COTTO เหมือนดี..แต่ไม่น่าลงทุน.!?

หุ้นบริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดูร้อนแรงผิดหูผิดตาช่วงเข้าเทรดวันแรก สวนทางกับข้อมูลที่มาของหุ้น COTTO ที่ดูเงียบกริบ..สมกับเป็นบริษัทในเครือปูนใหญ่ ที่ค่อนข้างมีระยะห่างกับนักลงทุนทั่วไปค่อนข้างมากบริษัทหนึ่งในตลาดหุ้นไทย


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

หุ้นบริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดูร้อนแรงผิดหูผิดตาช่วงเข้าเทรดวันแรก สวนทางกับข้อมูลที่มาของหุ้น COTTO ที่ดูเงียบกริบ..สมกับเป็นบริษัทในเครือปูนใหญ่ ที่ค่อนข้างมีระยะห่างกับนักลงทุนทั่วไปค่อนข้างมากบริษัทหนึ่งในตลาดหุ้นไทย

COTTO เกิดจากการควบรวม 4 บริษัทย่อยของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC นั่นคือบริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TGCI, บริษัท เดอะ สยาม เซรามิคกรุ๊ปอินดัสทรี่ส์ จำกัด, บริษัท โสสุโก้ แอนด์ กรุ๊ป (2008) จำกัด และบริษัท เจมาโก จำกัด มาเป็นบริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกด (มหาชน) หรือ COTTO ในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดวัสดุก่อสร้าง

COTTO ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกปูพื้นและบุผนังเป็นธุรกิจหลัก ภายใต้เครื่องหมายการค้า COTTO, SOSUCO และ CAMPANA และธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมหนองแค มีจำนวนหุ้นชำระแล้ว 5,962.62 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นทุนชำระแล้ว 5,962.62 ล้านบาท มีสินทรัพย์ (30 มิ.ย. 2561) 13,000 ล้านบาท มี D/E 0.4 เท่า และ Book Value (BV) อยู่ที่ 1.50 บาท

ผลดำเนินงานครึ่งแรกปี 2561 มียอดขายกระเบื้องเซรามิก 6,000 ล้านบาท ลดลง 10.5% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มียอดขายในประเทศ 78% และส่งออก 22% (กลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย) มีกำไรสุทธิเพียง 55 ล้านบาท ลดลงจาก 164 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้น 27% ลดลงจาก 29% เมื่อช่วงเดียวกันปีก่อน

หากมองเชิงยุทธศาสตร์..ที่มาของหุ้น COTTO ถือเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจที่น่าสนใจ..ทำให้ COTTO มีมูลค่าสูงขึ้น การทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน (Synergy) เป็นการเพิ่มศักยภาพและอำนาจการแข่งขันมากขึ้น ที่สำคัญช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตและจำหน่าย กลุ่มธุรกิจกระเบื้องเซรามิกปูพื้นและบุผนังอย่างมีนัยสำคัญ..

แต่ทว่า..การออกตัวแรงของราคาหุ้น COTTO จนทำให้ P/E สูงถึงระดับ 66.06 เท่า ผนวกกับกำไรที่ถดถอย ทำให้ราคาแพงเกินไปแล้ว ยิ่งกว่านั้นด้วยสภาพคล่องที่ต่ำเพียง 7% ยิ่งไม่เหมาะต่อการเข้าเล่นเก็งกำไร แม้ว่าจะมีแม่เป็น SCC ก็ตาม

ที่เห็นได้ชัดคือบริษัท สยามโกลบอลเฮาส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันละ 60-100 ล้านบาทเท่านั้น และก่อนนั้นมี 2 บริษัทคือ บริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC, บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TCP ก่อนที่จะเพิกถอนออกจากตลาดไปในที่สุด

หากนักลงทุนที่ต้องการเล่นหุ้นในกลุ่มนี้ บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) หรือ DCC ถือเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวม 7,097 ล้านบาท หนี้สิน 3,316 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,781 ล้านบาท และมีฟรีโฟลต 49% ดูน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเยอะ..!??

…อิ อิ อิ…

Back to top button