หุ้นค้าปลีกไม่สะดวกขาย-ซื้อ

จากมาตรการควบคุมของ “ศบค.” ประเมินแนวว่าโน้มหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอาจได้รับผลกระทบในระยะสั้น โดยผลประกอบการในไตรมาส 3/64 คาดได้รับผลกระทบเชิงลบ


เส้นทางนักลงทุน

ประเด็นสำคัญจากมาตรการควบคุมของ “ศบค.” ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 20 ก.ค. 2564 และจะมีผลอย่างน้อยจนกระทั่งวันที่ 3 ส.ค. 2564 สำหรับมาตรการควบคุมโดยสรุป

  1. ศบค.ประกาศมาตรการควบคุมในการขยายเวลามาตรการควบคุมจนกระทั่งอย่างน้อยสิ้นเดือน ก.ค.
  2. รายละเอียดในราชกิจจาฯ เพิ่มบางพื้นที่เป็นพื้นที่สีแดงเข้มและแดง รวมถึงการเคอร์ฟิวที่เข้มงวดขึ้น, การลดชั่วโมงการดำเนินงาน, และจำกัดธุรกิจที่ดำเนินงานใน “ห้างฯ, ศูนย์การค้า, คอมมูนิตี้ มอลล์” ให้เหลือเพียงซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านยา
  3. ธุรกิจนอกห้างสรรพสินค้าจะสามารถดำเนินงานตามหลักความจำเป็น และตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ จากมาตรการดังกล่าวได้หยิบยกข้อมูลจาก บล.กรุงศรี ที่ประเมินสถานการณ์จะมีผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงซึ่งเกิดกับร้านค้าภายในศูนย์การค้า (เช่น Central, BIGC, Tesco Lotus, The Mall, market villages ของ HMPRO) ต้องหยุดทำการชั่วคราว

แบ่งเป็นการกระทบในเชิงลบมากต่อ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ร้านค้าต้องปิดทำการร้านในศูนย์การค้า ต่อมาผลกระทบเชิงลบกลาง บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO ที่มีรูปแบบสาขาแยกเป็นส่วนใหญ่ แต่จะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการใช้จ่ายที่แย่ลง

ขณะที่ผลกระทบแย่น้อยกว่าต่อ บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL และบริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ DOHOME เนื่องจากยอดขายส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ต่างจังหวัด และสาขาแยก Action/Recommendation การเปิดเมืองขึ้นอยู่กับวัคซีน ผลกระทบจากล็อกดาวน์ 1 เดือนต่อ DCF valuation มีเพียงเล็กน้อย และสร้างดาวน์ไซด์ที่จำกัด

หากมองข้ามไป ข่าวของการนำเข้าวัคซีนทางเลือกจะช่วยให้การเปิดเมืองอย่างยั่งยืน เป็นอย่างเร็วที่สุดในไตรมาส 4/2564 คง HMPRO และ MAKRO เป็นหุ้นเด่นสำหรับแนวโน้มการเปิดเมืองในปี 2565

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบทวิเคราะห์ หากพิจารณาผลกระทบเชิงลบต่อร้านค้าภายในศูนย์การค้า ก็ยังมีกลุ่มโรงภาพยนตร์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR กลุ่มสปา เช่น บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SPA

กลุ่มร้านอาหาร เช่น บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M, บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มค้าปลีก แบ่งเป็น บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC, บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO, บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM, บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 และ บริษัท เอส พี วี ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SPVI

กลุ่มห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า จากที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ เชื่อว่าเริ่มเห็นผลกระทบมากขึ้นจากผู้ติดเชื้อพุ่งสูง โดยประเมินสร้างแรงกดดันต่อ SSSG มากกว่าการระบาดในระลอกที่ 2 (ช่วง ธ.ค. 2563) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL (7-11, Lotus), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC (Mini Big C) และ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC (Family Mart) กลุ่มร้านสะดวกซื้อคาดน่าจะรับผลกระทบมากสุดในกลุ่ม เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เสียเวลาทำการมากสุด (ราว 1 ใน 4 ของการให้บริการปกติ) แม้ส่วนใหญ่ยังเป็นช่วงกลางคืน ไม่ใช่รายได้หลัก แต่ประเมินเห็นผลกระทบมากขึ้นเทียบกับการระบาดระลอกที่ 2 (ช่วง ธ.ค. 2563) ทั้งนี้คาดผลกระทบยังอยู่ในระดับน้อยกว่ารอบแรก (ช่วง เม.ย. 2563) เนื่องจากผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวได้แล้ว

สิ่งสำคัญ โดยห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าส่วนใหญ่ ประกาศเริ่มทยอยปิดให้บริการตามนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 2564 เป็นต้นมา จนมีมาตรการควบคุมเข้มอีกจาก “ศบค.” ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 20 ก.ค. 2564 และจะมีผลอย่างน้อยจนกระทั่งวันที่ 3 ส.ค. 2564 สำหรับการเพิ่มบางพื้นที่เป็นพื้นที่สีแดงเข้มและแดง รวมถึงการเคอร์ฟิวที่เข้มงวดขึ้น, การลดชั่วโมงการดำเนินงาน, และจำกัดธุรกิจที่ดำเนินงานใน “ห้างฯ, ศูนย์การค้า, คอมมูนิตี้ มอลล์”

ทั้งนี้ ตามมุมมองหลายฝ่ายประเมินแนวโน้มคาดได้รับผลกระทบเชิงลบ ทั้งในส่วนผู้ประกอบการให้บริการเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และผู้ประกอบการอีกหลายรายที่เช่าพื้นที่เปิดร้านในพื้นที่ศูนย์การค้า

สำหรับข้อมูลบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือ MBK ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์, ศูนย์การค้า พาราไดซ์ พาร์ค, ศูนย์การค้า พาราไดซ์ เพลส, เดอะไนน์ เซ็นเตอร์

บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF ได้แก่ ศูนย์การค้าเมกาบางนา, เอสพลานาด รัชดาภิเษก, ลา วิลล่า (พหลโยธิน), อะเวนิว 5 แห่ง, มาร์เก็ตเพลส 7 แห่ง, เพาเวอร์ เซ็นเตอร์ 3 แห่ง ฯลฯ

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN และ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, โรบินสัน 48 สาขา, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, เซ็นทรัลพลาซา 24 แห่ง, เซ็นทรัลเฟสติวัล 5 แห่ง, เซ็นทรัล ภูเก็ต, เซ็นทรัล วิลเลจ ฯลฯ

สำหรับ CPN ธุรกิจเป็นการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร โดยมีรายได้หลักมาจากการให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกของห้างเซ็นทรัล และบริการระบบสาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบรักษาความสะอาดภายในศูนย์การค้า เรียกง่าย ๆ ว่า CPN เป็นผู้ที่สร้างห้างเซ็นทรัลแล้วเก็บรายได้จากการปล่อยเช่านั่นเอง

ขณะที่ CRC เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล โดยมีร้านค้าปลีกของตัวเองในประเทศไทยเกือบ 2,000 ร้านค้า แบ่งเป็น 3 กลุ่ม หลักได้แก่ 1.แบรนด์ค้าปลีกกลุ่มแฟชั่น Central, Robinson และ Supersports 2.แบรนด์กลุ่มฮาร์ดไลน์ ที่ขายสินค้าวัสดุก่อสร้าง สินค้าตกแต่งบ้าน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ไทวัสดุ, บ้านแอนด์บียอนด์ และเพาเวอร์บาย 3.แบรนด์ค้าปลีกกลุ่มร้านอาหาร เช่น ท็อปส์, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และแฟมิลี่มาร์ท

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ได้แก่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนต์, เกตเวย์, พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า 3 แห่ง, ลาซาล อะเวนิว, ตะวันนา บางกะปิ, โอ.พี. เพลส แบงคอก

บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PLAT ได้แก่ ศูนย์การค้าเดอะแพลทินัม แฟชั่น มอลล์, เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก, เดอะ นีออน ไนท์ บาซาร์

บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ได้แก่ ศูนย์การค้า Terminal 21 (อโศก), Terminal 21 (พัทยา)

อย่างไรก็ตาม จากมาตรการควบคุม “ศบค.” ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 20 ก.ค. 2564 และจะมีผลอย่างน้อยจนกระทั่งวันที่ 3 ส.ค. 2564 ประเมินแนวโน้มอาจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น โดยมีผลต่อผลประกอบการในไตรมาส 3/2564 คาดได้รับผลกระทบเชิงลบ

Back to top button