DTAC ดีดกลับ 6% คลายกังวลตั้งสำรองระงับข้อพิพาท CAT จับตางบไตรมาส 1/62 โตก้าวกระโดด

DTAC ดีดกลับ 6% คลายกังวลตั้งสำรองระงับข้อพิพาท CAT จับตางบไตรมาส 1/62 โตก้าวกระโดด ล่าสุด ณ เวลา 10.11 น. อยู่ที่ระดับ 45.75 บาท บวก 2.75 บาท หรือ 6.40% สูงสุดที่ระดับ 46.50 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 44.25 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 363.27 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ณ เวลา 10.11 น. อยู่ที่ระดับ 45.75 บาท บวก 2.75 บาท หรือ 6.40% สูงสุดที่ระดับ 46.50 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 44.25 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 363.27 ล้านบาท

ด้านบล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุว่า ผลการดำเนินงานในงวดไตรมาส 4/61 ของ DTAC ขาดทุน 4.9 พันล้านบาท แต่นับเฉพาะการดำเนินงานปกติพลิกมากำไร 2.7 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ในงวดไตรมาส 4/61 มีรายจ่ายพิเศษให้ CAT เพื่อยุติข้อพิพาท สุทธิหลังภาษีที่ราว 7.6 พันล้านบาท หากเฉพาะการดำเนินงานปกติไตรมาส 4/61 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 366.3% จากปีก่อนและเพิ่มขึ้น 870.1% จากไตรมาสก่อน แม้รายได้ค่าบริการจะลดลงถึง 5.9% จากงวดปีก่อนจากจำนวนผู้ใช้บริการที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.45 ล้านราย แต่ชดเชยได้บางส่วนจากรายได้บริการเฉลี่ยต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจาก 250 ล้านบาทเป็น 253 ล้านบาท เพราะฐานลูกค้าที่ลดลงเป็นลูกค้าแบบเติมเงิน

ขณะที่ฐานลูกค้ารายเดือนยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะต้นทุนบริการลดลงถึง 16.9% จากงวดปีก่อน เพราะไม่ต้องตัดจำหน่ายสินทรัพย์ภายใต้สัมปทานไตรมาสละ 4 พันล้านบาทต่อไป และต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ลดลงจาก 11.8% ในงวดไตรมาส 4/60 เหลือ 8.3% เป็นผลจากส่วนแบ่งรายได้เหลือ 4% ตั้งแต่ 16 ธ.ค. หลังหมดมาตรการเยียว แต่ DTAC เริ่มจะตัดจำหน่ายคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ที่ประมูลได้อย่าง 5 Mhz ตั้งแต่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา

สำหรับในปี 2562 เห็นภาพ Turn-around ชัดเจนขึ้น หลังออกจากระบบสัมปทานสู่ใบอนุญาตแล้ว การเข้าสู่ระบบใบอนุญาตทั้งหมดทัดเทียมคู่แข่งในปี 2562 เต็มปีเป็นปีแรก ทำให้รายจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐจากเดิม 9% ของรายได้บริการ เหลือ 4% เต็มปีเป็นปีแรก บวกกับไม่ต้องตัดจำหน่ายสินทรัพย์ภายใต้สัมปทานอีกต่อไป

ขณะปี 2561 มีค่าตัดจำหน่ายดังกล่าวราว 1.2 หมื่นล้านบาท แม้จะถูกหักล้างบางส่วนจากการตัดจำหน่ายค่าใบอนุญาตที่เพิ่มขึ้น ค่าเช่าคลื่น 2300  60 Mhz X 1 จาก TOT และค่าเช่าเสาและอุปกรณ์จาก CAT เต็มปีเป็นปีแรก

รวมถึงการลงทุนเร่งขยายโครงข่าย 4G ต่อเนื่อง ขณะที่คาดรายได้ค่าบริการในปี 2562 จะทรงตัว แม้ประสิทธิภาพ 4G ที่มีจุดเด่นเหนือคู่แข่ง ด้วยเทคโนโลยี Time Division Duplex ของคลื่น 2300  60 MHZ  x  1 ทำให้การ Download และ Upload ไม่ต้องแบ่งพื้นที่อย่างละ 50% เหมือนผู้ประกอบการรายอื่น ส่งผลให้ฐานผู้ใช้บริการรายเดือนมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น และถูกหักล้างจากฐานผู้ใช้บริการแบบเติมเงินที่ยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากโครงข่ายบริการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ราว 94%  ต่ำกว่าผู้ให้บริการรายอื่น เป็นผลทำให้เรายังอนุรักษ์นิยม คงประมาณภารกำไรสุทธิปี 2562 ที่ 5,582 ล้านบาท ซึ่ง Turn-around ชัดเจนจากปีก่อนหน้า

เริ่มทดลองให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการ 1 สถานี แล้วที่ชลบุรี โดยให้นำคลื่น 2300 Mhz ด้วยเทคโนโลยี Massive MIMO (TDD) มาทดลองงานบริการ 5G จริงในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่นแล้ว 1 สถานี ตอกย้ำถึงความพร้อมให้บริการ 5G ได้เลยในพื้นที่บางส่วน โดยยังไม่ต้องรอประมูลคลื่นรอบใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการให้บริการ

Back to top button