‘สายสีม่วงใต้’ เริ่มโชยกลิ่น.!?

คืบคลานมาอย่างเงียบ ๆ สบจังหวะที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีการขับเคลื่อนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเงื่อนไขการประมูล..ที่กำลังโชยกลิ่นส่อความไม่ชอบมาพากล อาจซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายสีส้มดั่งเช่นที่ผ่านมา


คืบคลานมาอย่างเงียบ ๆ สบจังหวะที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีการขับเคลื่อนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเงื่อนไขการประมูล..ที่กำลังโชยกลิ่นส่อความไม่ชอบมาพากล อาจซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายสีส้มดั่งเช่นที่ผ่านมา

“โครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แยกเป็นระบบงานโยธา 78,813 ล้านบาท ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท การก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,582 ล้านบาท

ล่าสุดรฟม. ออกประกาศประกวดราคาก่อสร้างระบบงานโยธา วงเงิน 78,813 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนดขายซองตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-7 ต.ค. 64 และมีกำหนดให้เอกชนเข้ายื่นซองข้อเสนอวันที่ 8 ต.ค. 64 โดยนอกเหนือจากการแบ่งเนื้องานโครงการออกเป็น 6 สัญญาแล้ว มีการกำหนดเงื่อนไขการพิจารณาเพิ่มเติมที่ผิดแผกแตกต่างไปจากการประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์อื่น ๆ ด้วย

ทั้ง 6 สัญญาโครงการนี้ ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.9 กม.และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 18,574.868 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ระยะทาง 2.3 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 15,155 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ระยะทาง 3.1 กม.และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,452.35 ล้านบาท

สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทาง 4 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,337 ล้านบาท สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน พร้อมอาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร ราคากลาง 12,769 ล้านบาท และสัญญาที่ 6 งานออก แบบและก่อสร้างวางระบบรางรถไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทาง ราคากลาง 3,423 ล้านบาท)

จุดที่น่าสนใจไม่ใช่เรื่องการตัดแบ่ง 6 สัญญา แต่มันไปอยู่ตรงที่มีการ กำหนดเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะการประมูลแต่ละสัญญาจากข้อเสนอด้านเทคนิค และราคาประกอบกันสัดส่วน 30-70% ที่เสมือนแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 142,700 ล้านบาท ของรฟม.เลยก็ว่าได้

ด้วยเหตุผลที่ว่า “โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เป็นโครงการใหญ่ ที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง ในการก่อสร้าง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีศักยภาพ”

ว่าไปแล้ว..การประมูลด้วยเงื่อนไขที่เคยยึดถือปฏิบัติกันมา บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่จะผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคได้ต้องมีคะแนนประเมินด้านเทคนิค แต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 80 คะแนนและคะแนนรวมด้านเทคนิคต้องไม่ต่ำกว่า 85 คะแนน ถือเป็นเกณฑ์พิจารณาที่เข้มข้นอยู่แล้ว

กรณีรฟม.กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ด้วยการทอนคะแนนด้านเทคนิคที่ได้ลงมาเหลือ 30 คะแนนแล้วไปพิจารณาข้อ เสนอทางการเงินประกอบอีก 70% ดูย้อนแย้งกับเหตุแห่งการปรับเกณฑ์ใหม่ที่ว่า “โครงการใหญ่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง”

ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า มีเจตนาให้ออกมาเอื้อกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใดรายหนึ่งหรือไม่เพราะอาจกลายเป็นการเปิดช่องให้ “กรรมการคัดเลือก” สามารถบวกเพิ่มคะแนนให้บริษัทรับเหมาสร้างรายใดรายหนึ่งก็เป็นได้

บทเรียนจากการกำหนดเงื่อนไขประมูลดังกล่าว ได้สร้างปัญหาให้รฟม.มาแล้ว จากกรณีการประมูลโครงการรถ ไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จนถูกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หนึ่งในผู้เข้าประมูลยื่นฟ้องต่อศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ อันสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกำหนดเงื่อนไขที่ถูกร้องว่าไม่โปร่งใส เต็มไปด้วยความย้อนแย้งหลายด้าน จนทำให้เกิดความล่าช้ามาจนถึงทุกวันนี้..!?

สุดท้ายต้องกลับมาสู่จุดเริ่มต้นที่ว่า..การกำหนดเงื่อนไขประมูลครั้งนี้ “มีธงหรือไม่” หรือมีแรงผลักดันจากใครหรือไม่เท่านั่นเอง.. !?

Back to top button