เปิดโผ 44 บจ. งบปี 66 “เทิร์นอะราวด์”

เปิดโผ 44 บจ. งบปี 66 “เทิร์นอะราวด์” หลังบริหารต้นทุนได้ดีเยี่ยม-รายได้เพิ่มขึ้น พร้อมจับตาปีนี้ผลงานดีต่อเนื่อง หลังบริษัทฯเดินหน้าขยายธุรกิจใหม่


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้มีการสำรวจผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประจำปี 2566 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566) สามารถพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ หรือ “เทิร์นอะราวด์” ได้อย่างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบจากปีก่อนขาดทุนสิทธิ

ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจพบว่ามีจำนวน 44 หลักทรัพย์เทิร์นอะราวด์ ได้แก่ THAI, JAS, BA, BKI, KTIS, PTTGC, ERW, MCOT, JCK, AAV, AMC, SCGD, MIDA, PRAKIT, THRE, SYNTEC, PLAT, SEAFCO, 2S, BEYOND, SHANG, XPG, APCS, CM, SCG, MALEE, CPT, RT, AIE, GIFT, SE-ED, SIAM, MANRIN, TAE, TNPC, CNT, ALT, ROCK, MATCH, TPA, JTS, BLISS, TCOAT และ PRECHA ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทมีการบริหารจัดการต้นทุนได้เป็นอย่างดีเยี่ยม รวมถึง และมีการบันทึกพิเศษเข้ามาช่วยหนุน รวมถึงการฟื้นตัวไปตามทิสทางของเศรษฐกิจ

สำหรับตัวอย่างเช่น  บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI รายงานผลการดำเนินงานปี 2566 พลิกมีกำไรสุทธิ  28,096.39 ล้านบาท จากงวดเดียวของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 272.25 ล้านบาท โดยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) อยู่ที่ 161,067 ล้านบาท เป็นรายได้จากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสารที่เติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 79.3% โดยรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของปี 2566 ดังกล่าว เพิ่มขึ้น 53.3% จากปี 2565 และคิดเป็นสัดส่วน 87% ของปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด-19

ขณะที่ในปี 2566 มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสุทธิเป็นรายได้ 2,201 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ กำไรจากการขายสินทรัพย์ โดยมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 1,066 ล้านบาท นอกจากนี้ ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) อยู่ที่ 15,611 ล้านบาท

ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ THAI กล่าวถึงแผนการเพิ่มฝูงบินซึ่งในปี 2567 จะเพิ่มเป็น 79 ลำ (รับมอบ 9 ลำ ได้แก่ แอร์บัส 350 จำนวน 6 ลำ, แอร์บัส 330 จำนวน 2 ลำและ โบอิ้ง 787 จำนวน 1 ลำ)  และปี 2569 ฝูงบินเพิ่มเป็น 90 ลำ

นอกจากนี้ บริษัท ได้บรรลุข้อตกลงการจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 787 Dreamliner จำนวน 45 ลำ พร้อมสิทธิในการจัดหาเพิ่มเติม (Option Order) อีก 35 ลำ เพื่อนำเข้าประจำการในฝูงบิน ตั้งแต่ปี 2570 – 2576 ตามแผนเครือข่ายเส้นทางบินที่จัดทำขึ้น โดยเป้าหมายปี 2577 จะมีฝูงบินจำนวน 134 ลำ เทียบกับช่วงก่อนโควิด มีฝูงบินจำนวน 103 ลำ

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS รายงานผลการดำเนินงานปี 2566 พลิกมีกำไรสุทธิ 19,837.38  ล้านบาท จากงวดเดียวของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 2,028.59 ล้านบาท โดยผลความสำเร็จจากการขายธุรกิจ 3BB และหน่วยลงทุน JASIF ให้กลุ่ม AIS เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สร้างรายได้รวมทั้งปี 28,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 เท่า

ส่วนในปี 2567 บริษัทฯเผยแผนธุรกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อนด้วย Generative AI พลังงานสะอาด และธุรกิจด้านสุขภาพ เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มบริษัทฯ เพิ่มความสามารถในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA รายงานผลการดำเนินงานปี 2566 พลิกมีกำไรสุทธิ 3,110.03 ล้านบาท จากงวดเดียวของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 2,110.18 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายและบริการในสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน 4,269.50 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเพิ่มความถี่เที่ยวบินเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีแนวโน้มความต้องการเดินทางสูง อาทิ กรุงเทพ-สมุย กรุงเทพ-ภูเก็ต ภูเก็ต-สมุย และสมุย-สิงคโปร์ รวมถึงเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ ลำปาง-แม่ฮ่องสอน และสมุย-ดอนเมือง ส่งผลให้ในปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารจำนวน 3.97 ล้านคน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 49.5 เทียบกับปี 2565 และฟื้นตัวได้ร้อยละ 67.7 ของช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่มาจากจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) ผ่านเว็บไซต์ และระบบเชื่อมต่อตรงกับบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากทวีปยุโรป คิดเป็นร้อยละ 19 ของผู้โดยสารทั้งหมด โดยมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) อยู่ที่ร้อยละ 79.2

ขณะที่บริษัทตั้งเป้าผู้โดยสารในปี 2567 โต 13.4% เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อนที่ 4.5 ล้านคน และรายได้ค่าโดยสารที่ 17,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นต่อคนที่ 3,956 บาทต่อตั๋ว เพิ่มขึ้น 5.3% โดยมีปัจจัยบวกทั้งจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และการเปิดเส้นทางบินใหม่ลาปาง-แม่ฮ่องสอน (เริ่ม ส.ค. 66, 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์) และสมุย-ดอนเมือง(ต.ค. 66, 3 เที่ยวบิน/วัน) กลับไปบินเส้นทางกรุงเทพ-มัลดีฟ (ก.ย. 66, 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์) สุมย-ฮ่องกง (ก.ค. 66, 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์) สมุย-ฉงชิ่ง และ สมุย-เฉิงตู (ปลาย ม.ค. 67, 2-3 เที่ยวบิน/สัปดาห์) ทำให้ปัจจุบันมี 20 จุดหมายปลายทาง 23 เส้นทางบิน

อย่างไรก็ตามแม้ปีนี้จะยังมีการคืนเครื่องบิน 1 ลำ (หมดสัญญาเช่า) แต่อยู่ระหว่างจัดหาใหม่อีก 2 ลำ โดยจะใช้วิธีบริหารจัดการเที่ยวบินตามฤดูกาลและความต้องการของแต่ละจุดหมายปลายทางให้มีประสิทธิภาพ ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องคาดจะฟื้นตัวตามอุตสาหกรรมการบินทั้งครัวการบินที่คาดจะขาดทุนลดลง บริการภาคพื้นโตตามเที่ยวบินและผู้โดยสารที่ใช้สนามบินมากขึ้นสนามบิน 3 แห่งดีขึ้นตามผู้โดยสารและการท่องเที่ยวฟื้นตัว และคาร์โก้ที่คาดจะดีขึ้นตามการนำเข้าส่งออกของประเทศที่กลับมาโตขึ้นในปีนี้จากปีก่อนชะลอตัว

ส่วนรายละเอียดตัวเลขผลประกอบการตัวอื่นๆ ดูจากตารางประกอบ

Back to top button