Food Tech ธุรกิจอาหารแห่งอนาคต

ดูเหมือนว่า Digital Disruption ที่เปรียบดั่งคลื่นสึนามิกำลังซัดเข้าสู่ธุรกิจเป็นวงกว้างผนวกกับวิกฤติการณ์โควิด-19 ช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นตัวเร่ง Digital Disruption แรงและเร็วมากยิ่งขึ้นหนึ่งในนั้นคือ “ธุรกิจอาหาร”


ดูเหมือนว่า Digital Disruption ที่เปรียบดั่งคลื่นสึนามิกำลังซัดเข้าสู่ธุรกิจเป็นวงกว้างผนวกกับวิกฤติการณ์โควิด-19 ช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นตัวเร่ง Digital Disruption แรงและเร็วมากยิ่งขึ้นหนึ่งในนั้นคือ “ธุรกิจอาหาร” จนนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอาหารและกลายเป็นที่มาของคำว่า Food Tech ที่เริ่มคุ้นชินกันมากขึ้น

ข้อมูลจาก Research and Market พบว่ามูลค่า Food Tech ทั่วโลก ช่วงปี 2022 จะมีมูลค่าสูงถึง 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 7.79 ล้านล้านบาท) เลยทีเดียว

สำหรับ Food Tech (Food Technology) นั่นคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพของอาหาร เริ่มตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การแปรรูปอาหารการจัดการจนออกมาเป็นสารพัดเมนูอาหารต่าง ๆ และการส่งต่อถึงผู้บริโภค

วิวัฒนาการ Food Tech จากจุดเริ่มต้นมาถึงปัจจุบันมีให้เห็นอยู่หลายรูปแบบ

-Food Delivery Platform คือ แพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร อาทิ GrabFood, Line Man, Food Panda และ Gojek ที่ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงอาหารต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

-On-demand Food Discovery & Ordering คือแพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหารตามพื้นที่หรือย่านต่าง ๆ รวมถึงการจองโต๊ะและสั่งอาหาร อาทิ Yelp และ Wongnai

-Smart Kitchen Appliance คือเครื่องครัวอัจฉริยะ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยให้การทำอาหารง่ายขึ้น อาทิ การติดตั้งระบบ IoT สามารถสั่งการผ่านมือถือจนถึงอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยในร้านอาหาร อย่างกรณี “หุ่นยนต์ทำอาหาร” ของ McDonald’s

-Supply and Waste Management คือ การจัดการวัตถุดิบของร้านอาหาร อาทิ algorithm Eden จาก Walmart ที่ช่วยเรื่องการคำนวณความสดของสินค้าและช่วงเวลาจัดเก็บเพื่อลดปริมาณและความคุมการเน่าเสียของอาหาร

-Meat Substitute คือ เนื้อเทียมที่ได้รับความนิยมมากสุด นั่นคือ Plant-based protein โปรตีนที่ทำมาจากผักและถั่วเหลือง ที่รสสัมผัสใกล้เคียงเนื้อจริง..ตามเทรนด์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม

จุดที่น่าสนใจธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ Food Tech กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ Venture Capital (VC) กำลังให้ความสนใจและเพิ่มเม็ดเงินลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ ส่งผลให้ความต้องการเนื้อที่ทำจากพืชมีความต้องการเพิ่มขึ้น

ที่สำคัญการช่วยลดปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน จึงเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายคะแนนด้าน ESG (Environment, Social and Governance) สูง เข้าข่ายเกณฑ์การลงทุนที่นักลงทุนสถาบันทั่วโลกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น

สำหรับมูลค่าลงทุน Food Tech ของไทย ถือว่ายังมีสัดส่วนไม่มากนักหากเทียบตลาดโลก ข้อมูลจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ พบว่าสัดส่วนสตาร์ทอัพ Food Tech มีเพียง 44 บริษัท หรือแค่ 0.43% จากทั่วโลก จึงมีช่องว่างของโอกาสการขยายตัวอีกมาก

ที่น่าสนใจความได้เปรียบจากรากฐานประเทศเกษตรกรรม อันเป็นกระดูกสันหลังธุรกิจอาหาร ทำให้การก้าวเข้าสู่ Food Tech มีโอกาสเห็นมูลค่าเพิ่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกไม่น้อยเลย..!!!

Back to top button