที่ผ่านมา CPALL โตไปตามจำนวนสาขาที่เพิ่มมากขึ้น ช่วงหนึ่งมีศักยภาพในการขยายสาขาถึงปีละ 1,000 -2,000 สาขา หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 700 สาขา


สำนักข่าวรัชดา

ช่วงที่ผ่านมาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ถูกมองว่าการขยายสาขาจะถดถอยลง เนื่องจากเปิดครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว จึงทำให้การเติบโตของสาขาน้อยลง…ซึ่งที่ผ่านมา CPALL โตไปตามจำนวนสาขาที่เพิ่มมากขึ้น ช่วงหนึ่งมีศักยภาพในการขยายสาขาถึงปีละ 1,000 -2,000 สาขา หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 700 สาขา

พอสาขาใหม่น้อยลง การเติบโตของ CPALL ก็ไม่หวือหวาเหมือนในอดีต…

ขณะที่ขีดจำกัดการเติบโตของสาขาเดิมก็น้อยลง ซึ่งที่ผ่านมา CPALL พยายามสร้างแวลู่ ด้วยการหาบริการใหม่ ๆ เข้ามาเสริม ไม่ว่าจะเป็นบริการขนส่งพัสดุด่วน SPEED-D (สปีด-ดี), บริการถ่ายเอกสารสีและเอกสารขาวดำ, บริการรับซักผ้า อบ และรีด รวมถึงรับซักแห้งแบบระยะเวลาเร่งด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ส่วนธุรกิจที่เคยเป็นตัวทำเงินให้กับ CPALL อย่างเคาน์เตอร์เซอร์วิสก็เจอกระแสดิสรัปชั่น ถูกแบงก์พาณิชย์หันมาทำสงครามฟรีค่าธรรมเนียมธุรกรรมบนโมบายล์แบงกิ้ง ทำให้จากเดิมกินมาร์จิ้นสูง ๆ (คิดค่าบริการชำระบิล 15 บาทต่อบิล) แต่ต้นทุนต๊ำต่ำ (ลงทุนแค่ซอฟต์แวร์ครั้งเดียว) รายได้หายไป

ดังนั้น โจทย์ของ CPALL ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็ไม่ต่างจากการนั่งกินบุญเก่า รอวันเหี่ยวเฉา…

ซ้ำร้ายนาน ๆ ไปจะเจอค่าเสื่อมของสาขาเดิม กลายเป็นภาระต้นทุนที่ต้องแบกรับอีก

การได้สิทธิ์แฟรนไชส์จาก 7-Eleven, Inc. ในการจัดตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศกัมพูชา เป็นเวลา 30 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 20 ปี

จึงเป็นการต่อลมการเติบโตของ CPALL..!!

โดยจะดำเนินการภายใต้บริษัทลูก CP ALL (Cambodia) Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามกฎหมายกัมพูชา มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5,000 เหรียญสหรัฐ

ก็เป็นไปได้ว่า CPALL อาจใช้โมเดลเดียวกับในเมืองไทย ที่บริษัทเปิดสาขาเองควบคู่กับการขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนท้องถิ่นที่สนใจ…เท่ากับว่า อย่างน้อย ๆ ก็มีโอกาสเห็นการ Growth ของบริษัทลูก ช่วยปลดล็อกตลาดบ้านเราที่เติบโตน้อยลง แต่จะโตแบบก้าวกระโดดในตลาดต่างประเทศแทน

โอเค…แม้ในระยะสั้น ช่วง 1-2 ปีแรกจะเป็นช่วงของการลงทุน ขยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความเสี่ยงสูงจากความแตกต่าง ด้านวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และด้านกฎหมาย แต่จะส่งผลดีต่อ CPALL ในระยะยาว

ขณะที่กัมพูชามีประชากร 16 ล้านคน มีร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศราว 100 ร้านค้า ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ จึงมีโอกาสเติบโตอีกมาก แถมยังไม่มีเจ้าตลาดอย่างชัดเจน

ที่สำคัญ หากมองข้ามช็อตไปที่ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย…

ในส่วนของ MAKRO ซึ่งมีสาขาที่กัมพูชาอยู่แล้ว ก็จะเป็นดิสทริบิวชั่น หรือเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับร้านเซเว่นฯ ได้ จะทำให้ MAKRO มีมูลค่ามากขึ้น ฟาก CPF ก็สามารถขายของสดและอาหารแช่แข็งผ่านช่องทางร้านเซเว่นฯ ในกัมพูชาได้เช่นกัน

อ้อ…อีกรายที่น่าจะได้ประโยชน์จากดีลนี้…เห็นจะเป็นบริษัท ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TACC ผู้ผลิตเครื่องดื่มในโถกดในร้านเซเว่นฯ พันธมิตรที่ดีของ CPALL นั่นเอง

แหม๊…ดีลนี้นี่ได้ประโยชน์ยกแผงจริง ๆ

…อิ อิ อิ…

Back to top button