“ตลท.” ปรับเกณฑ์บจ.เข้าตลาดฯ-เพิ่มเครื่องหมายเตือน-เปิดเผยข้อมูลครบถ้วนให้นักลงทุน

“ตลท.” ปรับเกณฑ์บจ.เข้าตลาดฯ SET- mai เพิ่มเครื่องหมายเตือน หวังยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนเข้มข้นขึ้น ทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนให้นักลงทุน


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับปรุงเกณฑ์เพื่อยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนทั้งกระบวนการตั้งแต่การคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน จนถึงการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนให้เข้มข้นขึ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพื่อดูแลผู้ลงทุนให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและมีเครื่องหมายเตือนที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นดังนี้

1.การปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์โดยเพิ่มคุณสมบัติด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อยกระดับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน โดยลดความแตกต่างในเรื่องของขนาด เพื่อรองรับธุรกิจที่ไม่ต้องใช้ทุนสูงดังนี้ เพิ่มกำไรสุทธิเพื่อสะท้อนผลประกอบการที่ดี,เพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อแสดงถึงการมีฐานะการเงินเข้มแข็ง,ปรับลดทุนชำระแล้วสำหรับการเข้าจดทะเบียนใน SET แต่ยังคงสูงกว่าทุนชำระแล้วขั้นต่ำของ mai ในปัจจุบันเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีทุนชำระแล้วน้อย แต่มีผลการดำเนินงานและฐานะการเงินดี และเพิ่มสัดส่วนการกระจายการถือหุ้นรายย่อย (Free Float) และสัดส่วนจำนวนหุ้นที่เสนอขายแก่ประชาชน (IPO)เพื่อให้มีสภาพคล่องในตลาดรองที่ดีขึ้น

2.การปรับปรุงเกณฑ์สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงด้านฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน สภาพคล่องทางการเงิน หรือมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการมีเครื่องหมายแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบถึงสถานะของบริษัทที่มีลักษณะดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567 ดังนี้

 

2.1 เพิ่มการดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีธุรกิจ บริษัทจดทะเบียนที่ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี และบริษัทจดทะเบียนที่ผิด0นัดชำระหนี้สถาบันการเงิน/ตราสารหนี้

2.2 ปรับปรุงการดำเนินการกรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน

2.3 ปรับปรุงการดำเนินการกรณีบริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่เป็น Cash Company มีคณะกรรมการตรวจสอบหรือ Free Float ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่จัด Opportunity Day ตามที่กำหนด

2.4 เพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณาคุณสมบัติของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) และกรณีย้ายกลับมาซื้อขายหลังแก้ไขเหตุแห่งการเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) เพื่อให้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนไม่ว่าช่องทางใดมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งเทียบเคียงได้กับสากล ดังนี้

(1) การพิจารณาคุณสมบัติBackdoor Listingและ Resume Tradingจะมีกระบวนการเช่นเดียวกับ New Listingโดยมีที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ร่วมจัดทำและยื่นคำขอ,สำนักงาน ก.ล.ต. จะร่วมพิจารณาคุณสมบัติรวมถึงสอบทานเอกสารต่างๆ ของบริษัท ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้สอบบัญชีโดยเฉพาะเรื่องระบบควบคุมภายในและความขัดแย้งทางผลประโยชน์,จัด Opportunity Day อย่างน้อย 1 ครั้งในปีแรกภายหลังจากหุ้นสามัญของ Backdoor Listing เริ่มทำการซื้อขายหรือหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

(2) บริษัทที่ Backdoor Listing ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์ใหม่โดยมีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์กำไร (Profit Test) หรือเกณฑ์สำหรับธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Business) เท่านั้น

(3) เพิ่มกระบวนการให้ข้อมูลกับผู้ลงทุน ด้วยการขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) เมื่อคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนมีมติซื้อสินทรัพย์ที่เข้าข่ายเป็นรายการ Backdoor Listing จนกว่าบริษัทจะแจ้งผลการพิจารณาการเข้าทำรายการ Backdoor Listing ของส านักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ผู้ลงทุนทราบหากบริษัทซื้อสินทรัพย์โดยไม่ปฏิบัติตามตามเกณฑ์ที่กำหนดตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SPและอาจนำไปสู่การเพิกถอนหากถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ต่อเนื่องกันเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี

2.5 ปรับปรุงเกณฑ์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงยกเลิกหรือปรับปรุงเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้หลักเกณฑ์มีความชัดเจน ยืดหยุ่น เข้าใจง่าย และเป็นปัจจุบัน เช่น การเข้าไปแต่งตั้งผู้สอบบัญชีให้กับบริษัทจดทะเบียน แนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบ การให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากกำหนดไว้ในเกณฑ์รับหลักทรัพย์แล้ว เป็นต้น

X
Back to top button