PACE ขายหมูเพราะ “เจอท่ายาก”

ภาษาไทยสไตล์ “นักบัญชีตัวจริง” ล่าสุดของผู้สอบบัญชีที่มีต่อมุมมองของงบการเงินที่บริษัทเจ้าของหุ้นอ้างว่า เป็นการบันทึก “กำไรทางบัญชี” ไป ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ทำให้บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE ถูกขึ้นเครื่องหมายห้ามการซื้อขาย หรือ SP เช้าวานนี้ ต่อเนื่องจนถึงเช้านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

ภาษาไทยสไตล์ “นักบัญชีตัวจริง” ล่าสุดของผู้สอบบัญชีที่มีต่อมุมมองของงบการเงินที่บริษัทเจ้าของหุ้นอ้างว่า เป็นการบันทึก “กำไรทางบัญชี” ไป ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ทำให้บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE ถูกขึ้นเครื่องหมายห้ามการซื้อขาย หรือ SP เช้าวานนี้ ต่อเนื่องจนถึงเช้านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากผู้สอบบัญชี นางสาววิมลศรี จงอุดมสมบัติ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3899

สังกัด บริษัท เบเคอร์ ทิลลี่ ออดิท แอนด์ แอ็ดไวเซอร์รี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด รับรองงบแบบมีเงื่อนไข ระบุว่า …ไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงิน …(ซึ่งโดยข้อเท็จจริง ไม่ได้กินความถึงการไม่รับรองงบ แต่อย่างใด)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า การขึ้นเครื่องหมาย SP เกิดจากความเป็นไปได้ที่ “….ก.ล.ต. อาจสั่งการให้บริษัทแก้ไขงบการเงินได้”  โดยจะคงเครื่องหมาย NP จนกว่าPACE จะนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข หรือ…จนกว่าจะได้ข้อสรุปว่าไม่ต้องแก้ไขงบการเงิน

ผลลัพธ์นอกจาก PACE จะถูกแช่แข็งห้ามเทรดไป 1 วันแล้ว ยังทำให้ราคาหุ้น SCB พลอยโดนหางเลขร่วงระนาวจากแรงเทขาย ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้สำคัญของ PACE …ปรากฏการณ์ขายหมู เพราะเสียค่าโง่ จึงไม่น่าประหลาดใจ

หากย้อนไปดูหมายเหตุประกอบงบการเงินของผู้สอบบัญชี จะพบว่า ภาษานักบัญชี มีการระบุถ้อยคำกำกวม ถึงสาระสำคัญที่ทำให้ใคร พากันตั้งคำถามต่อความน่าเชื่อถือในการบันทึกรายได้ของ PACE ตามคำชี้แนะของที่ปรึกษาการเงินที่ลึกลับ…เกิดขึ้นจริง

PACE รายงานผลการดำเนินงาน และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 ระบุว่า มีกำไรสุทธิในไตรมาสสอง ที่ระดับมโหฬาร  5,310,48 ล้านบาท เพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่มีตัวเลขติดลบ 640,543 ล้านบาท  ทำให้งวด 6 เดือนแรกของปีนี้ มีกำไรสุทธิรวม  4,734.84 ล้านบาท ตรงข้ามกับขาดทุนสุทธิปีก่อนที่ 572,99 ล้านบาท

ภาษานักบัญชีทำให้เข้าใจไปว่า กำไรที่เกิดขึ้นมากมาย เกิดจากการบันทึกตัวเลขรายได้ในอนาคตจาก “จุดชมวิว” (รวมโรงแรม และศูนย์การค้าเกรดพรีเมี่ยม) บนดาดฟ้าของอาคารมหานครเข้ามา ตรงท่อนที่ว่า “…รับรู้ผลกระทบจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อยในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวดสามเดือน และหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จำนวนเงิน 8,856.6 ล้านบาท…”

หากไม่รวมกำไรพิเศษทางบัญชีจากตัวเลขดังกล่าว ย่อมเข้าใจกันไม่ยากว่า PACE มีตัวเลขขาดทุนสุทธิประมาณ 3.54 พันล้านบาทในไตรมาสสอง…อาจจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ก่อนประกาศงบไตรมาสสองที่เหลืออยู่ประมาณ 1.0 พันล้านบาทเศษ ถดถอยลง อาจจะต้องเพิ่มทุนฉุกเฉิน

ผู้สอบบัญชี ระบุว่า “…กลุ่มบริษัท PACE ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอิสระแห่งหนึ่ง เพื่อทำการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด ซึ่งถูกแยกส่วนเหล่านี้ออกเป็นบริษัทย่อยจาก PACE โดยใช้วิธีประมาณการรายได้ (Income Approach) และคำนวณคิดลดกระแสเงินสดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ตามรายงานของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอิสระดังกล่าว ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 เงินลงทุนดังกล่าวมีมูลค่ายุติธรรมจำนวนเงิน 8,231 ล้านบาท และกลุ่มบริษัท PACE ได้บันทึกเงินลงทุนในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 จำนวนเงิน 8,231  ล้านบาท และรับรู้ผลกระทบจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อยในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือน …ซึ่งในความเห็นของผู้สอบบัญชีนั้น “…อาจมีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่องบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม…”

คำชี้แจงต่อตลาดของ PACE บ่ายงานนี้ที่ว่า บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบสมมติฐาน เช่น 1) เปรียบเทียบจำนวนผู้เข้าชมจุดชมวิว กับตึกชมวิวตามประเทศต่างๆ 9 แห่งทั่วโลก 2) เทียบกับตึกใบหยก (ที่สูงเป็นอันดับ 2 ในไทยที่ปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าชมตึกเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี และ 3)  เปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าในประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก อีกทั้ง 4) จุดชมวิวในโครงการมหานครได้มีการออกแบบให้มีลิฟต์ที่มีความจุและเร็วที่สุดในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งทำให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมจุดชมวิวได้มากกว่า 3 ล้านคนต่อปี…..หากสินทรัพย์มีการก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเปิดดำเนินการได้……จึงเป็นการ “เกาที่คัน” ได้ไม่มากนัก ต้องรอข้อเท็จจริง “หญ้าปากคอก” มาทำให้กระจ่าง

ข้อเท็จจริงง่ายๆ ที่อธิบายด้วยภาษาชาวบ้าน และ ทำให้ “ถึงบางอ้อ” ทันที มีอยู่ว่า…

กำไรทางบัญชีดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากรายได้ของ “จุดชมวิว” ในอนาคตอะไรหรอก ….แต่เป็นการบันทึกรายได้ที่ PACE ได้รับจริง “แบบเนื้อๆ” จากการขายหุ้นของบริษัทย่อยของ PACE คือ บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด  ให้กับกองทุนอพอลโล และโกลด์แมน แซคส์ เมื่อไตรมาสแรกนั่นเอง แต่เพิ่งจะมารับรู้เป็นรายได้ของ PACE ในไตรมาสสอง…ก็แค่นั้นเอง

มองย้อนหลังกลับไป เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ PACE ได้เคยแจ้งตลาดว่า ได้หาผู้ร่วมทุนในบริษัทย่อยได้แล้ว คือ กองทุนอพอลโล และโกลด์แมน แซคส์ ….แต่การบันทึกบัญชีในงบไตรมาสแรก ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นการลงบันทึกบัญชีด้วยวิธี “มูลค่าทางบัญชี” หรือ book value approach ตามปกติ

ต่อมาในไตรมาสสอง เดือน พฤษภาคม  นาย สรพจน์ เตชะไกรศรี ซีอีโอใหญ่ ได้ตัดสินใจให้ PACE ว่าจ้างที่ปรึกษาการเงินอิสระระดับโลก มาประเมินโดยใช้วิธี Income approach กับจุดชมวิว และธุรกรรมเกี่ยวเนื่องของทั้ง 2 บริษัทย่อย เพื่อการชำระมูลค่าหุ้นที่แท้จริง

ผลลัพธ์ของการ “ขายหุ้นได้กำไรงาม” ตามภาษาชาวบ้าน (ซึ่งทำรายได้และกำไรจนมีผลให้ ดี/อี ล่าสุด ลดลงเหลือแค่ไม่เกิน 4 เท่า ตามมาด้วยยอมขาดทุนสะสมเกือบเกลี้ยง) ที่แปลงมาเป็นภาษานักบัญชีที่ “เล่นท่ายาก” เรียกว่า “ผลกระทบจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย” ….เกิดจากภาษานักบัญชีล้วนๆ

ความเข้าใจผิดก็เลยเถิดได้ง่ายๆ…คน “ขายหมู”  ทั้งหลาย ทราบแล้วเปลี่ยน…

อิ อิ อิ

Back to top button