BTS ชูกลยุทธ์ 3M หนุนธุรกิจโตแกร่ง-ไร้กังวลหนี้กทม. 3 หมื่นลบ.

BTS ชูกลยุทธ์ 3M หนุนธุรกิจโตแกร่ง-ไร้กังวลหนี้กทม. 3 หมื่นลบ.ไม่จำเป็นตั้งสำรอง มั่นใจภาครัฐมีความสามารถในการจ่าย


นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS นำเสนอข้อมูลแผนธุรกิจและแนวโน้มผลประกอบการในงวดปี 64/65 (เม.ย.64-มี.ค.65) ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 9 มิ.ย.2564 สำหรับ BTS ประกอบธุรกิจ 4 ประเภทหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที) (2) ธุรกิจสื่อโฆษณา (3) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ (4) ธุรกิจบริการ

ทั้งนี้บริษัทได้จัดกลุ่มธุรกิจดังกล่าวไว้ดังนี้ 1.กลุ่ม MOVE ที่จะมาจากระบบขนส่งมวลชนม,2.กลุ่ม Mix มาจากธุรกิจมีเดีย (VGI) ที่ผสมผสานธุรกิจวีจีไอแพลตฟอร์มที่มีธุรกิจโฆษณา เพย์เมนต์ และโลจิสติกส์ (VGI) กับ Functional platform ได้แก่ Data analytics  Data Marketplace และและ3.กลุ่ม Match จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(U)และการจับคู่พันธมิตร ซึ่ง BTS ก็ได้ร่วมลงทุนในหลายบริษัท อาทิ PLANB, KEX ,NOBLE

สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานงวดปี 64/65 (เม.ย.64-มี.ค.65) บริษัทตั้งเป้ารับรู้รายได้ในกลุ่ม MOVE อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองคาดรับรู้รายได้ราว 1.4 หมื่นล้านบาท,รายได้จากธุรกิจ E&M ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เปิดบริการไปแล้วคาดจะรับรู้รายได้อยู่ที่ 1 พันล้านบาท,และรับรู้รายได้ธุรกิจ O&M บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตั้งเป้ารายได้อยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท มาจากธุรกิจส่วนต่อขยายสีเขียว อีกทั้งดอกเบี้ยเกี่ยวกับรถไฟฟ้าราว 3.3 พันล้านบาท พร้อมตั้งงบลงทุนกลุ่มนี้ 1.5 หมื่นล้านบาท

ส่วนธุรกิจกลุ่ม Mix มาจากธุรกิจมีเดีย (VGI) บริษัทโดยตั้งเป้ารับรู้รายได้อยู่ที่ 3.5-4 พันล้านบาท และตั้งงบลงทุน 450 ล้านบาท

สำหรับกลุ่ม MOVE ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะเติบโต 3 เท่าเป็น 3 ล้านคน/วันในปี 68 จากปี 63 หรือก่อนเกิดโควิด-19 มีจำนวนผู้โดยสาร 8 แสนคน/วัน โดยปัจจุบันบีทีเอสเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 68 กิโลเมตร จำนวน 60 สถานี

นอกจากนี้ เตรียมจะเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองภายในปี 65 จะทยอยเปิดเริ่มต้นที่สถานีสำโรง ไปถึงบางสถานีบนถนนลาดพร้าว ส่วนสายสีชมพู สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน (BTS ถือหุ้น 35%) ขณะนี้เตรียมจัดทำแผน Master Plan ให้กับสำนักงาน EEC ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ที่เป็นไปตามแผน และในต้นปี 65 คาดจะได้รับหนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง

ส่วนกรณีที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)ได้มีภาระหนี้กว่า 3 หมื่นล้านบาท มาจากการติดค้างค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียว 1 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 ช่วงหมอชิด-คูคต รวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท และระบบติดตั้งการเดินรถราว 2 หมื่นล้านบาท บริษัทไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องตั้งสำรอง เนื่องจาก กทม.มีความมั่นคงทางการเงิน และมีสถานะเป็นรัฐ รวมทั้งอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก็สูงกว่าของบริษัท

กทม.มีเครดิตเรทติ้งส์จากทริสที่ AA+ ส่วน BTS และ BTSC มีเครดิตเรทิติ้งที่ A  หรือสูงกว่าเรา 4 ขั้น กทม.เป็นรัฐ รัฐมีกำลังความสามารถจ่าย ยอดหนี้ 3 หมื่นกว่าล้าน ถ้าเป็นเอกชนก็เยอะ แต่เป็นภาครัฐมีความสามารถในการจ่าย ด้วยความแข็งแกร่งของกทม.ที่ AA+ และมี Acting Power ความน่าจะเป็นที่จะไม่จ่าย ผมคิดว่าน้อยมากๆ ก็คิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องตั้งสำรอง เราก็ได้คุยผู้สอบบัญชี กับทริสเรทติ้ง ไม่ได้มีความห่วงใยเรื่องนี้ อยู่ที่กระบวนการการจ่ายจะมาจากการจัดสรรงบประมาณของ กทม.หรือรัฐ “นายสุรยุทธ กล่าว

สำหรับประเด็นการต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจาก กทม.นำเสนอเรื่องผ่านกระทรวงมหาดไทย บริษัทก็เฝ้าติดตามเรื่องกระบวนเข้า ครม.อยู่ ขณะเดียวกันภาระหนี้ที่กทม.กับบริษัทซึ่งเราก็ทวงถามอยู่

Back to top button