ความอึดของชาวสวน กับวิลเลียม เจมส์

คำอธิบายแบบ “วีรชนหลังสงคราม” ของนักวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ของตลาดหุ้นไทยยามนี้ หลังจากที่การร่วงในตอนเปิดตลาดเกือบทุกแห่ง เพราะข่าวร้ายท่วมตลาดโลกและตลาดหุ้นในประเทศ


คำอธิบายแบบ “วีรชนหลังสงคราม” ของนักวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ของตลาดหุ้นไทยยามนี้ หลังจากที่การร่วงในตอนเปิดตลาดเกือบทุกแห่ง เพราะข่าวร้ายท่วมตลาดโลกและตลาดหุ้นในประเทศ ถ่วงรั้งขาขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นหรือ SET ให้จมปลักกับก้นเหวของขาลงต่อเนื่อง

แม้ข่าวร้ายสุดที่ผ่านพ้นไปแล้วคือการแพร่ระบาดของโควิด 19 รวมทั้งขาขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นโตเกียว อินเดีย และยุโรปหลายตลาดกลายเป็นตลาดขาขึ้นระลอกใหม่แล้ว โอกาสที่คนห่ามแบบนายโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่ชอบให้ออกมาข่มขู่ให้โลกปั่นป่วนว่าเกิดสงครามการค้าจะไม่มีทางเกิดขึ้นอีก เพียงแต่หุ้นไทยกลับถูกข่าวร้ายจากกรณีเบี้ยวหนี้ของหุ้นบางรายการออกมาทำลายบรรยากาศของตลาด ทั้งที่น่าจะเป็นข่าวดีด้วยซ้ำ

แม้ช่วงปีนี้ การลงทุนด้วยกลยุทธ์ “ชาวสวน” (Contrarian Investing) ซึ่งเป็นพฤติกรรมของนักฉวยโอกาสจากหายนะของตลาดเก็งกำไรที่ชวนให้ตั้งคำถาม เพราะกลยุทธ์ชาวสวนนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่มักเลือกเกิดในช่วงเวลาที่สบช่องของสถานการณ์พิเศษเท่านั้น โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองที่มีความรุนแรง แต่ปรัชญาเรื่อง “เจตจำนงที่จะเชื่อ” ของนักปรัชญาอเมริกัน วิลเลียม เจมส์ ต้นกำเนิดสำนัก “Pragmatism” น่าจะถูกยึดถือเป็นสรณะจากบรรดานักลงทุนระดับทหารผ่านศึกมากพอสมควร

เจมส์ระบุว่า การยอมรับความเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักฐานความจริงก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อทางศาสนา แต่อ้างถึงเหตุผลของความศรัทธา เป้าหมายคือการปกป้องสิทธิ และตรรกะโดยไม่ถูกบีบบังคับ

แนวคิดของเจมส์ แยกแยะความเชื่อสัมบูรณ์ (อาศัยเหตุผลมากกว่าข้อเท็จจริง) ออกจาก วิธีคิดพึ่งพาประจักษ์พยาน โดยย้ำว่า อย่างแรกที่อาศัยสัญชาตญาณหรือ ฌาน ไม่จำเป็นต้องเป็นความเชื่อที่ไร้สาระเสมอไป และอย่างหลังอาจจะไม่มีความแน่นอนเกี่ยวกับความเชื่อและข้อสรุปของพวกเขามากกว่า

เจมส์ระบุว่า ความถูกต้องและผิดพลาดในความเชื่อ มาจากระดับคุณภาพของความเชื่อเป็นสำคัญ แต่คุณภาพจะเกิดขึ้นมาได้ต้องผ่านประสบการณ์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เช่นนั้น วิชาสถิติก็คงไร้คุณค่าในการเรียนและนำไปใช้ เพื่อสร้างผลลัพธ์สุดท้าย

เพียงแต่เจมส์ก็ย้ำเตือนว่า “ความตั้งใจที่จะเชื่อ” ต่างจาก “สิทธิ์ที่จะเชื่อ” และ “ภาระที่จะเชื่อ” แล้วยังมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างการแสวงหาความจริง (รวมทั้ง การหลีกเลี่ยงความเท็จ) ที่ทำให้บางครั้ง การระงับความเชื่อมีความจำเป็นในบางครั้ง จนกว่าเราจะมีหลักฐานเพียงพอ จนกว่ามียืนยันได้ว่าไม่มีการหลีกเลี่ยงความเท็จโดยเจตนา

ข้อเสนอเจตจำนงที่จะเชื่อของเจมส์ ได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่า ใช้การได้เฉพาะเรื่องหรือประเด็นนามธรรมมากกว่าเรื่องหรือสาระที่เป็นรูปธรรม เพราะในโลกที่เป็นรูปธรรมนั้น ข้อเท็จจริงเชิงปริมาณมีความสำคัญมากกว่า และเป็นตัวชี้วัดความถนัดซึ่งต้องการความเชื่อเชิงนามธรรม

บางครั้งหลักการลงทุนในช่วงเวลาที่แสงสว่างปลายอุโมงค์ยังเลอะเลือน อาจจำเป็นต้องพึ่งพาสัญชาตญาณมากกว่า สัญญาณทางเทคนิค และความคาดหมายบวกที่ไม่สั่นคลอนได้ของนักลงทุนที่เชื่อมั่นในขาขึ้นครั้งต่อไปของตลาด ตามสูตรที่นักลงทุนเชื่อกันว่าตลาดหุ้นไทยนั้นจะเป็นขาขึ้นอยู่ประมาณ 4 เดือนขาลงประมาน 8 เดือนและก็ช่วงเวลาขาขึ้นก็จะกลับยาวนาน

การลงทุนด้วยกลยุทธ์ “ชาวสวน” (Contrarian Investing) จึงต้องการความอดทนที่มีองค์ประกอบของความอึดและความเชื่อแบบที่วิลเลียม เจมส์สรุปเอาไว้เป็นพฤติกรรมของการแปลงวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส เพราะกลยุทธ์ชาวสวนนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็ตาม

Back to top button