เปิดโฉม 9 หุ้นรับประโยชน์ สี่กลุ่มนโยบายหาเสียง “ประชานิยม”

โบรกฯ คัดหุ้นจะได้ประโยชน์กับ 4 กลุ่มนโยบายหาเสียงประชานิยมจากการเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการรัฐ, เติมเงินเข้ากระเป๋าตังค์ดิจิทัล, ดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ โดยเป็นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มอาหาร, กลุ่มเช่าซื้อ, และกลุ่มท่องเที่ยว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายวิจัยฯ บล.เอเซีย พลัส ทำการรวบรวมข้อมูลนโยบายประชานิยมต่างๆ ของแต่ละพรรค โดยสามารถแบ่งแยกออกมาเป็น 4 หมวดหลัก มีรายละเอียดต่างๆ พร้อมกับหุ้นที่ได้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

สำหรับภายใต้การเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามาโดยจะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค. 66 ตามนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง เป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจพอสมควร สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, การเติมเงินเข้ากระเป๋าตังดิจิทัล, การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และ การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ

โดยในเบื้องต้นจะนำเสนอใน 2 มาตรการแรก ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องใช้เม็ดเงินจากงบประมาณแผ่นดิน หรือการกู้เงินเพิ่มเติม คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ จาก 2 พรรค (พรรคชาติพลังประชารัฐ / พรรคชาติรวมไทยสร้างชาติ)

ทั้งนี้ การเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาท/เดือน ของพรรคชาติพลังประชารัฐ ซึ่งถือเป็นการสานต่อนโยบายเดิมที่มีอยู่แล้วที่ 300 บาท/เดือน โดยเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลมอบให้กับคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้เพื่อเพิ่มวงเงินในบัตรประชารัฐ จะนำมาจากงบประมาณในช่วง 3 เดือนสุดท้าย ของงบประมาณปี 2566 หลังจากได้รับเลือกตั้ง ทั้งนี้ประเมินมีผู้ได้รับสิทธิ์ ประมาณ 21.45 ล้านคน คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเดือนละ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 1.8 แสนล้านบาท (เพิ่มเติมจากงบประมาณเดิมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 300 บาท/เดือน อีก 1.02 แสนล้านบาท) ซึ่งหากอยู่ครบวาระ 4 ปี จะต้องใช้งบประมาณมากถึง 7.2 แสนล้านบาท โดยประชาชนจะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ เดือนละ 700 บาท ทันทีหลังจากที่พรรคพลังประชารัฐได้รับการแต่งตั้ง

นอกจากนี้การเพิ่มบัตรสวัสดิการพลัส 1,000 บาท/เดือน ของพรรคชาติรวมไทยสร้างชาติ เป็นนโยบายเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ให้วงเงินมากกว่าที่ 1000 บาท/เดือน ทั้งนี้หากประมาณการคนได้รับสิทธิ์เท่ากับนโยบายด้านบนที่ 21.45 ล้านคน คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเดือนละ 2.1 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 2.5 แสนล้านบาท (เพิ่มเติมจากงบประมาณเดิมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 300 บาท/เดือน อีก 1.80 แสนล้านบาท) ซึ่งหากอยู่ครบวาระ 4 ปี จะต้องใช้งบประมาณมากถึง 1 ล้านล้านบาทโดยรวมนโยบายดังกล่าวคาดเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก, กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคกลุ่มอาหาร และกลุ่มเช่าซื้อ

ส่วนทางด้าน เติมเงินกระเป๋าดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย ให้กับประชาชนทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี กำหนดให้ใช้จ่ายภายใน 6 เดือน โดยให้ใช้จ่ายภายในรัศมี 4 ก.ม. จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน วงเงินที่ต้องใช้ตามนโยบายนี้มีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาท ถึงแม้ผู้ออกนโยบายจะยืนยันว่าไม่ใช่เงินสกุลใหม่ ไม่กระทบทุนสำรอง ไม่มีความผันผวน และไม่สามารถนำมา Trade ในตลาดการเงินได้ แต่สามารถใช้เสมือนเป็นคูปองเพื่อแลกซื้อสินค้า-บริการ

อย่างไรก็ตามการที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้ตามจานวนที่ชัดเจนในมุมนี้ก็ดูเหมือนกลับไปสร้างภาระทางการคลัง เนื่องจากต้องมีเงินบาทเป็น Backupและพร้อมจ่ายออก ซึ่งด้วยปริมาณเงินที่สูงถึง 5 แสนล้านบาท ก็อาจเป็นปัจจัยที่จุดเงินเฟ้อให้กลับมาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากนโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้ได้จริง ก็น่าจะทาให้การบริโภคภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ GDP ฟื้นตัวกลับขึ้นมาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ต้องติดตามขั้นตอนการปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ การทาให้ประชาชนทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วหน้า หุ้นที่ได้ประโยชน์ ก็คือ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มอาหาร และกลุ่มท่องเที่ยว

ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ บล.เอเซีย พลัส  แนะนำสะสมหุ้นธีมเลือกตั้งในกลุ่มที่ Laggard กว่าตลาด อาทิ JMT, SINGER, SNNP, CBG, SCC, STEC, CK, CPALL และ CRC

Back to top button