เคาะ 7 หุ้นอาหาร-เครื่องดื่มตัวท็อป! ลุ้นกำไร Q2 สดใส-H2/63 โตเด่นต่อเนื่อง

เคาะ 7 หุ้นอาหาร-เครื่องดื่มตัวท็อป! ลุ้นกำไร Q2 สดใส-H2/63 โตเด่นต่อเนื่อง


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการสำรวจกลุ่มหุ้นอาหารและเครื่องดื่มมานำเสนอ เนื่องจากมีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารได้อานิสงส์จากราคาเนื้อสัตว์ที่ขยับสูงขึ้น

ด้านกลุ่มเครื่องดื่มนอกจากยอดขายจะโตได้จากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งการคุมรายจ่าย ลดโฆษณาโปรโมชั่นยังช่วยผลักดันกำไร และมีข่าวดีของกลุ่ม Functional drink ที่มีส่วนผสมของน้ำผักผลไม้ไม่ต่ำกว่า 10% อาจได้ลดภาษีเครื่องดื่มเหลือ 3% จาก 10%

นอกจากนี้แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/63 ในกลุ่มดังกล่าวคาดจะออกมาโดดเด่น และสดใสต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง 2563 จากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ Work from home น้อยลง และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ

อีกทั้งการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด (Travel Bubble)  อีกทั้งกลุ่ม Food Service (ร้านอาหาร โรงแรม) กลับมาเปิดมากขึ้น คาดว่าทำให้การอุปโภคบริโภคฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นตาม Demand ที่ฟื้นตัว โดยกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว อาทิ CPF,TFG,OSP,CBG, ICHI, SAPPE,TACC  ตามบทวิเคราะห์ที่ระบุไว้ดังนี้

บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดว่า SET Index จะแกว่งพักตัวในกรอบ 1,360-1,380 จุด ตลาดขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นในระยะสั้นหลังจากที่ปรับตัวขึ้นตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมารับความคาดหวังเรื่องเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากการ Reopen Economy รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและการคลังทั่วโลกเป็นอีกปัจจัยหลักที่ช่วยหนุนการฟื้นตัว

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาณการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ในหลายประเทศซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ยังไม่ได้สะท้อนในดัชนีมากนักจึงมองการเคลื่อนไหวของตลาดในระยะนี้จะค่อนข้างผันผวน โดยหาก SET Index มีจังหวะพักฐานลงหากรอบ 1,330-1,350 จุด+- ซึ่งเทียบเท่า 2021PER อิง 15.7 เท่าและ Earning Yield Gap ราว 5%

มองเป็นจังหวะในการทยอยสะสมหุ้นพื้นฐาน โดยเน้นกลุ่ม Domestic Play เป็นหลัก เช่น อาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ โรงไฟฟ้า สื่อสารฯ เป็นต้น

ด้านกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มแกร่งกว่าตลาด กลุ่มอาหารได้อานิสงส์จากราคาเนื้อสัตว์ที่ขยับสูงขึ้นชอบ CPF ส่วน TFG แนะนำเพียงเก็งกำไร ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มนอกจากยอดขายจะโตได้จากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน การคุมรายจ่าย ลดโฆษณาโปรโมชั่นยังช่วยผลักดันกำไร

นอกจากนี้กลุ่มเครื่องดื่ม Functional drink ที่มีส่วนผสมของน้ำผักผลไม้ไม่ต่ำกว่า 10% อาจได้ลดภาษีเครื่องดื่มเหลือ 3% จาก 10% ข่าวนี้เป็นบวกต่อ SAPPE ที่สุดเพราะมีรายได้จาก Functional drink 15-20% มากกว่ารายอื่น รองลงมาคือ OSP (C-vitt)  ส่วน CBG ไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ คาดว่าจะน่าจะมีความชัดเจนใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า กลุ่มเครื่องดื่มเป็นกลุ่มที่ยังคง Overweight แนะนำซื้อ OSP, CBG, ICHI, SAPPE, TACC 

โดย SAPPE แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 12 เดือนข้างหน้า 22 บาท คำสั่งซื้อเริ่มฟื้นหลัง Reopen ขณะที่บริษัทออกสินค้าเดิมแต่ไซส์ลดลง ราคาต่ำลงเน้นลูกค้ากลุ่ม Mass และเริ่มขาย B’LUE ในตลาดกัมพูชาและลาว และมีแผนออกสินค้าใหม่ในช่วงที่เหลือของปีทั้งแบรนด์ SAPPE และแบรนด์ร่วมกับ Danone ภาษีสรรพสามิตจะปรับลดลงตั้งแต่ไตรมาส 3/63 เพราะปรับสูตรเครื่องดื่มเสร็จแล้ว คาดกำไรปีนี้ -14% คาดปีหน้า +31% แม้ราคาหุ้นบวกแรงวานนี้แต่ยัง Laggard กลุ่มเครื่องดื่ม PE สิ้นปีนี้อยู่ที่ 18 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มถึง 30%

ด้าน TACC แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายปรับขึ้นเป็น 5.80 บาท คาดกำไรไตรมาส 2/63 ทรงตัวได้เทียบไตรมาสก่อนหน้า, เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีมาก เพราะการบริหารต้นทุนวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและ product mix จากการออกเครื่องดื่มขนาดใหม่ใน All caf? หักล้างการปรับลงของรายได้ได้หมด

แนวโน้มกำไรครึ่งหลังปี 2563 ดีต่อเนื่อง ปรับกำไรปี 2563 ขึ้น 8% เป็น 165 ลบ. +2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนดีกว่าเดิมที่คาดว่า -6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดโตต่อเนื่อง +12% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนในปีหน้า ประมาณการของมี upside จากการเป็น Supplier ให้ร้าน 7-11 ในกัมพูชาและ Tesco ภายหลังเข้ามาอยู่ในเครือซีพี

ส่วน ICHI แนวโน้มกำไรไตรมาส 2/63 ดีกว่าที่เคยคาด จากการคุมต้นทุนและลดรายจ่ายทางการตลาด ชดเชยรายได้ที่ลดลงได้ คาดกำไรสุทธิ 140 ลบ. -12% เทียบไตรมาสก่อนหน้า, +2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและจะโตต่อในครึ่งหลังปี 2563 หลังออกสินค้าใหม่กลุ่ม Functional drink (น้ำผสมวิตามินบีรวม PH Plus 8.5 ขายใน 7-11 ต้น มิ.ย.)

ซึ่งเป็น segment เดียวที่โตได้ และกำลังเจรจากับ distributor รายใหม่ในพม่า ปรับกำไรปีนี้ขึ้น 18% เป็น 525 ลบ. +19% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ +10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนปีหน้า ปรับเป้าปีนี้ขึ้นเป็น 8.50 บาท (PE 21 เท่า) ยังแนะนำซื้อ

 

บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า  ตลาดในช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงของการเลือกทิศทางว่าจะไปต่อหรือปรับฐาน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะเข้ามาจากภายนอกเป็นสำคัญ โดยปัจจัยที่ให้ความสำคัญในเชิงบวกก็จะมี 1) การค้นพบวัคซีนรักษา COVID-19 ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาในการทดสอบอีกหลายเดือน

2)การเจรจาปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน 3) สภาพคล่องทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงจากการอัดฉีดเม็ดเงินของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ในส่วนของปัจจัยเชิงลบได้แก่ 1) การกลับมาระบาดรอบ 2 ของ COVID-19 ในสหรัฐ ยุโรปและจีน 2) ตัวเลขเศรษฐกิจและผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะออกมาแย่ในไตรมาส 2/20 3) Valuation ของตลาดที่สูง โดยซื้อขายที่ PER 21 เท่าของปีนี้และ 17.3 เท่าของปีหน้า

ดังนั้นคาดว่าในช่วงนี้ตลาดจะมีการสลับกลุ่มเล่น (sector rotation) โดยขายทำกำไรกลุ่มที่ปรับขึ้นมาก่อนในระยะสั้น แล้วกลับไปซื้อเก็งกำไรหุ้นกลุ่มที่ยังปรับขึ้นช้ากว่า (laggard) โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นมามากในระยะสั้นและน่าจะเป็นเป้าหมายในการทยอยขายทำกำไรหรือ shortนระยะสั้นได้แก่ กลุ่มโรงแรมและการท่องเที่ยว กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มเดินเรือ กลุ่มการบิน กลุ่มเครื่องดื่ม

 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ปรับมุมมองสำหรับกลุ่มอาหารจาก ปานกลาง เป็น เป็นบวก กลุ่มอาหารถูกกระทบไม่มากนักในช่วงครึ่งแรกปี 2563 จากการระบาดของโควิด-19 โดยคาดว่าผลประกอบการจะเติบโตดีขึ้นในครึ่งหลังปีนี้ เนื่องจากการคลายล็อกดาวน์ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ทำให้การบริโภคและราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการขยายกำลังการผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม

ประเมินความน่าสนใจในการลงทุนในครึ่งปีหลัง 2563 สำหรับกลุ่มอาหารที่ทำบทวิเคราะห์ (CPF, OSP, TU และ GFPT) โดยใช้ Scorecard พบว่า CPF ได้คะแนนสูงสุดจากแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 40.20 บาท

คาด CPF กำไรไตรมาส 2/63 ยังแข็งแกร่งและเติบโตได้ดีเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจุบันราคาหมูในเวียดนามสูงกว่าช่วงไตรมาส2/62 มากกว่า 60% อีกทั้งราคาไก่และหมูในไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากผ่อนคลาย Lockdown ซึ่งคาดว่าจะทำให้ภาคการบริโภคในประเทศค่อยๆฟื้นตัวในช่วงถัดไป ส่วน GFPT คะแนนน้อยสุด แนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 12.40 บาท

ผลประกอบการไตรมาส 1/63 ของกลุ่มอาหารดีกว่าคาดได้รับผลกระทบไม่มากจากการล็อกดาวน์ แต่คาดว่าจะเห็นผลกระทบมากขึ้นในไตรมาส2/63เนื่องจากเดือน เม.ย. มีการยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ เคอร์ฟิว และ Work from home ส่งผลให้การบริโภคชะลอและราคาเนื้อสัตว์ลดลง โดยกลาง-ปลายเดือน เม.ย. ราคาหมูต่ำสุดของปีที่ 56 บาท/กก. ราคาไก่ต่ำสุดที่ 28 บาท/กก.

อย่างไรก็ดี การบริโภคค่อยๆฟื้นตัวหลังการคลายล็อกดาวน์ในเดือน พ.ค. ทำให้ราคาหมูปัจจุบันฟื้นตัวเป็น 68 บาท/กก. และราคาไก่ 33 บาท/กก.

สำหรับกลุ่มเครื่องดื่มยังขยายตัวในไตรมาส 1/63 โดยตลาดเครื่องดื่มชูกำลังมีการเติบโต 0.6% และ ตลาด Functional drink เติบโต 16% อย่างไรก็ดี คาดว่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังจะชะลอในไตรมาส2/63เนื่องจากการล็อกดาวน์ แต่ตลาด Functional drink ยังมีแนวโน้มเติบโตดีจากกระแสรักษาสุขภาพ และการเปิดตัวสินค้า Woody C+ Lock

การผ่อนคลายล็อกดาวน์ Work from home น้อยลง เปิดเทอม มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ การเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด (Travel Bubble) อีกทั้งกลุ่ม Food Service (ร้านอาหาร โรงแรม) กลับมาเปิดมากขึ้น คาดว่าทำให้การอุปโภคบริโภคฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นตาม Demand ที่ฟื้นตัว

ขณะที่กลุ่มร้านค้าอาหารมีแนวโน้มค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2563 แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากมาตรการรักษาระยะห่าง และความกังวลการระบาดของโควิด-19 ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มจะเติบโตจากการขยายกำลังการผลิตและออกสินค้าใหม่ โดยเฉพาะFunctional drink ซึ่งคาดว่าเติบโตดีต่อและได้ประโยชน์หากมีการลดภาษีสรรพสามิต

*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button