สายสีเขียว ‘ยิ่งยืดเยื้อ..ยิ่งเสียหาย.!’

สุดท้ายวาระ “การต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว..เพื่อแลกหนี้ 120,000 ล้านบาท” ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยกระทรวงมหาดไทย หมายมั่นปั้นมือจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา มีอันต้องคว้าน้ำเหลวอีกรอบ เมื่อกระทรวงคมนาคม, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายในภาคประชาชน ที่ร่วมกันเฉพาะกิจ เล่นบท “แยกกันเดินร่วมกันตี” ออกมาโหมโรงคัดค้านผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ก่อนประชุมครม.เพียงไม่กี่วัน..


เมกะเทรนด์ : สุภชัย ปกป้อง

สุดท้ายวาระ “การต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว..เพื่อแลกหนี้ 120,000 ล้านบาท” ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยกระทรวงมหาดไทย หมายมั่นปั้นมือจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา มีอันต้องคว้าน้ำเหลวอีกรอบ เมื่อกระทรวงคมนาคม, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายในภาคประชาชน ที่ร่วมกันเฉพาะกิจ เล่นบท “แยกกันเดินร่วมกันตี” ออกมาโหมโรงคัดค้านผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ก่อนประชุมครม.เพียงไม่กี่วัน..

โดยกระทรวงคมนาคม ที่เปิดหน้าคัดค้านก่อนหน้านี้ ชนิดที่เรียก “มึงเสนอเข้า..กูไม่เอาด้วย” แต่ใช้กลวิธีส่งส.ส.ลูกพรรคภูมิใจไทย นัยยะว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ที่เสมือนแผ่นเสียงตกร่องที่เราท่านก็รู้กันดีอยู่แล้ว..

“อัตราค่าโดยสารที่กำหนด ตามร่างสัญญาที่ 65 บาทตลอดสายสูงเกินไป ยิ่งในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมอยู่แค่ 25 บาทตลอดสาย แถมทำให้กทม.มีกำไรกว่า 23,000 ล้านบาท”

เอาแค่ปัญหาเฉพาะหน้ากับหนี้ค่าจ้างเดินรถ 30,000 ล้านบาท ที่กทม.พึงมีกับกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กลับไม่ถูกหยิบยกขึ้นพูดถึงหรือว่าหาทางออกกันอย่างไร นี่ยังไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย (จากการผิดนัดชำระ) ปีละเฉลี่ยกว่า 2,200 ล้านบาท  ทั้งกระทรวงคมนาคมและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็ไม่เห็นมีทางเลือกหรือทางออกให้กระทรวงมหาดไทยและกทม.แต่อย่างใด

เช่นเดียวกับหนี้งานวางระบบรถไฟฟ้าและดอกเบี้ยจ่าย ที่จะทยอยครบดีลและค่าจ้างเดินรถช่วงระยะ 8-9 ปี ข้างหน้าก่อนสัญญาสัมปทานสายสีเขียวหลัก ที่จะสิ้นสุดลงปี 2572 ประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท ก็ไม่เห็นมีทางเลือกอื่นใดออกมาเช่นกัน

จากปัญหาที่ไร้ทางออก..กลุ่ม BTS ในฐานะบริษัทมหาชน มีผู้ถือหุ้นทั้งนักลงทุนและประชาชนทั่วไป ไม่มีทาง เลือกที่ต้องใช้สิทธิ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว อย่าลืมว่ากลุ่ม BTS เคยผ่านบทเรียน “แบกหนี้ท่วมหัว” จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการมาแล้ว

เมื่อถึงจุดนั้น..หากเกิด “ค่าโง่สายสีเขียว” รัฐบาลหนีไม่พ้นต้องนำเงินจากภาษีของประชาชน ไปชำระค่าเสียหายให้กลุ่ม BTS เฉกเช่นเดียวกับ “ค่าโง่โฮปเวลล์” ที่รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมมิใช่หรือ.!? ที่เดินเข้าสู่ “หมากตาจน” ให้เห็นเป็นประจักษ์กันมาแล้ว

เรื่องนี้จึงย้อนกลับมาที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลหนี ไม่พ้นต้องตัดสินใจแล้วว่าจะหาทางออกเรื่องนี้อย่างไร.? จะยืนหยัดตามกระทรวงมหาดไทยคือ การต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวอีก 30 ปี แลกกับการปลดเปลื้องภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาท (ภายใต้ค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย)

หรือหากปัญหาค่าโดยสาร 65 บาท มันทำให้นายกรัฐมนตรี เกิดอาการ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” เป็นไปได้หรือ ไม่ว่า..ให้กทม.เพิ่มเงื่อนไขปรับลดค่าสัมปทานสายสีเขียวลงสัก 70% หรือ 50% น่าจะทำให้เงื่อนไขค่าโดยสาร 65 บาท เกิดความยืดหยุ่นลงต่ำกว่า 65 บาท ก็ดูจะมีทางเป็นไปได้..

มาถึงวันนี้ไม่ว่าทางเลือกไหน..รัฐบาลจำเป็นต้องเลือกแล้ว..เพราะขืนปล่อยให้ยืดเยื้อไปนาน..ยิ่งทำให้เกิดความ เสียหายมากขึ้น..ที่สำคัญ “ประชาชนคนเดินทาง” ต้องพลอยเสียโอกาสไปด้วย..!!

Back to top button