ความโลภและความเสี่ยง ในตลาดสินทรัพย์ ดิจิทัล (ตอน 2)

การแข่งขันเพื่ออสังหาริมทรัพย์จบลงด้วยการก่อตั้งเมืองใหม่ที่ไม่มีวันสิ้นสุดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาที่ห่างไกลจากระบบศักดินาที่ล้าสมัย


ผู้ตั้งถิ่นฐานและผู้บุกเบิกถือกำเนิดขึ้น ไม่ว่าจะโดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับประเทศบ้านเกิดหรือเพื่อตนเองและผู้ติดตาม  ที่ดินบนบกทำให้ชาวนามีความหวังในอิสรภาพและอัตลักษณ์โดยเฉพาะเนื่องจากเป็นรากฐานของความมั่งคั่ง  การแข่งขันเพื่ออสังหาริมทรัพย์จบลงด้วยการก่อตั้งเมืองใหม่  ทวีปใหม่และดินแดนที่ไม่มีวันสิ้นสุดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาที่ห่างไกลจากระบบศักดินาที่ล้าสมัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการล่าอาณานิคม เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรต่ำมาก  ระบอบศักดินาที่ครอบงำในยุโรปมาหลายทศวรรษแล้วไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เพราะมันง่ายที่จะย้ายไปยังที่อื่นให้ได้มาก ถ้าข้าราชบริพารมีปัญหากับขุนนางศักดินาในภูมิภาคหนึ่ง-และนี่คือเหตุผลว่าทำไม

มันเป็นไปไม่ได้สำหรับขุนนางศักดินาที่จะสร้างตัวเอง และก็เป็นสถานที่ซึ่งไม่ใช่ที่ดินมรดกหรือที่ดินที่ผู้ซื้อหามาด้วยทุนก้อน แต่เกิดจากการบุกเบิกป่าเขาให้ราบแล้วแต่ยึดครองที่ดินใหม่ จากคนพื้นเมืองเดิมซึ่งมองเห็นคุณค่าของที่ดินต่ำกว่าฝูงสัตว์ที่ล่ามาได้ เพื่อสร้างเสกตำนานที่กล้าหาญไม่เพียงแต่พัฒนาขึ้นจากชีวิตที่ยากลำบากของ

ผู้ตั้งถิ่นฐานที่เดิมเคยอาศัยตามชายขอบของสังคม อาศัยเขตแดนไปจนถึงดินแดนที่ไม่รู้จัก ซึ่งถูกขับออกไปทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่องในศตวรรษที่ 18 และ 19 เท่านั้น แต่ยังมาจากการค้นพบดินแดนใหม่ด้วย

เรื่องราวเหล่านี้ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยนักเขียนเพื่อเชิดชูวีรกรรมของผู้บุกเบิกและผู้ตั้งถิ่นฐาน โดยใช้คำที่มีความหมายกำกวมอันหรูหราเพื่อสร้างความชอบธรรม ในท่วงทำนอง “ความงามเบ็ดเสร็จ(ที่ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะครอบครอง แต่ยังเพื่อทำความรู้จักกับมัน) ของดินแดนอันสวยงามแห่งนี้ ไม่ใช่เป็นแค่การบุกเบิก และตั้งถิ่นฐานเชิงรุกเท่านั้นหากยังรวมเอาผู้ค้นพบด้วยมุมมองใหม่ที่แสวงหาเส้นทางที่มีความหมายของ “คนอเมริกันด้วย” หนทางใหม่

การไปทางตะวันตกเป็นสิ่งที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐาน  มีเพียงนักผจญภัยที่กล้าหาญที่สุดหรือผู้ที่ปรารถนาจะไม่มีตัวตนเท่านั้นที่ไปตะวันตกบ่อยครั้ง

เริ่มต้นด้วยเรือกลไฟ ‘นิวออร์ลีนส์’ ในปี พ.ศ. 2354 การเคลื่อนไหวทางทิศตะวันตกแบบพิเศษในแม่น้ำมิสซิสซิปปี้และมิสซูรีเริ่มต้นขึ้น  เรือกลไฟนั้นเร็วกว่าเรือแฟลตโบ๊ทรุ่นเก่ามาก  ตะวันตก อย่างน้อยก็มิสซิสซิปปี้สามารถไปถึงได้ในเวลาที่เหมาะสม  ในเวลาอันสั้น ตาข่ายของแม่น้ำที่ไหลผ่านอาณาเขตอันกว้างใหญ่ก็ได้รับการพัฒนา  ในปี ค.ศ. 1819 ‘วิศวกรชาวตะวันตก’ เป็นเรือกลไฟลำแรกที่ไปยังมิสซูรีจนถึงเคาน์ซิลบลัฟส์  ในยุค 1820 เรือกลไฟนำผู้บุกเบิกมาสู่ Independence ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Oregon และ Santa Fé Trail

การเติบโตในระดับโลกและประเทศไทย ที่ทำให้ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (market cap) ในขณะที่ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินแต่ละประเทศอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน

ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญจาก International Monetary Fund หรือ IMF เสนอแนะว่า ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกควรเพิ่มความร่วมมือกันในการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล และควรมีมาตรฐานกลางในการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้มีแนวทางการติดตามความเสี่ยงและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกัน แทนที่จะสร้างมาตรฐานจำเพาะที่ไร้ผลดังเช่นที่เกิดขึ้น

มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญของ IMF* ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นจากการที่สินทรัพย์ดิจิทัลอาจเข้ามาแทนที่ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม (cryptoization) เช่น ใช้แทนสกุลเงินของบางประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างในการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราและกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งการที่สินทรัพย์ดิจิทัลมีราคาสูงขึ้นมาก (stretched valuation) อย่างที่ไร้พื้นฐาน อาจจะเป็นอันตรายจากฟองสบู่ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเก็งกำไรที่เกินเลยดังเช่นวิกฤตที่ผ่านมาในอดีตมีความผันผวนสูง และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ของบางประเทศได้

ข้อเท็จจริงของการที่สินทรัพย์ดิจิทัลและการให้บริการที่เกี่ยวข้องมีลักษณะไร้พรมแดน (cross border) จึงเห็นว่า Financial Stability Board (FSB) ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามและ ดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินโลก ควรจัดทำแนวทางหรือมาตรฐานกลางในระดับสากล (global framework) สำหรับการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เชี่ยวชาญจาก IMF เห็นว่า การมีกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกันในแต่ละประเทศจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความเสี่ยงและกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนลดปัญหาด้าน regulatory arbitrage ที่ผู้ประกอบธุรกิจอาจหลีกเลี่ยงไปดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีการกำกับดูแลที่อ่อนกว่าได้

ยักษ์ที่ “ไม่ยอมกลับเข้าสู่ตะเกียงอะลาดิน” จึงเป็นปัญหาใหม่ของโลกทุกวันนี้และในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นหนุ่มสาวที่เข้าสู่ตลาดเก็งกำไรบนเครือข่ายดิจิทัล ที่อ่อนประสบการณ์และมองเห็นแต่กำไรจากความโลภมากกว่าความเสี่ยงจากความกลัว ด้วยหลงในมายาคติแบบ “มุ่งตะวันตก” เสียจน “เสพติด” เสียแล้ว

การที่ก.ล.ต. ออกหนังสือเวียน จึงเป็นแค่การกระซิบให้ยักษ์ที่กำลังหลงระเริงกลับไปสู่ตะเกียง จึงน่าจะเป็นปลายเหตุของปัญหา เพราะไม่มีคำตอบเลยว่ายักษ์จะเชื่อจนยอมกลับเข้าตะเกียงหรือไม่

Back to top button