“ดาวน์ฟิวเจอส์” เด้ง 102 จุด แม้ตัวเลขว่างงาน “มะกัน” พุ่งทุบสถิติสูงสุด 3.28 ล้านราย

“ดาวน์ฟิวเจอส์” เด้ง 102 จุด แม้ตัวเลขว่างงาน “มะกัน” พุ่งทุบสถิติสูงสุด 3.28 ล้านราย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ เวลา 20.15 น. ตามเวลาประเทศไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์บวก 102.5 จุด หรือ 0.49% สู่ระดับ 21,128.5 จุด โดยถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับตัวเลขการว่างงานของสหรัฐอเมริกาที่ออกมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดย กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกพุ่งขึ้น 70,000 ราย สู่ระดับ 281,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.2560 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 220,000 ราย โดยการพุ่งขึ้นของตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานมีสาเหตุจากการที่ภาคธุรกิจแห่ปลดพนักงาน ท่ามกลางผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 16,500 ราย สู่ระดับ 232,250 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.2561

ทั้งนี้ ตัวเลขว่างงานที่ประกาศออกมานั้นอยู่ในระดับแย่มาก ตามที่ได้มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ตัวเลขยังจะมีการแก้ไขเพิ่มขึ้นอีก หรือไม่ก็จะเห็นตัวเลขที่สูงขึ้นกว่านี้อีกในอาทิตย์หน้า เพราะถ้าดูจากแคลิฟอร์เนียที่ประกาศตัวเลขออกมาเพียง 186,809 คน ทั้งๆที่ผู้ว่าการรัฐกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่ามีถึงเกือบ 1 ล้านคน

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้มีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขผู้ว่างงานในประเทศระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค.63 อาจพุ่งสูงถึง 1-4 ล้านราย โดยเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ (Lockdown) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายรัฐ ที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวเป็นจริง จะเป็นตัวเลขผู้ว่างงานของสหรัฐที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1982 ที่บันทึกไว้ที่ระดับ 695,000 ราย

โดย นายสตีเฟน แกลลาเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากนิวยอร์ก ระบุว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่เพิ่งบังคับใช้ในหลายรัฐของสหรัฐฯ กำลังส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ดังนั้นจึงเห็นจำนวนแรงงานผู้ยื่นขอรับสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้น ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันมีอย่างน้อย 18 รัฐที่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ส่งผลผลกระทบต่อแรงงานราว 50% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ

ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวมาจากผลสำรวจความเห็นและการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์หลายราย ที่มองว่าตัวเลขแรงงานสหรัฐฯที่ยื่นขอรับสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์จะเพิ่มสูงขึ้น โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการที่จะประกาศในวันนี้ (26 มี.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นดัชนีชี้วัดภาวะว่างงานในตลาดแรงงานที่สำคัญ และยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯอีกด้วย

Back to top button