เปิดหุ้น “ได้-เสียประโยชน์” อินเดียงดส่งออก “ข้าวสาลี”

“อินเดีย” งดส่งออก “ข้าวสาลี” มีผล 13 พ.ค.65 “บล.โนมูระ” มอง TFM, RBF, PB, TFMAMA, SNNP, NSL เสียประโยชน์ เหตุต้นทุนเพิ่ม แต่ชี้หุ้นธีมส่งออก ASIAN, GFPT, CPF, TMILL, TWPC น่าสนใจสุด อาจไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุน


บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุว่าในบทวิเคราะห์ (17 พ.ค.2565) ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2565 ที่ผ่านมา Bloomberg รายงานข่าวว่า รัฐบาลอินเดียออกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวสาลีมีผลบังคับใช้ทันที (13 พ.ค.2565) เพื่อแก้ปัญหาสต็อกข้าวสาลีในประเทศเริ่มขาดแคลนจากภาวะอากาศร้อนจากคลื่นความร้อน (Heat wave) และเพื่อรักษาภาวะความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) คือมาตรการแจกข้าวหรือข้าวสาลีฟรี 5 กิโลกรัมแก่ผู้มีรายได้น้อย อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังอนุญาตให้ส่งออกไปยังประเทศที่ต้องการความมั่นคงทางอาหารหรือตามคำขอของรัฐบาลรายประเทศ ดังนั้น ทีมกลยุทธ์ จึงจัดทำบทวิเคราะห์ฉบับนี้ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและกลยุทธ์การลงทุนจากประเด็นดังกล่าว

โดยมาตรการดังกล่าวจะกระตุ้นให้ราคาข้าวสาลีโลกและสินค้าทดแทนปรับขึ้นต่อเป็นลบต่อ EM-Asia ที่มีน้ำหนักราคาอาหารในตะกร้าเงินเฟ้อสูงกว่า DM เพิ่มแรงกดดันต่อนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลาง EM-Asia โดยทีมกลยุทธ์ประเมินว่ามาตรการระงับการส่งออกข้าวสาลีของอินเดียจะส่งผลกระทบ คือ

1.ราคาข้าวสาลีโลกจะเร่งขึ้นต่อเพิ่มเติมจากเดิมที่ราคาถูกกระตุ้นจากราคาปุ๋ยแพง และ Supply ตึงตัวจากกรณีรัสเซียและยูเครน

2.อ้างอิงตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์อินเดีย (มี.ค.2564-ก.พ.2565) พบว่า ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากอินเดียมากสุด ได้แก่ บังกลาเทศ (55.9%), ศรีลังกา(7.9%), UAE(6.9%), อินโดนีเซีย(5.9%), เยเมน(5.3%), ฟิลิปปินส์(5.1%) อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ ที่จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากราคาข้าวสาลีที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่ม Asia ทุกประเทศเว้นเพียง จีนและออสเตรเลีย เพราะยังต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากประเทศอื่นๆ เพื่อบริโภคภายในโดยประเทศที่นำเข้ามากสุด ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และญี่ปุ่น

  1. มาตรการดังกล่าวคาดจะซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้ออินเดียเพิ่มเติมจากเงินเฟ้อ เม.ย.2565 ที่เพิ่มขึ้น 7.8% สูงสุดในรอบ 8 ปี ต่อเนื่องจากต้นทุนต่างๆ รวมถึงราคาน้ำมันทรงตัวสูง ขณะที่ราคาอาหารจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก i) ปัจจุบันอินเดียยังเผชิญภาวะคลื่นความร้อน ii) ระยะกลางผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการผลิตข้าวสาลีเพราะไม่สามารถส่งออกได้ และ iii) มาตรการดังกล่าวจะกระตุ้นให้ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นในฐานะสินค้าทดแทน

ดังนั้น ผลกระทบของมาตรการดังกล่าวหลักๆ คือราคาข้าวสาลีโลกจะเร่งขึ้นต่อ ส่งผลเงินเฟ้อด้านอาหารมี Upside risk มากขึ้น เพิ่มผลกระทบด้านลบต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้มีมาตรการระงับส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นลบต่อ EM-Asia ที่มีสัดส่วนราคาอาหารเป็นน้ำหนักหลักในตะกร้าเงินเฟ้อและสูงกว่า DM เพิ่มแรงกดดันต่อการดาเนินนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลาง และกรณี Worst Case ภาพดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง Stagflation ได้

ทั้งนี้ข้าวสาลีที่เร่งขึ้น เสี่ยงกระทบกลุ่ม บะหมี่สำเร็จรูป, ขนมปัง, ขนม ผลิตภัณฑ์ Coating อาหาร แต่กระทบน้อยต่อกลุ่มส่งออกโปรตีน เพราะสัดส่วนต้นทุนอาหารสัตว์จากข้าวสาลีน้อยมาก ยังคงมอง Theme Export โดดเด่น แนะนำ ASIAN, GFPT, CPF น่าสนใจสุด และเก็งกำไร TMILL (ได้ประโยชน์จากมีต้นทุนข้าวสาลีต่ำ) และ TWPC (ผลิตภัณฑ์สินค้าทดแทน)

โดยกรณีข้าวสาลีปรับเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ประเมินมีแนวโน้มได้รับผลกระทบต้นทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวสาลีเป็นต้นทุนแป้งสาลีที่เป็นวัตถุดิบสาหรับอาหารสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้า (15% ของต้นทุน) ส่วนสัตว์บกจะต่ำกว่าราว 5% ของต้นทุน และบางครั้งต่ำกว่าเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้แทนข้าวโพดต้นทุนหลัก และหุ้นที่วัตถุดิบผลิตมาจากข้าวสาลี เช่น บะหมี่สำเร็จรูป, ขนมปัง, ขนม ผลิตภัณฑ์ Coating อาหาร หุ้นที่เข้าข่ายกระทบจากกรณีดังกล่าว อาทิ TFM, RBF, PB, TFMAMA, SNNP, NSL ระยะสั้นควรหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มดังกล่าว

ส่วน GFPT, CPF, ASIAN และ TU คาดว่าจะเป็นเพียง Sentiment ลบมากกว่าผลกระทบที่มีนัยยะทางพื้นฐาน เพราะแป้งสาลีไม่ใช่ต้นทุนหลักของอาหารสัตว์บก ขณะที่ธุรกิจอาหารแปรรูปไม่ใช่ธุรกิจหลัก แต่อาจมีประเด็นในส่วนธุรกิจหลักแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้

TU ราคาเป้าหมาย 18.3 บาท ยังมีประเด็นต้นทุนส่วนอื่นกดดัน เพราะต้นทุนทูน่าและแซลม่อน รวมถึงค่าแรงและค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ขณะที่บริษัทร่วม Red Lobster ยังขาดทุน คาดกดดันกำไรสุทธิปี 2565 อ่อนตัว 20% ทางพื้นฐานคงคำแนะนำ Neutral

GFPT ราคาเป้าหมาย  20 บาท ถือเป็นหุ้นที่น่าสนใจหากหุ้นปรับตัวลงจากประเด็นดังกล่าว ประเมินเป็นโอกาสเข้าสะสม จากพื้นฐานธุรกิจหลักที่มีความแข็งแกร่งในส่วนสินค้าไก่ทั้งในประเทศและการส่งออก และต้นทุนวัตถุดิบหลักข้าวโพดที่ผ่อนคลาย ขณะที่ล่าสุดยังมีประเด็นบวกค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าสร้าง Upside เพิ่มเติม

ASIAN ราคาเป้าหมาย 22.8 บาท ผลกระทบข้าวสาลีไม่เกิดขึ้นต่อธุรกิจหลัก อาหารสัตว์เลี้ยง+อาหารแช่เยือกแข็ง (84% ของรายได้) โดยอาหารสัตว์เลี้ยง (48% ของรายได้) ยังเห็นการเติบโตต่อเนื่อง ตามกระแสการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงโลก สะท้อนจากยอดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตเมื่อเทียบจากปีก่อน ติดต่อกันหลายเดือน ขณะที่ล่าสุดยังมีประเด็นบวกค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าสร้าง Upside เพิ่มเติม

CPF ผลกระทบข้าวสาลีไม่เกิดขึ้นต่อธุรกิจหลัก ขณะที่ในส่วนธุรกิจหลักเห็นการฟื้นตัวธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะราคาหมูในประเทศจีนที่ล่าสุดความต้องการบริโภคกลับมา รวมถึงราคาหมูในเวียดนาม ที่ล้วนเคยเป็นธุรกิจที่ถ่วง ส่วนในประเทศหนุนจากไก่เช่นเดียวกับ GFPT ส่วนหมูคาดว่าราคายืนสูงทยอยทั้งปี ขณะที่ยังมีประเด็นบวกค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าสร้าง Upside เพิ่มเติม และล่าสุด CNS ยังปรับเพิ่มประมาณการและราคาเป้าหมายสู่ 28 บาท เพื่อสะท้อนภาพธุรกิจที่บวกมากขึ้น

ขณะที่หุ้นอื่นที่น่าสนใจ ในธีมดังกล่าว จะอยู่ในกลุ่มที่จาหน่ายแป้งสาลีที่จะประโยชน์ระยะสั้นจากต้นทุนเก่าที่มีราคาถูก คือ TMILL และกลุ่มได้ประโยชน์จากการบริโภคสินค้าทดแทนเพิ่มขึ้น ที่อาจมีโอกาสเก็งกำไรระยะสั้นได้ อาทิ TWPC

Back to top button