BAM เคาะราคา IPO 15.50-17.50 บ.จองซื้อ 25-29 พ.ย.นี้ ชูจุดเด่นบริหารสินทรัพย์ใหญ่สุดในไทย

เตรียมตัวให้พร้อมทำความรู้จักหุ้น BAM ที่อยู่ระหว่างการ …


เตรียมตัวให้พร้อมทำความรู้จักหุ้น BAM ที่อยู่ระหว่างการเปิดจอง IPO ผ่านธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายนนี้

  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ (BAM) คือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ (ที่มาจากการรายงานภาวะอุตสาหกรรมซึ่งจัดทำโดยบริษัทอิปซอสส์จำกัด) และมีประสบการณ์พรั่งพร้อมมากว่า 20 ปี มีสายสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงเพื่อซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) และทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) จากธนาคารและสถาบันการเงินกว่า 10 แห่ง (ไม่ควรใช้ กว่า 11 แห่ง เพราะข้อเท็จจริงคือเรารับซื้อจากสถาบันการเงิน 11 แห่ง)
  • BAM เข้าสู่ตลาดหุ้น เตรียมขาย IPO พร้อมยึด 3 ยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะคงความเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีการบริหารงานเป็นเลิศและมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสถาบันการเงินที่ขาย NPLs และ NPAs

รู้จักกับหุ้น BAM ที่กำลังจะเปิดให้จอง IPO 

บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (บสก.) หรือ BAM เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย* ที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (“NPLs”) และทรัพย์สินรอการขาย (“NPAs”) ของประเทศมากว่า 20 ปี BAM จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวนรวมกันไม่เกิน 1,535 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 280 ล้านหุ้น หุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 1,255 ล้านหุ้น และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe) จำนวนไม่เกิน 230 ล้านหุ้น รวมทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน 1,765 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5 บาท

BAM มีวิสัยทัศน์ในการ “มุ่งสู่การเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีที่สุดของประเทศ” ทั้งนี้ บริษัทฯ ประกอบธุรกิจใน  2 กลุ่มธุรกิจหลัก คือธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ  และธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย ผ่านเครือข่ายสำนักงานใหญ่ และสาขาต่าง ๆ

โดยจะซื้อ NPLs จากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์อื่น และนำมาบริหารจัดการด้วยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน

ส่วนธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (“NPAs”) จะช่วยฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพให้เป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินเปล่า โรงแรม อาคารเพื่อการพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารชุด รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์อื่น ๆ โดยบริษัทฯ ได้ทรัพย์สินรอการขายมาโดยวิธีการต่าง ๆ

Ticker ย่อที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ “BAM” ซึ่งจะเปิดจองในวันที่ 25 – 29 พ.ย.ที่จะถึงนี้ 

โดยสามารถซื้อได้ที่ธนคารสิกรไทย ธนาคารกรุง และธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา ในช่วงเวลาทำการ ทั้งนี้ ตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 3 ราย ขอสงวนสิทธิในการปิดรับจองซื้อหุ้นก่อนครบกำหนดระยะเวลาการจองซื้อหากจำนวนหุ้นที่จองซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 3 รวมกันเท่ากับ 1,765 ล้านหุ้น

***ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://investor.bam.co.th/th

ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ BAM

สำหรับผลการดําเนินงานและฐานะทางการเงินของ BAM ระหว่างปี 2559-2561 นั้น มีรายได้เติบโตเฉลี่ย 5.5% ต่อปี มีกําไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย 3.0% ต่อปี สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2562 BAM มีรายได้รวม 9,206 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 4,882 ล้านบาท  อีกทั้ง BAM มีศักยภาพในการเติบโตจาก NPLs และ NPAs ในระบบธนาคารที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ราคาประเมินของหลักทรัพย์ค้ำประกันมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของลูกหนี้ NPLs ของ BAM กว่า 2.4 เท่า (ราคาประเมินของหลักทรัพย์ค้ำประกัน = 195,554 ล้านบาท / มูลค่าทางบัญชี = 79,136 ล้านบาท)  และราคาประเมินของ NPAs ของ BAM มีมูลค่าสูงกว่า มูลค่าทางบัญชีกว่า 2.3 เท่า (ราคาประเมิน  = 54,467 ล้านบาท / มูลค่าทางบัญชี = 23,245 ล้านบาท)

จุดเด่นที่น่าสนใจของ BAM

  • เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีประสบการณ์ที่ยาวนาน
  • มีเครือข่ายสาขามากที่สุดครอบคลุมภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาด
  • มีผลการดำเนินงานในการจัดหา บริหารจัดการ และสร้างกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายที่แข็งแกร่ง
  • มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
  • มีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายและยั่งยืนเพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น
  • มีกรรมการและทีมผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์และผลงานอันเป็นที่ยอมรับ

ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 

มุ่งเน้นที่จะคงความเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีการบริหารงานที่เป็นเลิศและมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสถาบันการเงินที่ขาย NPLs และ NPAs เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน

  1. ขยายฐานทรัพย์สินของบริษัทฯ  โดยติดตามการประกาศจำหน่ายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มโอกาสในการคัดเลือก NPLs และ NPAs ที่มีศักยภาพสูง และเร่งเพิ่มสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายในพอร์ตในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
  2. ลดระยะเวลาการดำเนินการและเพิ่มผลเรียกเก็บเงินสดของบริษัท ผ่าน
    • ให้ความสำคัญกับการเจรจาประนอมหนี้กับลูกหนี้
    • การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
    • การให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามกำลังที่ลูกหนี้สามารถทำได้
    • การเน้นกิจกรรมส่งเสริมการขายเชิงรุกเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย

พร้อมกันนี้ BAM ยังนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เว็บไซต์ และช่องทาง Social Media ขององค์กร

  1. การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กร บริษัทเชื่อว่าพนักงานที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ บริษัทจึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานทั้งการอบรมภายในและการอบรมจากภายนอกองค์กรเพื่อพัฒนาความสามารถของพนักงาน รวมทั้งมีการเตรียมแผนการสืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจน

การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

BAM ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตามวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยม BAM TOUCH ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กร และค่านิยมที่เป็นรูปธรรม เหมาะสม ชัดเจน และสอดคล้องกับพันธกิจขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนให้การดำเนินธุรกิจของ BAM เป็นไปอย่างโปร่งใสมีธรรมาธิบาล โดยวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมขององค์กรที่ถือปฏิบัติทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ได้แก่ ดีต่อพนักงาน ดีต่อผู้ถือหุ้น ดีต่อลูกค้า ดีต่อสังคม ดีต่อประเทศ  เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ประการ ได้แก่ คนดี สินค้าดี สังคมดี (Good People, Good Product, Good Society)

บริษัทฯ มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยนำแนวทาง Environment, Social, Governance มาใช้อย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  เน้นการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ กิจกรรมที่บริษัทฯ ได้จัดให้มีขึ้น ได้แก่

  • การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบริษัทฯ เน้นการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่สุจริต  มีแนวทางต่างๆ มาสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็ว เช่น การลดหนี้ หรือเสนอโครงการที่มีเงื่อนไขชำระหนี้แบบผ่อนปรนพิเศษ
  • โครงการสุขใจได้บ้านคืน ที่เน้นการให้เงื่อนไขพิเศษที่ผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่อยู่อาศัยสามารถชำระหนี้และนำทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยกลับคืนได้ง่ายขึ้น
  • โครงการ BAM ช่วยฟื้นคืนธุรกิจ SME ที่ช่วยให้ลูกหนี้ SME ลดภาระการผ่อน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
  • โครงการ BAM ช่วยลดเพื่อปลดหนี้เกษตรกร ช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการเกษตรที่เป็นบุคคลธรรมดาให้สามารถชำระหนี้ในอัตรา 80% ของราคาประเมินหลักประกันแต่ไม่เกิน 100% ของเงินต้น
  • โครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับภาครัฐเพื่อพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาชุมชนในระยะยาว โดยบริษัทฯ สนับสนุนการจัดหาที่ดินให้กับสถาบันพัฒนาองค์ชุมชน (พอช.) สำหรับการสร้างบ้านให้กับชุมชนผู้มีรายได้น้อย
  • โครงการคอนโดโดนใจสบายกระเป๋า เป็นโปรแกรมผ่อนชำระสำหรับลูกค้าที่มีรายได้น้อยหรืองบประมาณจำกัด หรือเข้าไม่ถึงแหล่งสินเชื่อของสถาบันการเงิน ให้สามารถซื้อห้องชุดพักอาศัยจาก BAM โดยไม่มีเงินดาวน์ และผ่อนชำระต่องวดเริ่มต้นเพียง 1,000 – 4,000 บาท (ห้องชุดราคาไม่เกิน 500,000 บาท)

นอกจากนั้นเครื่องยืนยันที่สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน จากผลประกอบการและระยะเวลาดำเนินกิจการของ BAM ตลอด 20 ปี ที่ตั้งปณิธานของทีมผู้บริหารเพื่อ ‘มุ่งสู่การเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีที่สุดของประเทศ’ ช่วยฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยการพัฒนาทรัพย์สินรอการขายที่มีศักยภาพ ให้เป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลอดมากยิ่งขึ้น และให้ความสำคัญต่อการบริหารงานที่เป็นเลิศ

ผู้สนใจสามารถจองซื้อหุ้น IPO ของ BAM ได้ที่ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายนนี้ ที่ช่วงราคาเสนอขาย 15.50-17.50 บาทต่อหุ้น (ประชาชนทั่วไปจะต้องจ่ายเงินจองซื้อ 17.50 บาทต่อหุ้น) ทั้งนี้ คาดว่าหุ้นสามัญของบริษัทจะสามารถเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ โดยรายละเอียดจะได้มีการแจ้งให้ทราบต่อไป

*หมายเหตุ: โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Back to top button