สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 ม.ค. 2564

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 ม.ค. 2564


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐหลังจากเปิดเผยรายงานผลประกอบการ และบรรดานักลงทุนวิตกว่า แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของนายโจ ไบเดน อาจจะส่งผลให้มีการปรับขึ้นภาษีนิติบุคคลตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,814.26 จุด ลดลง 177.26 จุดหรือ -0.57%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,768.25 จุด ลดลง 27.29 จุด หรือ -0.72% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,998.50 จุด ลดลง 114.14 จุด หรือ -0.87%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดมากขึ้น, ความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ไปยังยุโรป และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้นในจีน ได้ทำลายความหวังที่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 407.85 จุด ลดลง 4.15 จุด หรือ -1.01%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,611.69 จุด ลดลง 69.45 จุดหรือ -1.22%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,787.73 จุด ลดลง 200.97 จุด หรือ -1.44% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,735.71 จุด ลดลง 66.25 จุด หรือ -0.97%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่า มาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,735.71 จุด ลดลง 66.25 จุด หรือ -0.97%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) โดยถูกกดดันจากแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง ขณะที่มีการล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 1.21 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 52.36 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้น 0.2% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 1.32 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 55.10 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวลง 1.6% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) โดยถูกกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่นๆ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 21.5 ดอลลาร์ หรือ 1.16% ปิดที่ 1,829.94 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวลง 0.3% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 93.6 เซนต์ หรือ 3.63% ปิดที่ 24.866 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 36.5 ดอลลาร์ หรือ 3.24% ปิดที่ 1,089.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 28.20 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 2,395.10 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการเปิดเผยยอดค้าปลีกที่อ่อนแอของสหรัฐ

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.59% แตะที่ 90.7700 เมื่อวันศุกร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 103.86 เยน จากระดับ 103.79 เยน, ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8910 ฟรังก์ จากระดับ 0.8877 ฟรังก์ และดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2728 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2637 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2079 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2155 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3581 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3681 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7709 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7783 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button