KOOL ดูกันที่อนาคต

จากข้อมูลที่เสนอในหนังสื่อพิมพ์ออก ณ ฉบับวันที่ 9-11 ต.ค. 58 คอลัมน์คุณค่าบริษัท หน้า 16 ของ KOOL มีข้อมูลในส่วนของตัวธุรกิจที่คลาดเคลื่อนออกไป ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนเข้าใจในตัวธุรกิจผิดไปได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย พร้อมกับขออนุญาตนำเสนอข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องดังนี้


–คุณค่าบริษัท–

 

หมายเหตุ: จากข้อมูลที่เสนอในหนังสื่อพิมพ์ออก ณ ฉบับวันที่ 9-11 ต.ค. 58 คอลัมน์คุณค่าบริษัท หน้า 16 มีข้อมูลในส่วนของตัวธุรกิจที่คลาดเคลื่อนออกไป ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนเข้าใจในตัวธุรกิจผิดไปได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย พร้อมกับขออนุญาตนำเสนอข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องดังนี้

 

แม้ว่าราคาหุ้นของ บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KOOL ปรับตัวลงเรื่อยๆ แต่มองทางกลับกันถือเป็นเรื่องดี ที่จะได้รับของถูก เพื่อไปลุ้นราคาหุ้นในอนาคต เพราะบริษัทมีพื้นฐานดี ซึ่งสามารถขับเคลื่อนให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต แต่จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ผลประกอบการว่าจะเติบโตเพิ่มมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ ความสามารถดูได้จากข้อมูลที่ผู้บริหารระบุ

โดยการเติบโตของรายได้เป้าอยู่ที่ 40% ต่อปี โดยเฉพาะจากการเติบในช่องทางการขายในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ทั้งห้างเดิมที่เติบโตดีอยู่แล้ว เช่น MAKRO และ HMPRO ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นสินค้าที่โตถึง 100% ในโฮมโปร และห้างที่เริ่มเข้าไปจำหน่ายอย่าง BIGC และคาดว่าอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขายในเทศโก้โลตัส ซึ่งจะเป็นการขยายกลุ่มฐานลูกค้าระดับกลางลงมา

สำหรับสิ้นค้าของ KOOL ดำเนินธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์พัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำ และพัดลมอุตสาหกรรม ภายใต้ตราสินค้า “MASTERKOOL” และ “Cooltop” ซึ่งเป็นตราสินค้าของบริษัทเอง นอกจากนี้บริษัทยังให้บริการเช่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมถึงออกแบบและติดตั้งระบบระบายความร้อน และระบบโอโซน

ขณะที่ปี 59 คาดว่าจะมีการออกผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ เพื่อตอบสนองลูกค้าระดับกลาง และชีวิตคนเมืองที่นิยมอยู่ในคอนโดมากขึ้น และมองว่าตอบโจทย์ลูกค้าหัวเมืองต่างจังหวัดที่เป็นสังคมเมือง (Urbanization) มากขึ้น โดยทาง KOOL มีแผนที่จะทำรายการส่งเสริมการขายเช่น การร่วมโปรโมชั่นผ่อนกับบัตรเครดิต ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น หนุนยอดขาย

นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 297.30 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 206.66 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายอย่างมีนัยสำคัญของผลิตภัณฑ์กลุ่มพัดลมไอเย็น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 33.48 ล้านบาท หรือ 0.09 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 29.53 ล้านบาท หรือ 0.11 บาทต่อหุ้น

ส่วนผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 437.26 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 312.78 ล้านบาท ขณะที่ผลกำไรลดลงเหลือ 27.17 ล้านบาท หรือ 0.08 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.24 ล้านบาท หรือ 0.12 บาทต่อหุ้น สาเหตุหลักที่กำไรลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น

ในขณะที่นักวิเคราะห์ บล. ทรีนีตี้ แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2559 อยู่ที่ 2.50 บาทต่อหุ้นอิง PER 19 เท่า ตามค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือนและสำนักงานย้อนหลัง 3 ปี ประเมิน ณ สิ้นปี 2558 บริษัทฯ จะมีรายได้รวมราว 648 ล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นที่ราวร้อยละ 43.4 ซึ่งจะส่งผลให้คาดว่ามีกำไรสุทธิอยู่ที่ 45 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 43.4 จากปีก่อน

ปัจจัยหนุนจากการขยายช่องทางการขาย และจากช่องทางเดิมโดยเฉพาะห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ซึ่งมีผลให้ประเมินว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะดีขึ้นร้อยละ 0.1 จากปีก่อน และคาดกำไรปี 2559 และปี 2560 อยู่ที่ 63 ล้านบาท และ 97 ล้านบาทตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย(CAGR) ปี 2558-2560 ราวร้อยละ 47 ต่อปี

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

1. นายนพชัย วีระมาน 126,412,260 หุ้น 26.34%

2. นายเม็ง ฮอย ฟัง 81,168,945 หุ้น 16.91%

3. บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด 33,178,372 หุ้น 6.91%

4. นายโกมินทร์ กรตมี 26,196,582 หุ้น 5.46%

5. นายกฤษณ ไทยดำรงค์ 24,104,828 หุ้น 5.02%

 

รายชื่อกรรมการ

1.นายประกิจ ตังติสานนท์ประธานกรรมการ

2.นายนพชัย วีระมานกรรมการผู้จัดการ

3.นายกฤษณ ไทยดำรงค์กรรมการ

4.นายฟัง เม็ง ฮอยกรรมการ

5.นายนันฑวัฒน์ คำเอมกรรมการ

Back to top button