SCC กับจิ๊กซอว์ค้าปลีกอินโดนีเซีย.!?

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท ปูซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC บรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อหุ้น PT Catur Sentosa Adiprana Tbk (CSA) สัดส่วน 29% มูลค่า 1,035,000 ล้านรูเปีย (ประมาณ 2,400 ล้านบาท) การเข้าถือหุ้นดังกล่าวดำเนินการผ่านบริษัท เอสซีจี รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด โดยกำหนดแล้วเสร็จไตรมาส 3/2561


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท ปูซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC บรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อหุ้น PT Catur Sentosa Adiprana Tbk (CSA) สัดส่วน 29% มูลค่า 1,035,000 ล้านรูเปีย (ประมาณ 2,400 ล้านบาท) การเข้าถือหุ้นดังกล่าวดำเนินการผ่านบริษัท เอสซีจี รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด โดยกำหนดแล้วเสร็จไตรมาส 3/2561

นี่คือการเปิดเกมรุก “ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง” ต่างประเทศเป็นครั้งแรกหลังจากก่อนหน้านี้ SCC ปักหมุดธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งในประเทศ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL เจ้าของร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างชื่อ โกลบอล เฮ้าส์ (Global House)ด้วยสัดส่วนถือหุ้นกว่า 30%

การถือหุ้น GLOBAL ดังกล่าว ในเชิงตัวเลขทางการเงิน SCC มีการรับกำไรจาก GLOBAL (ตามสัดส่วนถือหุ้น 30%) เข้ามาเฉลี่ยปีละ 300-500 ล้านบาท หรือประมาณ 1% จากกำไรสุทธิของ SCC เฉลี่ยปีละ 55,000 ล้านบาท แต่ในเชิงยุทธ์ศาสตร์การซื้อหุ้น GLOBAL ถือเป็นการขยายช่องแคบธุรกิจค้าปลีกของ SCC ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวจากเดิม SCC ติดกับดักการตลาดอยู่ที่ “ซีเมนต์ไทย โฮมมาร์ท” มาหลายทศวรรษที่ผ่านมา

กรณีการเข้าถือหุ้น CSA มองได้ 2 มุมด้วยกัน มุมหนึ่งเป็นการแสวงหาโอกาสการลงทุนธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งในต่างประเทศ เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงของธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งในประเทศ ที่มีการแข่งขันสูงและการเติบโตค่อนข้างจำกัด

อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในเครือซิเมนต์ไทยสู่ต่างประเทศอีกทางหนึ่ง และการเข้าถือหุ้น CSA มูลค่า 2,400 ล้านบาท น่าคุ้มค่ากว่า SCC ต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในธุรกิจดังกล่าว

โดย CSA เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ชื่อหุ้น CSAP.JK ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง ภายใต้ 2 แบรนด์หลัก คือ MITRA10 เป็นร้านค้าปลีกอุปกรณ์ซ่อมแซมและวัสดุก่อสร้าง ลักษณะเดียวกับ GLOBAL ในเมืองไทย มีทั้งหมด 27 สาขา กระจายตามเมืองหลักส่วนใหญ่ของประเทศ และ ATRIA เป็นร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ลักษณะเดียวกับ HMPRO ในเมืองไทยนั่นเอง

พร้อมกันนี้มี “ธุรกิจกระจายสินค้า” ที่มีเครือข่ายร้านค้าปลีกสำหรับสินค้าวัสดุก่อสร้างมากกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์คือ สินค้าวัสดุก่อสร้าง สินค้าเคมีภัณฑ์และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยปี 2560 ที่ผ่านมา CSA มียอดขายรวมประมาณ 23,700 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม 12,000 ล้านบาท

แน่นอนว่า..โจทย์หลักของการลงทุนใน CSA ครั้งนี้ คงไม่ใช่การปั๊มตัวเลขรายได้หรือกำไร เพื่อมาทดแทนรายได้และกำไรธุรกิจปูนซีเมนต์ที่ตกต่ำ หรือธุรกิจปิโตรเคมีที่ทรงตัว แต่เป็นการปูทางธุรกิจในตลาดอินโดนีเซียที่กำลังเติบโต เพื่อประโยชน์ต่อมูลค่าเพิ่มสินทรัพย์ของ SCC ในอนาคตนั่นเอง..!!??

..อิ อิ อิ..

Back to top button