ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ปลื้มผลตอบแทนไตรมาส1หลายกองติดอันดับท๊อปฟอร์ม

นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ผลการบริหารกองทุนของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ในไตรมาส 1/2558 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าของเรา โดยเฉพาะกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (CIMB-Principal iBalanced) มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Moderate Allocation ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี-31 มีนาคม 2558 อยู่ที่ 4.89% จุดเด่นเฉพาะของการบริหารของกองทุนนี้คือ การ Rebalancing ปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาระหว่างสองสินทรัพย์หลักคือหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุลในกองทุนเดียวกัน กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (CIMB-Principal iPROP) ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs ผลตอบแทนอยู่ที่ 4.32% มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Fund of Property Fund ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็สามารถสร้างผลตอบแทนอันดับหนึ่งของกลุ่ม LTF เช่นกัน โดยกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ไลฟ์ หุ้นระยะยาว (CIMB-Principal LTF) ผลการดำเนินงานอยู่ที่ 6.56%


นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ผลการบริหารกองทุนของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ในไตรมาส 1/2558 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าของเรา โดยเฉพาะกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (CIMB-Principal iBalanced) มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Moderate Allocation ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี-31 มีนาคม 2558 อยู่ที่ 4.89% จุดเด่นเฉพาะของการบริหารของกองทุนนี้คือ การ Rebalancing ปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาระหว่างสองสินทรัพย์หลักคือหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุลในกองทุนเดียวกัน กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (CIMB-Principal iPROP) ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs ผลตอบแทนอยู่ที่ 4.32% มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Fund of Property Fund ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็สามารถสร้างผลตอบแทนอันดับหนึ่งของกลุ่ม LTF เช่นกัน โดยกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ไลฟ์ หุ้นระยะยาว (CIMB-Principal LTF) ผลการดำเนินงานอยู่ที่ 6.56%

ส่วนกองทุนอื่นๆ เราก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าของเราเช่นกัน เช่น กองทุนลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เจแปนนิส อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal JEQ) ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.17%, กองทุนลงทุนในหุ้นเอเชีย แปซิฟิค ยกเว้นญี่ปุ่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal APDI) ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.12%, กองทุนเน้นลงทุนหุ้นขนาดเล็กทั่วโลก กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล โกลบอล สมอล แค็พ อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal GSCEQ) ได้ 3.87% และกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ยูโร ไฮ ยิลด์ (CIMB-Principal EUHY) ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังที่ 3.93% ต่อปี การที่เราสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะที่ผ่านมา มาจากกระบวนการลงทุนที่มีประสิทธิภาพจาก Principal Financial Group ที่ CIMB-Principal นำมาประยุกต์ใช้อย่างเต็มรูปแบบ “การมีกระบวนการลงทุนที่ดี และความคงเส้นคงวาของทีมผู้จัดการลงทุนในการดำเนินตามกระบวนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เป็นกุญแจสำคัญต่อผลประกอบการที่ดีในระยะยาว” นายจุมพลกล่าว

สำหรับมุมมองการลงทุนช่วงไตรมาส 2/2558 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ให้มุมมองว่า “เรามองว่าการภาพรวมเศรษฐกิจโลกนับจากนี้มีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากปัจจัยเชิงบวกของมาตรการเชิงผ่อนคลายหรือ QE ของภูมิภาคยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งหากนับรวมปริมาณเงินอยู่ที่ประมาณ 130,000 ล้านเหรียญฯ ต่อเดือนถือว่ามีปริมาณที่มากกว่าในช่วงที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการ QE ที่ประมาณ 85,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือน และยังไม่รวมถึงประเทศจีนที่มีมาตรการ Mini QE เข้ามาสนับสนุน ทำให้ตลาดการเงินและลงทุนมีสภาพคล่องในปริมาณมาก

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกามีการแสดงการฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากตัวเลขการจ้างงาน รายได้ของประชาชน และตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดย IMF ได้รับตัวเลขคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตขึ้นเป็น 3.5% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งที่แล้ว 0.5% ซึ่งการฟื้นตัวของสหรัฐฯ นี้เอื้อประโยชน์โดยตรงต่อภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ในด้านการค้าและการลงทุน การส่งออกจะมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างสอดคล้องกัน

นายจุมพลกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปัจจัยที่นักลงทุนควรติดตามซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ได้แก่ การพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐซึ่งคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเป็นอย่างเร็ว และหากตลาดการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นทำให้เงินเฟ้อขยับเข้าสู่เป้าหมายระยะยาวที่ 2% และหากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ มีโอกาสอย่างมากที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับปกติอย่างระมัดระวัง ซึ่งจะส่งผลทำให้มีความผันผวนในตลาดเงินและตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ยังอยู่ในภาวการณ์ฟื้นตัวช้าๆ หลังธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือ 3.8% จาก 4.0% และได้ปรับลดอัตราเงินเฟ้อเหลือ 0.2% จากเดิม 1.2% เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันและพืชผลทางการเกษตรได้ปรับลดลงมาอย่างมาก รวมถึงความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ามีผลทำให้มูลค่าการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐมีความล่าช้า ภาคเอกชนมีความระมัดระวังในการลงทุนและสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความอ่อนแอ จึงคาดว่า กนง.มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากเดิม 1.75% ในปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่ภาวะโดยรวมของตลาดหุ้นไทยยังมีทิศทางที่ดีจากปัจจัยสนับสนุนด้าน QE ทั้งจากยุโรปและญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดหมายมีโอกาสที่กำไรสุทธิของตลาดหุ้นไทยสำหรับปี 2558 อาจถูกปรับลดประมาณการลงหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยออกมาไม่ดีมากนัก แต่ถึงกระนั่นก็ตาม EPS growth ของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยการปรับตัวขึ้นของ EPS growth ในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดลงของ EPS ตลาดหุ้นไทยในปี 2557 จากการถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายปี 2557

จากมุมมองและทิศทางการลงทุนไตรมาส 2/2558 รวมถึงตลาดยังคงมีปัจจัยความไม่แน่นอนสูงนับต่อจากนี้ ทำให้เรามองว่าบรรยากาศการลงทุนในไตรมาส 2 จึงมีความคล้ายกับไตรมาส 1 ที่ผ่านมา คือตลาดมีความผันผวนเป็นระยะ โดยกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนต้องพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนที่เน้นการจัดพอร์ตสมดุลแบบ Balanced Fund หรือการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์เหมาะสม Multi-Asset Strategy ในแต่ละขณะการลงทุน อย่างไรก็ตามนักลงทุนสามารถที่จะเลือกลงทุนในบางกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่น เช่น กลุ่มประเทศที่อยู่ในธีมปฏิรูปเชิงนโยบาย (Reform) เช่น จีน อินเดียและอินโดนีเซีย รวมถึงอานิสงส์จากสภาพคล่องของเงินลงทุนจากมาตรการ QE ของทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่คือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ไม่สูงมากนัก อาจจะเลือกพิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในภูมิภาคยุโรป เช่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ยูโร ไฮ ยิลด์ (CIMB-Principal EUHY) เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการ QE ของยุโรปที่ยังคงนโยบายอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2558 ส่วนสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกการลงทุนนั้น อาจพิจารณาเลือกกองทุนที่ลงทุนในกอง REITs ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยคาดผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปซึ่งอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ

X
Back to top button