สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 ก.ค.2566

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 ก.ค.2566


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 11 ในวันจันทร์ (24 ก.ค.) ซึ่งเป็นการปิดในแดนบวกติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบ 6 ปี ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,411.24 จุด เพิ่มขึ้น 183.55 จุด หรือ +0.52%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,554.64 จุด เพิ่มขึ้น 18.30 จุด หรือ +0.40% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,058.87 จุด เพิ่มขึ้น 26.06 จุด หรือ +0.19%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเล็กน้อยในวันจันทร์ (24 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเทเลคอม แต่ตลาดปรับตัวขึ้นได้ไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซน และการร่วงลงของตลาดหุ้นสเปนหลังจากการเลือกตั้งทั่วประเทศไม่ได้ให้ผลชี้ขาดถึงผู้ชนะที่ชัดเจน

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ระดับ 465.68 จุด เพิ่มขึ้น 0.28 จุด หรือ +0.06%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,427.31 จุด ลดลง 5.46 จุด หรือ -0.07%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 16,190.95 จุด เพิ่มขึ้น 13.73 จุด หรือ +0.09% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,678.59 จุด เพิ่มขึ้น 14.86 จุด หรือ +0.19%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันจันทร์ (24 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของหุ้นโอคาโด กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ได้ช่วยชดเชยการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเดินทาง เนื่องจากหุ้นสายการบินร่วงลงหลังไรอันแอร์แสดงความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ด้านการเดินทาง

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,678.59 จุด เพิ่มขึ้น 14.86 จุด หรือ +0.19%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันจันทร์ (24 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวในตลาดโลก รวมทั้งความหวังที่ว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนจะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 1.67 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 78.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือนหรือนับตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 2566

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 1.67 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 82.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (24 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ รวมทั้งถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 4.40 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,962.20 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 27 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 24.58 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 2.70 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ 969.50 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 17.70 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 1,268.80 ดอลลาร์/ออนซ์

สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (24 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.27% แตะที่ 101.3418

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1071 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1124 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2824 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2859 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8681 ฟรังก์ จากระดับ 0.8661 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.4154 โครนา จากระดับ 10.3879 โครนา แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 141.4370 เยน จากระดับ 141.8089 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3166 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3202 ดอลลาร์แคนาดา

Back to top button