6 หุ้นเชิดหน้าชูตา

ล่าสุดของปี 2559 ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มหันหัวขึ้นได้เสียที หลังจากดิ่งหัวลงอย่างหนักมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางปี 2557 ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่เป็นขาลง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ชะลอตัวล


–เส้นทางนักลงทุน–

 

ล่าสุดของปี 2559 ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มหันหัวขึ้นได้เสียที หลังจากดิ่งหัวลงอย่างหนักมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางปี 2557 ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่เป็นขาลง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ชะลอตัวลง

ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในช่วงระยะสั้นนี้ อาจทำให้นักลงทุนกลับมาเน้นหนักที่หุ้นเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น

เนื่องจากหุ้นในกลุ่มดังกล่าว มีหุ้นที่ร้อนแรงและมีสีสันที่สุดในตลาดหุ้นนั้น คือหุ้นที่ผลิตหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ มักปรับตัวขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวโดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจร้อนแรง และสถานการณ์ร้อนแรงในช่วงเร็ว หุ้นโภคภัณฑ์บางตัวหรือบางกลุ่มจะปรับตัวหรือขึ้นหวือหวามาก เพราะต้องถือว่าเป็นหุ้นยอดนิยมในตลาดหุ้นไทย

ทั้งนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวของกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัว ได้แก่ ราคาน้ำมัน ราคากากถั่วเหลือง ราคายาง ราคาน้ำตาลโลก และราคาเหล็กโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมีการหยิบยกหุ้นที่ได้รับผลประโยชน์ขึ้นมาชูแก่นักลงทุน โดยเฉพาะหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรืออานิสงส์สูงสุดเท่านั้น โดยมี 6 หุ้นที่น่าจะเชิดหน้าชูตามากที่สุดของและกลุ่มธุรกิจที่มีการปรับตัวขึ้น

ในแง่ราคาน้ำมันดิบดูไบ สามารถขยับขึ้นมายืนเหนือ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากปัญหา Oversupply ที่เริ่มผ่อนคลายลง ทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 22% ใกล้เคียงสมมุติฐาน ของ บล. เอเซีย พลัส ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2559 และ 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในปี 2560 แต่ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 32 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทั้งนี้ หุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำ คือหุ้น PTTหรือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ PTTEPหรือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตามให้ขายทำกำไรหุ้นโรงกลั่น ซึ่งหลังจากนี้คาดจะเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาล ทำให้ค่าการกลั่นมีแนวโน้มลดลงชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 59 ประกอบกับราคาหุ้นโรงกลั่นขึ้นมาชนะตลาดฯ ต่อเนื่อง

ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ขยับขึ้นเร็วกว่าน้ำมัน คือ ราคายางพาราพบว่าปรับตัวขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าราคาน้ำมัน ซึ่งราคายางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้น 53%ytd มาอยู่ที่ 1803 เหรียญฯต่อตัน และยางแท่งปรับตัวขึ้น 34%ytd มาอยู่ที่ 1571 เหรียญฯต่อตัน ซึ่งนับว่าดีที่สุดในหุ้น STAหรือ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

ส่วนด้านราคากากถั่วเหลืองที่ปรับตัวขึ้นกว่า 14.72% ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมานั่น ล่าสุด 317.20 เหรียญต่อตัน (ย่อตัวเล็กน้อย หลังจากขึ้นไปสู่ระดับ 328 เหรียญต่อตันในสัปดาห์) สาเหตุจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในบราซิล ส่งผลให้ปริมาณการถั่วเหลืองออกมาน้อยลง แต่ความต้องการใช้เพื่อทำเป็นอาหารสัตว์มากขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าดีสุดต่อหุ้น TVO หรือ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตกากถั่วเหลืองจำหน่ายในประเทศรายใหญ่

สำหรับราคาน้ำตาลโลกที่ยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด 15.63 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้น 9.37% หลังจากย่อตัวระดับ 14 เซ็นต์ต่อปอนต์เมื่อกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปทดสอบ High เดิมที่ 16.71 เซ็นต์ต่อปอนด์ ซึ่ง ณ ระดับราคาปัจจุบันใกล้เคียงกับ สมมติฐานที่นักวิเคราะห์ บล. เอเซีย พลัส ประเมินไว้ที่ 15.5 เซ็นต์ต่อปอนด์ ซึ่งเชื่อว่ามีโอกาสจะดีกว่าสมมติฐานได้ ผลดังกล่าวจะดีต่อผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง KSLหรือ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) เนื่องจากโครงสร้างรายได้มาจากน้ำตาล 70%และยังมีการกระจายไปยังธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอทานอล และโรงไฟฟ้า ขณะที่ราคาปัจจุบันยังมี upside สูงถึงกว่า 20%

และด้านราคาเหล็กโลก พบว่าราคาสินแร่เหล็ก 62% Fe ที่ท่าเรือ Tianjin ล่าสุด อยู่ที่ 65.5 เหรียญต่อตัน ปรับตัวลดลง 5% จากระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน ที่ 68.7 เหรียญต่อตัน แต่นับว่ายังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาสินแร่เหล็กปีนี้เพิ่มขึ้นแรงกว่า 50% ซึ่งนับว่าดีต่อผู้ประกอบการเหล็ก อย่าง TMTหรือ บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) สิ่งสำคัญ นักวิเคราะห์กลุ่มพื้นฐานก็ได้ปรับประมาณการกำไรของบริษัทขึ้น โดยคาดว่ากำไรงวดไตรมาส 1 ปี 59 โดดเด่นมากที่ 265 ล้านบาท เติบโต 3.1 เท่าตัวจากงวดเดียวกันของไตรมาสก่อน และเติบโต 2.8 เท่าตัว จากงวดเดียวกันของปีก่อน

สัญญาณดังกล่าวน่าจะทำให้ภาคธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง พร้อมช่วงส่งเสริมต่อหุ้นรายตัวที่กล่าวไว้

ดังนั้น หุ้นแต่ละตัวที่สุดของที่สุด ที่คาดว่าได้รับอานิสงส์การการฟื้นตัวของสินค้าโภคภัณฑ์ในแต่ละกลุ่ม!!

Back to top button