กองทุน-รายใหญ่ ขายทำกำไร

หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่ร่วงลงอย่างหนัก ทั้ง MTC SAWAD TIDLOR KTC XPG AEONTS และหุ้นตัวอื่น ๆน่าจะถูกขายออกมาจาก “กองทุน” และ “นักลงทุนรายใหญ่”


หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่ร่วงลงอย่างหนัก ทั้ง MTC SAWAD TIDLOR KTC XPG AEONTS และหุ้นตัวอื่น ๆ

น่าจะเป็นการถูกขายออกมาจากบรรดา “กองทุน” และ “นักลงทุนรายใหญ่”

เพราะแต่ละหุ้นที่ปรับลงมาอย่างหนัก

สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนักลงทุนที่ขายออกมา มีต้นทุนต่อหุ้นตัวนั้น ๆ ค่อนข้างต่ำมาก ๆ

บวกกับมูลค่าการซื้อขายเป็นระดับพันล้านบาทต่อเนื่อง 3-4 วัน

มีแต่ “รายใหญ่” เท่านั้นที่สร้างปรากฏการณ์แบบนี้ได้

ถามว่าการขายของกลุ่มรายใหญ่ที่ว่านี้เกี่ยวกับ SCBX หรือเปล่า

คำตอบ อาจจะใช่ และอาจจะไม่ถึงกับเกี่ยวกับ SCBX โดยตรง

แม้จะมีมุมมองเชิงบวกอย่างมากจากนักวิเคราะห์ และนักลงทุนในตลาดหุ้นกับการเคลื่อนไหวของ SCB  ที่ตั้ง SCBX จนเกิดเรื่องของ Disruption ต่อหุ้นอื่น ๆ

ทว่า ผลกระทบที่เกิดกับหุ้นอื่น ๆ ไม่น่าจะรุนแรง

ส่วนเหตุที่ราคาลงมาหนัก เข้าใจว่า รายใหญ่เหล่านี้ มองว่า เผื่อข้างหน้าจะมีการแข่งขันมากขึ้น

ประกอบกับการที่หุ้นตัวเองถืออยู่มีกำไรอยู่ค่อนข้างมากแล้ว

จังเป็นโอกาสที่จะ “ปรับพอร์ต” เพื่อลดความเสี่ยงไปก่อน

รวมถึงเป็นการ Take profit  หรือ “ขายทำกำไร” ควบคู่ไปด้วย

หลังปรากฏการณ์ของ SCBX

และหุ้นไฟแนนซ์ ต่างถูกขายออกมาในช่วงหลัง SCB เปิดแถลงข่าว 1 วัน

นักวิเคราะห์ต่างแนะนำให้เลี่ยงการลงทุนกลุ่มไฟแนนซ์ไปก่อน เพื่อรอให้ฝุ่นจาง และมองไปข้างหน้า รอให้ภาพมีความชัดเจนขึ้นอีกนิด ก่อนจะตัดสินใจเข้าลงทุนได้

ผ่านมาถึงต้นสัปดาห์นี้

นักวิเคราะห์จากโบรกฯ ต่าง ๆ เริ่มมองเห็นอัพไซด์ของหุ้นไฟแนนซ์บางตัว

หรือราคาหุ้นที่ลงมามากเกินไป

จนมีการทำบทวิเคราะห์แบบรายตัวออกมา และแนะนำให้ “ทยอยซื้อ” ได้ หลังประเมินว่า แรงขายน่าจะเริ่มเบาบาง

และราคาหุ้นมีโอกาสเป็น Technical rebound หรือการปรับขึ้นทางเทคนิค

ส่วนกองทุนต่าง ๆ และรายใหญ่ที่ขายหุ้นออกมา

นักลงทุนกลุ่มนี้จะถือเงินสดกันไม่ค่อยนานนัก อย่างกองทุนก็มีเกณฑ์กำหนดอยู่ว่า จะถือเงินสดได้จำนวนเท่าไหร่ของสินทรัพย์ และการถือเงินสดไว้เฉย ๆ มันสร้างผลตอบแทนไม่ได้

ดังนั้น จึงต้องนำเงินไปลงทุนให้เร็วสุด

นั่นก็คือ การเปลี่ยนตัว (หุ้น) เล่น ที่พวกเขามองว่า น่าจะเริ่มฟื้นตัว ราคามีอัพไซด์

เช่น หุ้นกลุ่มเปิดเมือง หรือแม้กระทั่งการวกกลับเข้าลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคาร เช่น SCB และ KBANK รวมถึง BBL ด้วยเหตุผลว่า แบงก์ต่าง ๆ น่าจะทยอยปรับตัวเองเพื่อก้าวสู่การเป็น Financial Technology หรือ Fin Tech

จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เฉพาะหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์เท่านั้น ที่ถูกเทขาย

หุ้นกลุ่มอื่น ๆ ที่ราคาขึ้นมาค่อนข้างมาก หรือแทบไม่เหลืออัพไซด์ ต่างถูกขายออกมาเช่นกัน

อย่างกลุ่มโรงพยาบาล BCH  IMH  LPH  EKH  BDMS  ที่ราคาหุ้นค่อย ๆ ซึมลงต่อเนื่องในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา

น่าจะเป็นผลมาจากสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ค่อย ๆ ดีขึ้น

กลุ่มเดินเรือ TTA  PSL  RCL นี่ก็ถูกขายทำกำไรเช่นกัน ราคาหุ้นปรับลงตลอด

กลุ่มแบงก์ที่ถูกเพิ่มน้ำหนักลงทุนมากขึ้น

นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องการปรับตัวเองก้าวเข้าสู่ Fin Tech

ยังมาจากแนวโน้มการประชุมของ กนง.วันพุธนี้ น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50 บาท และสะท้อนว่า ดอกเบี้ยระดับนี้มีความเหมาะสม และจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว

เศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว เป็นอีกปัจจัยหนุนการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มแบงก์ขึ้นด้วย

ส่วนกลุ่มน้ำมัน พบว่า มีเงินเข้าลงทุนเพิ่มจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น

สรุปแล้ว แบงก์ กับน้ำมัน กลายเป็นหุ้นที่ถูกกลับมาน่าสนใจอีกครั้งจากกองทุน และอาจรวมถึงรายใหญ่ด้วย

Back to top button