นักลงทุน ปีศาจ กับยิวเร่ร่อนพลวัต2015

ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นผันผวนด้วยปัจจัยหลากหลาย หาทิศทางที่ชัดเจนไม่ได้ ก็มีคนเปรียบเปรยว่า การเก็งกำไรในตลาดหุ้น เปรียบได้กับการทำข้อตกลงกับปีศาจ ซึ่งสามารถตีความได้หลายนัยๆ ขึ้นกับปูมหลัง เพราะเรื่องราวของการเก็งกำไรนั้น มีความแปรปรวนไม่แน่นอน คนที่โชคดี มักจะมีน้อยกว่าคนที่ขาดทุน หรือติดยอด


ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นผันผวนด้วยปัจจัยหลากหลาย หาทิศทางที่ชัดเจนไม่ได้ ก็มีคนเปรียบเปรยว่า การเก็งกำไรในตลาดหุ้น เปรียบได้กับการทำข้อตกลงกับปีศาจ ซึ่งสามารถตีความได้หลายนัยๆ ขึ้นกับปูมหลัง เพราะเรื่องราวของการเก็งกำไรนั้น มีความแปรปรวนไม่แน่นอน คนที่โชคดี มักจะมีน้อยกว่าคนที่ขาดทุน หรือติดยอด

ความสำเร็จที่ง่ายดายของนักลงทุนบางคน จึงถูกเปรียบเปรยเข้ากับนิทานเก่าแก่ของยุโรปว่าด้วยการทำข้อตกลงกับปีศาจ

ในขณะที่ความล้มเหลวซ้ำซาก ถูกนำไปเปรียบเปรยกับตำนานเก่าแก่ของคริสต์ว่าด้วย ยิวเร่ร่อน

ทั้งสองเรื่องราว ต่างกันโดยสิ้นเชิง เรื่องแรกเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศาสนา และอยู่นอกคริสต์ศาสนา ส่วนเรื่องหลังอิงเข้ากับคริสต์ศาสนา 

ตำนานว่าด้วยข้อตกลงกับปีศาจ เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคกลางของยุโรป  ซึ่งศาสนาคริสต์มีอำนาจนำเหนือจิตวิญญาณของผู้คน  โดยเอาเรื่องหลากหลายมาผสมปนเปกันไป  โดยโยงใยเข้ากับตำนานเก่าแก่ของยิวว่าด้วย 72 ปีศาจ ซึ่งปรากฏในตำรา Ars Goetia ซึ่งมีการแปลและตีความหลากหลาย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวที่โยงเข้ากับคริสต์ศาสนาบางส่วน ว่าด้วยเรื่องของพฤติกรรมแบบเดียรถีย์ หรือคนนอกรีต

ต่อมา ตำนานดังกล่าว ขยายความเพิ่มเติมให้เลวร้ายเพื่อเตือนใจ โดยต่อยอดไปถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดา อย่าง ธีโอฟีลัส และ เฟ้าส์ตัส  ซึ่งดิ้นรนเกินความสามารถของตนเองโดยยอมขายวิญญาณให้กับปีศาจ และเป็นที่มาของการพยายามควบคุมหรือกำจัดคนที่มีความสามารถพวกนี้ โดยถือว่าเป็นพ่อมด หรือแม่มดในสังคมยุโรปมายาวนาน

                จากนั้น ก็มีการขยายความเพิ่มเติมไปถึงตำนานบุคคลในนิทานพื้นบ้าน เช่น คนเป่าขลุ่ยแห่งเมืองเฮมลินในยุคกาฬโรคระบาดหนักของยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 และเรื่องของ ฟลายดิ้ง ดัทช์แมน ปีศาจชาวดัตช์กลางทะเลลึกในแหลมกู๊ดโฮปคริสต์สตวรรษที่ 18

การทำข้อตกลงกับปีศาจ จึงกลายเป็นตำนานเล่าขานไปทั่วทุกสังคม โดยเฉพาะเมื่อมีการตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เก่งฉกาจและมีความคิดแหกคอกจากจารีตของสังคม ว่าเป็นพวกทำข้อตกลงกับปีศาจ

แม้กระทั่งงานวิศวกรรมที่โดดเด่นในยุคมืด อย่างเช่น สะพานปีศาจ หรือ Devil’s Bridges ก็ยังคงมีตำนานหลอกนักท่องเที่ยวปัจจุบันให้ไปเยือนได้เรื่อยๆ

ความเพี้ยนของตำนานและนิทานเกี่ยวกับข้อตกลงปีศาจ ที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มักจะใช้อธิบาย คนที่ถูกกล่าวหาคบคิดปีศาจว่าจะเป็นคนที่มีความสามารถผิดธรรมดา และมีลักษณะคุกคามผู้มีอำนาจเดิมในสังคมอย่างไร้เหตุผลในฐานะ “ผู้ร้าย” แบบตัวละคร “โจ๊กเกอร์” ในการ์ตูนชื่อดังมนุษย์ค้างคาวของอเมริกันที่เอามาผลิตซ้ำเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ หลอกเอาเงินตามโรงภาพยนตร์นับครั้งไม่ถ้วน

ในยุควิทยาศาสตร์เฟื่องฟูแทนที่ศาสนา การคิดนอกกรอบ กลายเป็นสัจธรรมใหม่ ที่ทำให้ข้อกล่าวว่าทำข้อตกลงกับปีศาลเบาบางลงไป โดยเฉพาะนักลงทุนในตลาดหุ้นนั้น การคิดนอกกรอบทำนองเดียวกับลอร์ด นาธาน ร็อธ ไชลด์ที่ว่า ”หากเลือดนองพื้นถนนให้เข้าซื้อ” และ ”ให้ขายเมื่อเสียงแตรแห่งชัยชนะเกิดขึ้น” กลายเป็นทิศทางใหม่ โดยเฉพาะนักลงทุนในตลาดเก็งกำไร

มุมมองเช่นนี้ ทำให้เกิดทัศนคติใหม่ ที่มองนักลงทุนในตลาดหุ้นที่มักจะตกเป็นเหยื่อของการเก็งกำไรเสมอซ้ำซากว่า มีสภาพเหมือนคนที่ต้องคำสาปมิให้ประสบความสำเร็จยาวนาน คล้ายกับตำนานของยิวเร่ร่อน

เรื่องยิวเร่ร่อน ที่ชื่ออาฮาซูรัส (Ahasuerus) อันขึ้นชื่อลือชามากที่สุดที่ตอกย้ำถึงคำสาปนิรันดร์ที่เหมาะจะเป็นมายาคติมากกว่าข้อเท็จจริง

 ยิวคนนี้เล่ากันว่า เป็นชาวยูดาย ที่บังเอิญไปยืนริมทางซึ่งพระเยซูถูกบังคับโดยทหารโรมันให้แบกไม้กางเขนไปสู่แดนประหารที่ยอดเขาเมืองเยรูซาเล็ม

ระหว่างการเข้าสังเกตการณ์นั้น อาฮาซูรัสได้เปล่งเสียงตะโกนด่าว่าพระเยซูอย่างหยาบช้า และ ถูกพระเยซูสาปให้มีชีวิตอมตะ แต่ต้องเร่ร่อนไปยาวนานทั่วโลก จนกระทั่งวันพิพากษาโลกจะมาถึง

ตำนานแห่งยิวเร่ร่อนนั้น ถูกขยายความให้เกินเลยมากขึ้นไปเมื่อถูกนำมาผสมกับนิทานพื้นเมืองสารพัดชาติ กลายเป็นว่า เอาเข้าจริง ยิวเร่ร่อนคนนี้คือคนเฝ้าประตูของฟอนเตียส ไฟเพล เจ้าเมืองเยรูซาเล็ม โรมันที่สั่งการให้สังหารพระเยซู และระหว่างที่ต้องคำสาป ต้องมีอาชีพค้าขายเก็งกำไร และเย็บรองเท้า

บทบาทของยิวเร่ร่อนที่ต้องคำสาปนี้ เอามาเปรียบเทียบใช้กับนักลงทุนระดับแมงเม่าในตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน แต่คงไม่พาดพิงถึงใครเป็นพิเศษ เพราะกลัวว่าจะถูกใช้สิทธิพาดพิงสวนกลับ แล้วถูกคำสั่งคุ้มครองจากศาล

 

Back to top button