FPI คาดรายได้ปีนี้โต 15% แตะ 2.1 พันลบ. รับกลยุทธ์เจาะตลาด B2C-ตุนแบ็กล็อกแน่น 700 ลบ.

FPI คาดรายได้ปีนี้โต 15% แตะ 2.1 พันลบ. รับกลยุทธ์เจาะตลาด B2C-ตุนแบ็กล็อกแน่น 700 ลบ.


นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI เปิดเผยว่า คาดว่ายอดขายในไตรมาส 1/64 ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และประสบปัญหาค่าระวางสินค้าที่แพงขึ้น รวมทั้งขาดแคลน เหล็ก วัตถุดิบ ตู้สินค้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักในการส่งออก สืบเนื่องจากสถานการณ์เรือติดค้างที่คลองสุเอซจำนวนมาก ทำให้มีตู้คอนเทนเนอร์ติดอยู่กว่า 200,000 ตู้ จึงส่งผลให้ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน

โดยเฉพาะในโซนแอฟริกาตอนบน ที่เมื่อก่อนมีค่าขนส่ง (Freight) อยู่ประมาณ 1,000-2,000 เหรียญ ปัจจุบันอยู่ที่ 10,000 เหรียญ ซึ่งสูงขึ้นถึง 500% รวมถึงโซนยุโรปด้วย ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าทั้งโซนยุโรปและแอฟริกาชะลอการสั่งสินค้าออกไปแม้ก่อนหน้าจะมีออเดอร์แล้ว อย่างไรก็ตามค่า Freight ของตู้ที่คาดว่าจะลดลงในไตรมาส 2/64 นี้ โดยรวมอาจยังลดลงไม่มากเท่าที่คาดไว้

นอกจากนี้ ยอดขายในไตรมาส 1/63 เติบโตดี เนื่องจากมาเลเซีย และประเทศจีนมีการปิดประเทศเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ ออเดอร์ทั้งหมดมาที่บริษัท ทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี

ทั้งนี้ ในปี 2564 คาดรายได้เติบโต 15% ที่ 2,150 ล้านบาท จากปี 2563 อยู่ที่ 1,858 ล้านบาท จากการวางกลยุทธ์เจาะตลาด B2C เพิ่มการทำงานแบบ 3D Printing พร้อมการให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับพลังงานผ่าน FPIS ด้วย ทั้งนี้สัดส่วนรายได้คาดว่ามาจากอินเดียที่ 200 ล้านบาท และโปร์เจกต์ต่อเนื่องรวม OEM กว่า 400 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนจากการส่งออกกว่า 80-85% และจากในประเทศที่ 15-20%

รวมถึงบริษัทมีปริมาณงานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 600-700 ล้าน ซึ่งรวมโครงการที่เข้ามาใหม่จากอินเดียด้วย โดยปีนี้คาดว่าจะส่งมอบได้ประมาณ 400 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในปีนี้บริษัทฯ เปิดธุรกิจใหม่ ประกอบด้วยการออกแบบ 3D printing ที่ลงทุนซื้อเครื่องเข้ามาในช่วงต้นปีที่ค่าเงินบาทแข็งค่า โดยจะเน้นกลุยุทธ์ B2C เพราะมองว่าตลาด

“ปีนี้ชิ้นส่วนยานยนต์กลับมาได้เร็ว วัตถุดิบอาจมีโอกาสขาดแคลนหรือปรับขึ้นราคาสูง บริษัทจึงล็อคราคาสินค้าตั้งแต่ต้นปี จึงทำให้บริษัทสามารถซื้อสินค้าวัตถุดิบในราคาเดิมได้ ซึ่งทำให้ราคาต้นทุนของบริษัทไม่สูงขึ้นตามไปด้วย ด้านเม็ดพลาสติกมีราคาสูงขึ้น ในปีที่ผ่านมาจนถึงมกราคมปีนี้ บริษัทได้มีการทำสัญญาเม็ดพลาสติกยาวไปถึงปลายปีแล้ว” 

ด้านแผนการดำเนินงานในระยะยาว บริษัทมองว่าประเทศอินเดียจะเป็นฐานการผลิตต้นทุนต่ำ (Low cost Base Production) ของบริษัท ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับทางบริษัทลูกค้าหลายรายที่จะย้ายแม่พิมพ์รุ่นเก่าๆ ในไทยไปยังอินเดีย เนื่องจากกำไรขั้นต้นในไทยมีน้อยมาก แต่หากไปที่อินเดียต้นทุนการผลิต (cost of production) จะถูกลงถึง 30% ซึ่งจะสามารถเพิ่มกำไรขั้นต้นขึ้นมาในอินเดียได้ ทั้งนี้ยังคงเป็นแผนของปี 65 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ในอินเดียขณะนี้ยังคงมีการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ โดยในปีนี้จะเน้นการดำเนินงานของการผลิตชิ้นส่วน OEM เป็นหลักก่อน

Back to top button