ครม. เคาะกรอบงบฯ ปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านลบ. ขาดดุล 7 แสนลบ. สั่งหน่วยงานรัฐลดรายจ่ายประจำ

ครม. เคาะกรอบงบฯ ปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านลบ. ขาดดุล 7 แสนลบ. สั่งหน่วยงานรัฐลดรายจ่ายประจำ


รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (5 ม.ค.64) มีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยประมาณการรายจ่ายไว้ที่ 3,100,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 185,962.5 ล้านบาท หรือลดลง 5.66%

โดยเป็น รายจ่ายประจำ 2,354,403.3 ล้านบาท ลดลง 183,249 ล้านบาทจากปีก่อน หรือลดลง 7.22% คิดเป็นสัดส่วน 75.95% ของวงเงินงบประมาณ, รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 596.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.02% ของวงเงินงบประมาณ, รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย 25,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.81% ของวงเงินงบประมาณ, รายจ่ายลงทุนจำนวน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาทจากปีก่อน หรือคิดเป็น 1.01% คิดเป็นสัดส่วน 3.22% ของวงเงินงบประมาณ

ขณะที่รายได้สุทธิ จำนวน 2,400,000 ล้านบาท ลดลงจาก 277,000 ล้านบาท หรือลดลง 10.35%

ส่วนงบประมาณขาดดุล 700,000 ล้านบาท เป็นการขาดดุลเพิ่มขึ้น 91,037.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.95% คิดเป็น 4.04% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

ทั้งนี้ การจัดทำวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 อยู่บนสมมติฐานที่คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะขยายตัวในช่วง 3.0-4.0% และอัตราเงินเฟ้อ 0.7-1.7%

พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้

1) การลงทุนของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย การลงทุนจากเงินงบประมาณของภาครัฐ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนโดยใช้เงินจากกองทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) และการลงทุนจากต่างประเทศ

2) ควรมีการกำหนดเงื่อนไขของการใช้ง่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะการใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากับผู้ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่อยู่ระหว่างหางานทำ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขให้มีการฝึกอบรมทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ถูกเลิกจ้างในการหางานทำต่อไป และทำให้การใช้ง่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3) เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของประเทศและความยั่งยืนในระยะต่อไปตามแผนการคลังระยะปานกลาง จึงเห็นควรให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนมากขึ้น และชะลอรายจ่ายประจำที่สามารถดำเนินการได้

Back to top button