ลิสต์ 10 อันดับกองทุน “SSF-RMF” ผลตอบแทนสูง พ่วงสิทธิลดหย่อนภาษี!

ใกล้สิ้นสุดปี 65 เฟ้นหากองทุน SSF และ RMF ซื้อเพื่อรับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี แถมคว้าโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน


ใกล้ถึงช่วงเวลาส่งท้ายปี 2565 สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทำงานรู้สึกเสียวสันหลังวาบไปตามๆ กันนั่นก็คือ การที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้ และวิธีลดหย่อนนั่นเอง แน่นอนว่าการลดหย่อนภาษีนั้นมีเครื่องมือหลายตัวที่สามารถใช้ได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่ากองทุน SSF และ RMF ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสามารถซื้อเพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี พร้อมคว้าโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าว

สำหรับขั้นบันไดของผู้เสียภาษียิ่งเงินเดือนมากเท่าไรก็ยิ่งต้องจ่ายภาษีมากตามกัน โดยขั้นที่ 1 จากเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี, ต่อมาขั้นที่ 2 เงินได้สุทธิ 150,000-300,000 บาทต่อปี  จะเสียภาษีในอัตรา 5%, ส่วนขั้นที่ 3 เงินได้สุทธิ 300,000-500,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีในอัตรา 10% ขณะที่ ขั้นที่ 4 เงินได้สุทธิ 500,000-750,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีในอัตรา 15% และขั้นที่ 5 เงินได้สุทธิ 750,000-1,000,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีในอัตรา 20%

ทั้งนี้ “ข่าวหุ้นธุรกิจอ่อนไลน์” จึงได้เฟ้นหากองทุน SSF และ RMF ซื้อแล้วสามารถลดหย่อนภาษีได้ มิหนำซ้ำยังมีโอกาสคว้าผลตอบแทนจากการลงทุนได้อีกด้วย ตามข้อมูลอ้างอิงปรากฏในเว็บไซต์ “Morningstar Thailand”

โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ย. 65 สำหรับ 10 อันดับกองทุน SSF ผลตอบแทนระยะยาวสูงสุดย้อนหลัง 1 ปี ได้แก่ กองทุน LH Strategy Equity – ASSF ผลตอบแทน 5.50%, กองทุน LH Strategy Equity– ASSF ผลตอบแทน 5.50%, กองทุน KKP Dividend Equity SSF ผลตอบแทน 5.50%, กองทุน LH Strategy Equity – DSSF ผลตอบแทน 5.40%, กองทุน MFC Mid Small Cap SSF ผลตอบแทน 5.32%, กองทุนPrincipal SET50 Index SSF-SSFX ผลตอบแทน 3.82%

รวมทั้งกองทุน Principal SET50 Index SSF-SSF ผลตอบแทน 3.82%, กองทุน KKP Active Equity SSF ผลตอบแทน 3.45%, กองทุน Krungsri Enhanced SET50 SSF ผลตอบแทน 3.07%, กองทุน KKP SET50 ESG SSFX ผลตอบแทน 2.91% และกองทุน KKP SET50 ESG SSF ผลตอบแทน 2.91%

นอกจากนี้หากย้อนกลับไปดูข้อมูลกองทุน RMF เมื่อสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมากองทุน RMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.72 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเมื่อสิ้นปี 2564 ราว 6.1% โดยในเดือนตุลาคมมีเงินไหลเข้าสุทธิเกือบ 2 พันล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนตุลาคมปีที่แล้ว รวมเป็นเงินไหลเข้าสุทธิสะสมรอบ 10 เดือนที่มูลค่า 4.98 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 7 พันล้านบาท โดยเกิดจากเงินไหลออกสุทธิในช่วง 2 เดือนแรกของปีกว่า 2 พันล้านบาท

ขณะที่กลุ่มกองทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดเกือบ 6 ร้อยล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มหุ้นเวียดนาม 278 ล้านบาท ขณะที่ทางฝั่งเงินไหลออกเป็นกองทุนตราสารหนี้ในประเทศทั้งระยะสั้นและระยะกลาง-ยาว ขณะที่ภาพของเงินไหลเข้า-ออกสะสมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมายังมีกลุ่มกองทุนหุ้นจีนไหลเข้าสุทธิมากที่สุด โดยในเดือนตุลาคมกองทุนกลุ่มนี้มีเงินไหลเข้าสูงเป็นอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่า 149 ล้านบาท

สำหรับกองทุน RMF ที่ลงทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สะท้อนผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นไทยในปีนี้ที่ถือว่าดีกว่าการลงทุนหุ้นต่างประเทศค่อนข้างมาก เช่นกองทุนหุ้นจีนที่มีผลตอบแทนเฉลี่ย -43.4% หรือหุ้นสหรัฐที่ -41.8% ซึ่งแต่ละตลาดต่างมีปัจจัยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน  ขณะที่กลุ่มตราสารหนี้ในประเทศที่แม้จะมีผลตอบแทนติดลบในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แต่ในระยะยาวกองทุนตราสารหนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการจัดพอร์ตการลงทุน

 

ขณะเดียวกันหากย้อนดูผลตอบแทนของกองทุน RMF ใน 10 อันดับแรกให้ผลตอบแทนสูงสุดในรอบ 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี และ 10 ปี เพื่อเป็นตัวเลือกของการลงทุนพร้อมกับซื้อเพื่อเพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีควบคู่ไปอีกด้วย (รายละเอียดดูจากตารางประกอบแยกตามผลตอบแทนเปอร์เซ็นต์ต่อปี)

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน RMF Equity ย้อนหลัง 1 ปี

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน RMF Equity ย้อนหลัง 3 ปี (%ต่อปี)

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน RMF Equity ย้อนหลัง 5 ปี (%ต่อปี)

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน RMF Equity ย้อนหลัง 10 ปี (%ต่อปี)

 

Back to top button