สันติภาพที่อ่าวเปอร์เซียพลวัต2015

ในที่สุด การเจรจามาราธอนนานหลายปี ระหว่างอิหร่าน กับชาติมหาอำนาจ 5+1 ก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เสียที หลังจากยืดเยื้อมายาวนานกว่า 2 ปีเศษ โดยการเจรจาได้ผ่านมาแล้วถึง 10 รอบ แต่รอบล่าสุด กินเวลายาวนานที่สุดคือ 18 วัน จนสามารถบรรลุได้ในที่สุดเมื่อวานนี้


ในที่สุด การเจรจามาราธอนนานหลายปี ระหว่างอิหร่าน กับชาติมหาอำนาจ 5+1 ก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เสียที หลังจากยืดเยื้อมายาวนานกว่า 2 ปีเศษ โดยการเจรจาได้ผ่านมาแล้วถึง 10 รอบ แต่รอบล่าสุด กินเวลายาวนานที่สุดคือ 18 วัน จนสามารถบรรลุได้ในที่สุดเมื่อวานนี้

การเจรจาดังกล่าว ถือว่าบรรลุเป้าหมายโดยหลักการแล้ว แต่ไม่มีผลบังคับในทันที ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยต้องเจรจาต่ออีกหลายสัปดาห์ ซึ่งจะต้องหารือกันต่ออีก จนเป็นยอมรับของทุกฝ่าย และส่งเรื่องเข้าที่ประชุมสหประชาชาติเสียก่อน จากนั้นถึงจะเป็นมติระดับโลก ยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านอย่างเป็นทางการต่อไป  โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในต้นปี 2559

การเจรจาเรื่องควบคุมการเพิ่มสมรรถนะนิวเคลียร์ของอิหร่าน ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2556 หลังจากที่มีการเปิดเผยนานก่อนหน้านั้นหลายปีแล้วว่า อิหร่านได้ทำการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม จนเข้าใกล้ระดับที่จะสามารถสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้เองแล้ว ทำให้ประเทศตะวันตกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านครั้งแล้วครั้งเล่า และเกิดความเสี่ยงสูงที่อิสราเอลกับสหรัฐฯจะปฏิบัติการทางทหารต่ออิหร่าน

การเจรจาได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจต่อกัน แต่ก็พยายามขจัดช่องว่างออกไปทีละเปลาะ โดยในระหว่างการเจรจาดังกล่าว มีการตอบสนองเชิงบวกจากอิหร่านไม่น้อย เพราะหลายส่วนสำคัญของโครงการนิวเคลียร์อิหร่านหยุดลง เพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร และรับเงินคืนราว 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 23,100 ล้านบาท เป็นประจำทุกเดือนจากการผ่อนคลายทรัพย์สินของอิหร่านในต่างประเทศ

แม้ข้อตกลงจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ถือว่า บรรลุในสาระสำคัญแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดี อย่างน้อยชาวโลกก็ได้เห็นแรงปรารถนาสันติภาพของทุกฝ่ายที่การถ่วงดุลกำลังซึ่งกันและกัน

เอกสารข้อตกลง ซึ่งยังไม่เปิดเผยรายละเอียด มีความยาวมากกว่า 100 หน้า กับอีก 5 ภาคผนวก ที่มีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย อาทิ ว่าด้วย การผ่อนคลายคว่ำบาตร และมาตรการรูปธรรม ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ การตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายเพื่อติดตามสถานการณ์ในการปฏิบัติ และการควบคุมสมรรถนะของความสามารถด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญด้านนโยบายต่างประเทศของตนเองครั้งใหญ่ ในการริเริ่มรื้อฟื้นการเจรจาด้วยการต่อสายตรงถึงประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานีแห่งอิหร่านเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน

ประธานาธิบดีโอบามา ได้ออกโทรทัศน์สดชี้แจงเรื่องนี้กับประชาชนอเมริกันโดยตรงในคืนที่ผ่านมา เพราะหากข้อตกลงนี้บรรลุเป้าหมายในท้ายที่สุด รัฐสภาของสหรัฐฯจะให้ความเห็นชอบ และยุติมาตรการลงโทษอิหร่านที่ดำเนินมานาน 12 ปี ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจอิหร่านตกต่ำอย่างหนัก และถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าหลังจากนี้ สหรัฐฯจะกลับมาคืนสัมพันธ์อันดีกับอิหร่านตามปกติหรือไม่ หลังจากที่สหรัฐฯได้ทำการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในปี 2523 และหลังจากเกิดการปฏิวัติอิสลามนำโดยโคไมนี ที่นำไปสู่การบุกยึดสถานทูตสหรัฐฯในกรุงเตหะรานและจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกันนานกว่า 1 ปี

จุดเด่นนอกเหนือจากสันติภาพก็คือ หลังการบรรลุข้อตกลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลงทันที เพราะคาดกันว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะยุติขีดจำกัดในการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน โดยตลาดเชื่อว่า อิหร่านในฐานะผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโอเปก สามารถเพิ่มการส่งออกน้ำมันได้อีกวันละ 1 แสนบาร์เรล ซึ่งความกังวลของตลาดดังกล่าว ถือว่ามาเร็วเกินไป เพราะอิหร่านจะยังไม่สามารถส่งออกได้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผลมติคว่ำบาตรของสหประชาชาติเสียก่อนในต้นปีหน้า

หลายปีมานี้ อิหร่านสูญเสียโอกาสในการส่งออกน้ำมัน และทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจกับนานาชาติอย่างมาก โดยเรื่องของน้ำมัน อิหร่านจำต้องเก็บน้ำมันดิบไว้บนคลังน้ำมันลอยน้ำ (Floating Storage) มากกว่า 40 ล้านบาร์เรลเลยทีเดียว

นอกเหนือจากตลาดน้ำมันที่จะผันผวนเพราะข่าวในเบื้องต้น และผันผวนแรงขึ้นหากหลังจากต้นปีหน้าไปแล้ว อยู่ที่ปริมาณน้ำมันของอิหร่านจะเข้ามาในตลาดโลกเพิ่มอุปทานของตลาดน้ำมันให้มากขึ้นแล้ว กิจกรรมทางการค้าและการลงทุนใน 4 เรื่องหลักคือ การค้า ทองคำ น้ำมัน และปิโตรเคมิคอลของอิหร่าน ที่คู่ค้าของอิหร่านรอคอยมายาวนานในช่วงถูกคว่ำบาตร จะได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะไม่ต้องกลัวถูกขึ้นบัญชีดำจากสหประชาชาติและมหาอำนาจทั้งหลาย

ในช่วงถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ อิหร่านถูกกดดันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะมาตรการสกัดกั้นการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศของอิหร่านกับประเทศคู่ค้ามาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งมีผลให้การชำระเงินค่าสินค้ายากขึ้นกว่าเดิม เพราะธนาคารที่จะยอมเปิดแอล/ซี (Letter of Credit) ให้กับอิหร่านและคู่ค้าจะหายไป ต้องใช้เงินสดแลกสินค้าแบบหมูไปไก่มาเท่านั้น

ในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างเชื่องช้าท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นซับซ้อน ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์นี้ จะทำให้อิหร่านกลับมาเป็นส่วนหนึ่งในเวทีการค้าระหว่างประเทศอย่างมีพลังต่อไปเหมือนในอดีต โดยเฉพาะกลุ่มทุนจีน รัสเซียและชาติตะวันตกที่หวังจะเข้าไปเจาะตลาดอิหร่าน ซึ่งมีประชากร 77 ล้านคน และมีปริมาณน้ำมันสำรองใกล้เคียงกับแคนาดา 

มีประเทศเดียวที่ไม่ชอบใจกับข้อตกลงนิวเคลียร์นี้อย่างยิ่งคือ อิสราเอล ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอีกเช่นกัน เพราะศักยภาพนิวเคลียร์ของอิหร่าน จะทำให้อิสราเอลไม่สามารถข่มขู่ชาติอื่นในตะวันออกกลางได้ง่ายๆ อีกต่อไป

Back to top button